22 มิ.ย. 2021 เวลา 15:36 • สุขภาพ
“Thailand Vaccine ChulaCov19” วัคซีนรุ่นแรกของไทย
ไทยกำลังจะเป็นอีกหนึ่งประเทศที่สามารถผลิตวัคซีนได้ด้วยตนเอง
รูปภาพจาก https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2511665
เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันเรากำลังเผชิญวิกฤติการติดเชื้อไวรัสโควิด -​19 หลายประเทศเผชิญปัญหาประชาชนติดเชื้อลุกลามบานปลาย เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมตามมามากมาย วิธีการเดียวที่สามารถหยุดยั้งวิกฤตินี้ คือ การให้ประชาชนมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโดยการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด -​ 19
1
รูปภาพจาก https://positioningmag.com/1314211
หลายคนอาจจะยังสงสัยว่า แล้ววัคซีนโควิด-19 มีกี่ชนิด อะไรบ้าง และไทยเรากำลังจะผลิตวัคซีนชนิดอะไร ผู้เขียนได้ไปรวบรวมข้อมูลมาดังนี้ครับ
วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในปัจจุบัน มี 4 ชนิดด้วยกัน ได้แก่
1.วัคซีนชนิดสารพันธุกรรม เอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA)
วงชีวิตของ mRNA ในยูคาริโอต  รูปภาพจาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AD
วัคซีนกลุ่มนี้ "ใช้เทคโนโลยีใหม่" (ย้ำนะครับว่า"เทคโนโลยีใหม่" คือเป็นเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนที่ใหม่ที่สุดในโลกยุคปัจจุบันนั่นเอง) วิธีการคือ สังเคราะห์สารพันธุกรรมเอ็มอาร์เอ็นเอ (messenger RNA: mRNA) ที่เฉพาะเจาะจงกับเชื้อไวรัส วัคซีนจะทำหน้าที่พา mRNA เข้าเซลล์ และ กํากับให้เซลล์ผลิตสารโปรตีนสไปค์ของเชื้อไวรัส ซึ่งโปรตีนนี้จะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สร้างแอนติบอดีขึ้นมาต่อต้านเชื้อ พูดง่าย ๆ คือวัคซีนประเภทนี้จะเข้าไปเปลี่ยนรหัสทางพันธุกรรมของเราให้สามารถผลิตโปรตีนที่สามารถต้านไวรัสได้นั่นเองวัคซีนที่มีใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ วัคซีนของบริษัท Pfizer และ Moderna
1
ดร.เคทลิน คาริโก (Dr. Katalin Kariko)  นักวิทยาศาสตร์หญิง ผู้อยู่เบื้องหลังวัคซีนชนิด mRNA ของ Pfizer และ Moderna รูปภาพจาก https://www.sarakadeelite.com/faces/mrna-vaccine/
จากข้อมูลในปัจจุบันวัคซีนชนิดนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้ประมาณ 95% ป้องกันการป่วยรุนแรงและป้องกันการเสียชีวิตได้ 100% วัคซีนของบริษัท Pfizer ควรได้รับการฉีด 2 เข็มเข้ากล้ามเนื้อ ห่างกัน 3 สัปดาห์ ส่วน วัคซีนของบริษัท Moderna ควรได้รับการฉีด 2 เข็มเข้ากล้ามเนื้อ ห่างกัน 4 สัปดาห์
1
คณะแพทย์ฯ รพ.รามา ม.มหิดล ชี้วัคซีนโควิด-19 ของ โมเดอร์นา ประสิทธิภาพสูงสุด รูปภาพข่าวจาก https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2542123
2.วัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Recombinant viral vector vaccine)
ไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19  รูปภาพจาก   https://www.gj.mahidol.ac.th/main/covid19/covid19is/
วัคซีนกลุ่มนี้ใช้ไวรัสมีชีวิต(เชื้อเป็น) ที่สามารถตัดแต่งพันธุกรรม เช่น ไวรัสอะดีโน (Adenovirus)โดยนำมาดัดแปลงพันธุกรรมให้ไม่สามารถแบ่งตัวได้ และใส่สารพันธุกรรมของไวรัสโรคโควิด19 ติดไปด้วย เมื่อนํามาฉีดไวรัสพาหะเหล่านี้จะเลียนแบบการติดเชื้อตามธรรมชาติ โดยกระตุ้มภูมิคุ้มกันทั้งระบบให้สร้างแอนติบอดีย์ต่อไวรัสโรคโควิด19 ตามสารพันธุกรรมที่ใส่เข้าไป อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะเป็นวัคซีนที่ไวรัสอะดีโนไม่แบ่งตัว แต่ยังจัดเป็นไวรัสที่มีชีวิตเมื่อเข้าสู่ร่างกาย จึงยังไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างมาก จนกว่าจะมีข้อมูลที่ชัดเจนมากกว่านี้
3
รูปภาพจาก https://www.thansettakij.com/content/covid_19/471838
ปัจจุบันวัคซีนชนิดนี้ที่ใช้กันแพร่หลายมี 4 แบรนด์ ได้แก่ ไวรัสอะดีโนของชิมแพนซี (Chimpanzee adenovirus) โดยบริษัท Astra Zeneca มีประสิทธิภาพป้องกันอาการประมาณ 70-80% ป้องกันการเสียชีวิตได้ 100%, ไวรัสอะดีโนของมนุษย์สายพันธุ์ 5 (Human adenovirus type 5) โดยบริษัท CanSinoBio มีประสิทธิภาพป้องกันอาการประมาณ 60%, ไวรัสอะดีโนของมนุษย์สายพันธุ์ 26 (Human adenovirus type 26) โดยบริษัท Johnson and Johnson มีประสิทธิภาพป้องกันอาการประมาณ 64-72% และ ไวรัสอะดีโนของมนุษย์สายพันธุ์ 5 และ 26 (Human adenovirus type 5 and26) โดยบริษัท Gamaleya ของรัสเซีย มีประสิทธิภาพป้องกันอาการประมาณ 90%
วัคซีนของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า รูปภาพจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/935580
3.วัคซีนที่ทําจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ (Protein subunit vaccine)
รูปภาพจาก https://www.cbc.ca/news/science/canadian-vaccine-candidates-covid-coronavirus-1.5764874
วัคซีนที่ผลิตโดยเทคโนโลยีนี้ ทั่วโลกมีความคุ้นเคยมานาน เพราะใช้ในการผลิตวัคซีนหลายชนิด เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี เป็นต้น ผลิตโดยการ สร้างโปรตีนของเชื้อไวรัส ด้วยระบบ cell culture, yeast, baculovirus เป็นต้น แล้วนํามาผสมกับสารกระตุ้นภูมิ เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนตีบอดีต่อต้านโปรตีนสไปค์ของไวรัสโรคโควิด19 วัคซีนที่มีใช้ในปัจจุบันคือ วัคซีนแบรนด์ Novavax ซึ่งผลิตจาก baculovirus และใช้ Matrix M เป็นตัวกระตุ้นภูมิ มีประสิทธิภาพป้องกันอาการประมาณ 60-90% ป้องกันการเสียชีวิตได้ 100%
รูปภาพจาก https://www.matichon.co.th/foreign/news_2619842
4.วัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated vaccine)
1
รูปภาพจาก https://www.cbc.ca/news/science/inactivated-conjugate-covid-19-vaccines-1.6011962
วัคซีนกลุ่มนี้ใช้วิธีการผลิตแบบดั้งเดิมโบราณมาก และใช้งบประมาณในผลิตสูงที่สุดอีกด้วย ผลิตโดยนําไวรัสโรคโควิด19 มาเลี้ยงขยายจํานวนมาก และนํามาทำให้เเชื้อตาย การฉีดวัคซีนจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสทุกส่วน เสมือนได้รับเชื้อไวรัสโดยตรงแต่ไม่ทำให้เกิดโรค เพราะเชื้อตายแล้ว เทคโนโลยีนี้เป็นวิธีที่ใช้กับวัคซีนตับอักเสบเอ โปลิโอชนิดฉีด จึงมีความคุ้นเคยในประสิทธิภาพและความปลอดภัยมานาน แต่เนื่องจากการเพาะเลี้ยงไวรัสต้องใช้ความระมัดระวังมาก ทําให้ผลิตได้ช้าและมีราคาแพง
1
รูปภาพจาก https://covid-19.kapook.com/view241253.html
วัคซีนที่มีใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ วัคซีนของบริษัท Sinovac มีประสิทธิภาพป้องกันอาการประมาณ 50-70% ป้องกันการเสียชีวิตได้ 100%
รูปภาพจาก https://thestandard.co/pros-cons-sinovac-vs-astrazeneca-vaccine/
การผลิตวัคซีนในประเทศไทย
ในประเทศไทยมีการนำวัคซีนแอสตร้าเซเนก้ามาผลิตในประเทศโดยบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ แต่ไม่ได้เกิดจากการคิดค้นเองโดยคนไทย เพียงนำเทคโนโลยีของแอสตร้าเซเนก้าและนำเข้าวัตถุดิบมาทำการผลิตในประเทศไทยเท่านั้น
รูปภาพจาก https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/5621905101168297/
แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ก็ได้รับทราบข่าวดีว่าประเทศไทยกำลังจะผลิตวัคซีนได้โดยใช้เทคโลยีของตัวเอง ชื่อว่าวัคซีน ChulaCov19 เป็นวัคซีนชนิดสารพันธุกรรม เอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) คือชนิดที่มีเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยที่สุด โดยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้เริ่มทดสอบการฉีดวัคซีนให้กับอาสาสมัครผู้ผ่านการคัดกรองที่มีสุขภาพดีระยะที่ 1 และต่อเนื่องในระยะที่ 2 เพื่อดูการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อวัคซีน ChulaCov19 ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล ทีมนักวิจัย ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน 2564 ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย
2
ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม  รูปภาพจาก https://www.chula.ac.th/news/47758/
ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า การพัฒนาวัคซีน ChulaCov19 ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน อาทิ สถาบันวัคซีนแห่งชาติสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ทุนศตวรรษที่สอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเงินบริจาคจากสมาคมศิษย์เก่าแพทย์จุฬาฯ กองทุนบริจาควิจัยวัคซีน สภากาชาดไทยวัคซีน ChulaCov19 เป็นการคิดค้นออกแบบและพัฒนาโดยคนไทยจากความร่วมมือสนับสนุนโดยแพทย์นักวิทยาศาสตร์ผู้คิดค้นเทคโนโลยีนี้ของโลกคือ Prof.Drew Weissman มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย วัคซีน ChulaCov19 ผลิตโดยสร้างชิ้นส่วนขนาดจิ๋วจากสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโคโรนา (โดยไม่มีการใช้ตัวเชื้อแต่อย่างใด) ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับชิ้นส่วนของสารพันธุกรรมขนาดจิ๋วนี้เข้าไป จะทำการสร้างเป็นโปรตีนที่เป็นส่วนปุ่มหนามของไวรัสขึ้น (spike protein) และกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันไว้เตรียมต่อสู้กับไวรัสเมื่อไปสัมผัสเชื้อ เมื่อวัคซีนชนิด mRNA ทำหน้าที่ให้ร่างกายสร้างโปรตีนเรียบร้อยแล้ว ภายในไม่กี่วัน mRNA นี้จะถูกสลายไปโดยไม่มีการสะสมในร่างกายแต่อย่างใด
การทดสอบวัคซีนแบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ
การทดสอบในระยะที่ 1 แบ่งออกเป็นสองกลุ่มอายุ จำนวน 72 คน
กลุ่มแรก เป็นอาสาสมัครผู้ที่มีอายุ 18-55 ปี ทดสอบจำนวน 36 คน
กลุ่มที่สอง เป็นอาสาสมัครผู้ที่มีอายุ 65-75 ปี ทดสอบจำนวน 36 คน
การทดสอบในระยะที่ 2 จำนวน 150-300 คน คาดว่าเริ่มต้นฉีดได้ประมาณเดือนสิงหาคม 2564 เป็นต้นไป
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าวัคซีน ChulaCov19 ของไทยเราจะสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสำหรับคนไทยต่อไป ถ้าเป็นอย่างที่หวังจริง ไทยเราก็จะได้ไม่ต้องเปลืองงบประมาณในการจัดซื้อวัคซีนจากต่างประเทศอีกต่อไป
3
รูปภาพจาก https://www.chula.ac.th/news/47758/
โฆษณา