25 มิ.ย. 2021 เวลา 12:30 • สิ่งแวดล้อม
หิมะเลือด เกิดขึ้นได้อย่างไร? ในเมื่อหิมะควรเป็นสีขาว
ในฤดูหนาวจนถึงฤดูใบไม้ผลิที่มีอากาศหนาวเย็นจัด ภูมิประเทศเขตหนาวจะถูกปกคลุมไปด้วยหิมะและธารน้ำแข็งเห็นเป็นสีขาวโพลนสะอาดตา จนเมื่อปี 2016 เป็นครั้งแรกที่มีรายงานการเกิดหิมะเลือด ในหลายพื้นที่ เช่น ชั้วโลกเหนือ, ขั้วโลกใต้, หิมาลัย และ เทือกเขาร็อคกี้ โดยหิมะเหล่านี้จะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีแดง-ชมพู เมื่อเข้าสู่หน้าร้อนที่อุณหภูมิสูงขึ้น
livescience.com
Stefanie Lutz นักธรณีชีววิทยา จากสถาบัน GFZ German Research Center for Geosciences ค้นพบว่า สิ่งที่ทำให้หิมะเปลี่ยนสีก็คือ สาหร่ายสีแดง ซึ่งสีที่ปรากฎให้เห็น เป็นเม็ดสี Carotenoids ที่สาหร่ายผลิตขึ้นมาเพื่อปกป้องตัวเองจากรังสียูวี
nytimes.com
สิ่งที่ยังคงเป็นปริศนาคือ สาหร่ายที่พบในแต่ละพื้นที่นั้นเป็นชนิดเดียวกันหรือคนละชนิด เพราะบางครั้งหิมะก็กลายเป็นสีเทา, เหลือง, เขียว ถึงแม้ส่วนมากจะเป็นสีแดง
1
คำตอบยังคงถูกค้นหามาจนถึงตอนนี้ เมื่อพบว่าหิมะบนเทือกบนเทือกเขา French Alps ในประเทศฝรั่งเศสเปลี่ยนเป็นสีแดงอีกครั้งขณะกำลังจะเข้าสู่ฤดูร้อน
Adeline Stewart จากมหาวิทยาลัย Grenoble Alpes ให้สัมภาษณ์ว่า “ช่วงหลายปีที่ผ่านมา เหตุการณ์หิมะเปลี่ยนสีเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนแบบนี้ พบบ่อยขึ้นในหลายพื้นที่ทั้วโลก ซึ่งไม่ใช่สัญญาณที่ดี เพราะอาจจะเกี่ยวกับสภาพอากาศของโลกที่กำลังเปลี่ยนไป การที่โลกร้อนขึ้น คาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศสูงขึ้น อาจเริ่มทำให้สาหร่ายตามที่ต่างๆเจริญเติบโตได้ดีขึ้น ไม่เว้นแต่ภูมิประเทศที่เป็นน้ำแข็งหรือเทือกเขาสูง เรามักคิดว่าน้ำแข็งขั้วโลกกำลังละลาย แต่น้ำแข็งบนภูเขาก็กำลังเปลี่ยนแปลงเช่นกัน”
Adeline Stewart และ Eric Marechal นักพฤกษศาสตร์ ร่วมกันสร้างทีมวิจัยออกสำรวจและเก็บตัวอย่างดินจากทั่วทั้งบริเวณ French Alps โดยแบ่งเป็นบริเวณแตกต่างกัน 5 พื้นที่ เพื่อนำสาหร่ายที่ค้นพบมาจำแนกชนิดตามพันธุกรรม บันทึกว่ามีสาหร่ายชนิดไหนอยู่บ้าง
nytimes.com
ผลก็คือ ทีมวิจัยพบสาหร่ายต่างชนิดกันมากมาย แต่มีอยู่ชนิดหนึ่ง คือ genus Saguina ที่ดูเหมือนจะพบในเขตที่สูงกว่า 6,500 ฟุตขึ้นไปเท่านั้น จึงได้ทำการเพาะเลี้ยงสาหร่ายนั้นขึ้นมาในบริเวณที่มีหิมะ โดยเพิ่มสารอาหาร เช่น ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสลงไป แต่ก็ไม่พบว่าหิมะเปลี่ยนเป็นสีแดงแต่อย่างใด
ดังนั้นนี่ยังคงเป็นคำตอบที่ต้องศึกษาต่อไป อาจจะมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนสีของหิมะ เช่น สภาพพื้นที่, อุณหภูมิ, จุลชีพอื่นๆในชั้นหิมะ แต่ที่แน่ๆ การที่สาหร่ายเติบโตขึ้นอย่างหนาแน่น เช่น ปรากฏการณ์สาหร่ายบลูม (Algae bloom) ในทะเล ที่ทำให้ทะเลเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวหรือน้ำตาล เนื่องมาจากมีแร่ธาตุจากการเกษตรที่ถูกชะล้างจากแผ่นดินลงมาปนเปื้อนในทะเลมากเกินไป สาหร่ายเหล่านี้จะแย่งใช้ออกซิเจนในน้ำ จนน้ำเน่าเสีย สิ่งมีชีวิตโดยรอบได้รับผลกระทบ เหตุการณ์เช่นนี้ทำให้สิ่งแวดล้อมรับผลกระทบต่อกันเป็นลูกโซ่
และนอกจากนั้น​ การที่หิมะมีสีแดง​หรือสีเข้มขึ้นจากเม็ดสีของสาหร่าย​ ทำให้สามารถดูดซับความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้ดี​ ต่างจากสีขาวของหิมะที่โดยปกติจะทำหน้าที่เหมือนกระจก​สะท้อนความร้อนจากดวงอาทิตย์​ออกไป​ จึงทำให้หิมะละลายเร็วขึ้นกว่าเดิม
ก่อนที่จะสายเกินไป และ สิ่งแวดล้อมจะมีอะไรผิดปกติเกิดขึ้นมากกว่านี้ อยากให้ทุกคนตระหนักว่าทุกการกระทำของเรากำลังส่งผลกระทบต่อโลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ และสิ่งเหล่านั้นกำลังย้อนกลับมาหาเราผู้ซึ่งอาศัยอยู่บนโลกใบนี้ด้วยเช่นกัน
1
References >>

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา