22 มิ.ย. 2021 เวลา 06:14 • สุขภาพ
🤓คนในปัจจุบันต้องใช้สายตานานหลายชั่วโมงต่อวัน ดวงตาไม่ได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ทำให้เกิดอาการตาแดงและตาล้าได้ง่าย ด้วยเหตุนี้ยาหยอดตานำเข้าจากญี่ปุ่น ซึ่งโฆษณาสรรพคุณว่าช่วยชำระล้างสิ่งสกปรกในดวงตา และลดเส้นเลือดแดงในตาได้ เพียงหยดลงไปปุ๊บ ตาก็หายแดงทันที จึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยาหยอดตาประเภทนี้ไม่ได้มีคุณสมบัติพิเศษแต่อย่างใด เป็นเพียงแค่น้ำยาที่ลดการหดตัวของหลอดเลือดเท่านั้น ผลิตภัณฑ์ตามท้องตลาดทั่วไปมักมีส่วนผสมของตัวยาแนฟาโซลีน (naphazoline) และเตตราไฮโดรโซลีน (tetrahydrozoline) ซึ่งแม้จะทำให้หลอดเลือดคลายตัวได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว แต่หากใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ก็จะส่งผลให้การทำงานของหลอดเลือดผิดปกติ การไหลเวียนเลือดขาดการควบคุมทำให้ตาแดงกว่าเดิมในที่สุด
ยาเหล่านี้สามารถใช้เป็นครั้งคราวได้บ้าง หากจำเป็น แต่อย่าใช้ในปริมาณมาก หรือใช้เป็นประจำทุกวันเด็ดขาด หากเกิดอาการตาแห้ง ตาล้าบ่อยๆ ควรรีบไปพบจักษุแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสมจะดีกว่า
🤓อาการเยื่อบุตาอักเสบจากการแพ้ (Allergic conjunctivitis)
เยื่อบุตาอักเสบจากการแพ้เป็นอาการที่มักเกิดในคนที่อายุน้อย อายุเฉลี่ยของ onset ประมาณ 20 ปี อาการดีขึ้น​เมื่ออายุมากขึ้น​ ซึ่งกว่าร้อยละ 50 ผู้ป่วย​มักจะมีประวัติส่วนตัว หรือประวัติครอบครัวเป็นภาวะแพ้อย่างอื่น เช่น allergic rhinitis, atopic dermatitis, หรือ asthma
🤓อาการ และอาการแสดง
คัน น้ำตาไหล เยื่อบุตาขาวบวมแดง แสบตา กลัวแสง เปลือกตาบวม อาการมักจะเกิดกับตาทั้ง​ 2 ข้าง แต่บางครั้งตาข้างใดข้างหนึ่ง อาจจะมีอาการมากกว่าอีกข้าง
🤓เยื่อบุตาอักเสบจากการแพ้ แบ่งเป็น 3 ชนิด
1) Acute allergic conjunctivitisเกิดอย่างเฉียบพลัน ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก การสัมผัสกับสารหรือ สิ่งต่างๆที่ก่อให้เกิดอาการ อาการที่เกิดขึ้น​เช่น itching, hyperemia, tearing, chemosis, eyelid edema โดยทั่วไปอาการมักจะดีขึ้น​ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากหลีกเลี่ยงการสัมผัส allergen แต่ในบางรายอาจพบอาการรุนแรงได้
2) Seasonal allergic conjunctivitis (SAC) หรืออาจเรียกว่า allergic conjunctivitis, hay-fever type conjunctivitis หรือ rhinoconjunctivitis ซึ่งอาการที่เกิดขึ้น​เป็นอาการแพ้ที่มีอาการทางตาที่ไม่รุนแรง โดยทั่วไปมักสัมพันธ์กับ การที่ผู้ป่วยมีภาวะ rhinitis อยู่แล้ว อาการที่เกิดขึ ้นไม่ได้เป็นอย่างเฉียบพลัน สามารถทำนายได้ และมัก
สัมพันธ์กับฤดูกาล
3) Perennial allergic conjunctivitis (PAC) เป็นอาการแพ้ที่ไม่รุนแรง แต่เรื้อรัง มักสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่ผู้ป่วย​สัมผัสตลอดทั้ง​ปี ส่วนมากจะเป็น allergen ที่อยู่ภายในบ้าน หรือตึก (indoor) เช่น ไรฝุ่น​ ขนสตว์ รา เป็นต้น
ทั้ง​นี้​ข้อมูลจาก Uptodate 2012 กล่าวว่าแบ่งอาการแพ้ทางตาเป็น 5 ประเภท ได้แก่
seasonal allergic conjunctivitis, perennial allergic conjunctivitis,
vernal keratoconjunctivitis (VKC),
atopic keratoconjunctivitis (AKC), และ
giant papillary conjunctivitis (GPC)
โดย VKC และ AKC เป็นอาการเรื้อ​รัง เกิดได้ทั้ง​สองข้าง และ ประเภทที่ร้ายแรงของการอักเสบ​ จากอาการแพ้มักเกิดที่พื้นผิวของดวงตา ซึ่งนำไปสู่การเกิดแผลที่กระจกตา และเสียการมองเห็นหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม
GPC เป็นอาการอักเสบที่เกิดจากสิ่งกระทบจากภายนอก เช่น คอนเทคเลนส์ ซึ่งเป็นการแพ้ที่ไม่ใช่เกิดโดยธรรมชาติแต่มักเกิดความสับสนว่าเกิดการแพ้ทางตา ส่วน Seasonal and perennial allergic conjunctivitis นั้น​มักเป็นการแพ้ทางตาที่มักเกิดขึ้น​บ่อย
มีข้อมูลอนุมัติยาเดี่ยว Antazolin HCl ข้อบ่งใช้ Allergic conjungtivitis ในผู้ใหญ่และเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป​ และ
Tetahydrozolin HCl ข้อบ่งใช้ Conjungtivitis โดยมีประสิทธิภาพในระดับ effective แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยทุกราย
ระดับหลักฐาน (level of evidence) ระดับ B
ชื่อยาทั่วไป ANTAZOLINE+ TETRYZOLINE
PDF FILE. ANTAZOLINE+ TETRYZOLINE.pdf
ฉลากช่วย​ การใช้ยาหยอดตา
POSTED 2021.06.22
โฆษณา