22 มิ.ย. 2021 เวลา 12:30 • สุขภาพ
งานวิจัยเผยความสามารถในการแพร่เชื้อของโควิดแต่ละสายพันธุ์
4
เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2021 มีงานวิจัยที่ทำโดย Health Emergencies Programme ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ร่วมมือกับประเทศอังกฤษ ตีพิมพ์ในวารสาร Eurosurveillance รายงานถึงอัตราการแพร่ของเชื้อโควิดตสายพันธุ์กลายพันธุ์ต่างๆ
2
จากการเก็บข้อมูลเบื้องต้นจนถึงวันที่ 3 มิถุนายน 2021 พบว่า สายพันธุ์แอลฟ่า (B.1.1.7) ถูกพบมากกว่า 160 ประเทศ, สายพันธุ์เบต้า (B.1.351) 113 ประเทศ, สายพันธุ์แกมม่า (P.1) 64 ประเทศ และ สายพันธุ์เดลต้า (B.1.617.2) 62 ประเทศ
4
dw.com
เมื่อคำนวณค่า Effective Reproduction Number (R) จากผล sequences ของเชื้อโควิดทั้งหมด 1,722,652 ตัวอย่าง เทียบกับสายพันธุ์อู่ฮั่นดั้งเดิม พบว่า
- สายพันธุ์แอลฟ่า (B.1.1.7) แพร่ได้ดีกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม 29%
3
- สายพันธุ์เบต้า (B.1.351) แพร่ได้ดีกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม 25%
1
- สายพันธุ์แกมม่า (P.1) แพร่ได้ดีกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม 38%
1
- สายพันธุ์เดลต้า (B.1.617.2) แพร่ได้ดีกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม 97%
12
ต่อมาจึงดูค่า Effective Reproduction Number (R) ระหว่างเชื้อกลายพันธุ์ด้วยกันเอง ว่ามีอัตราการครอบครองพื้นที่ระบาดมากน้อยต่างกันอย่างไร พบว่า
1
- สายพันธุ์แอลฟ่า (B.1.1.7) และ สายพันธุ์เบต้า (B.1.351) แพร่ได้น้อยกว่าเชื้อกลายพันธุ์ชนิดอื่น อยู่ที่ 4%
- สายพันธุ์แกมม่า (P.1) แพร่ได้ดีกว่า สายพันธุ์แอลฟ่า (B.1.1.7) 10% และ แพร่ได้ดีกว่า สายพันธุ์เบต้า (B.1.351) 17%
- สายพันธุ์เดลต้า (B.1.617.2) แพร่ได้ดีกว่า สายพันธุ์แอลฟ่า (B.1.1.7) 55%, แพร่ได้ดีกว่า สายพันธุ์เบต้า (B.1.351) 60% และ แพร่ได้ดีกว่า สายพันธุ์แกมม่า (P.1) 34%
จากผลงานวิจัย สรุปได้ว่าสายพันธุ์เดลต้า (B.1.617.2) หรือ สายพันธุ์อินเดีย มีความสามารถในการแพร่เชื้อดีกว่าสายพันธุ์อื่น จึงมีแนวโน้มว่าในอนาคตจะสามารถแย่งครองพื้นที่การระบาดจนกลายเป็นสายพันธุ์หลักได้ในที่สุด ซึ่งปัจจุบันนี้มีรายงานพบการระบาดของสายพันธุ์เดลต้ามากขึ้นในหลายประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา พบสายพันธุ์เดลต้าคิดเป็นสัดส่วน 18% จากเคสทั้งหมดในรัฐ Colorado, Montana, North Dakota, South Dakota, Utah, Wyoming ส่วนประเทศอังกฤษก็มีการระบาดของสายพันธุ์เดลต้ามากกว่า 90% ของจำนวนเคสทั้งหมด ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อกลับมาเพิ่มมากขึ้นจากเดิม จนต้องเลื่อนแผนเปิดประเทศออกไป สำหรับในประเทศไทยก็พบสายพันธุ์เดลต้าจากผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น อาทิตย์ที่ผ่านมาอยู่ที่ 9.8% แต่อาทิตย์นี้อยู่ที่ 22%
9
สาเหตุที่สายพันธุ์เดลต้าแพร่เชื้อได้เร็ว คาดกว่าน่าจะมาจากการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่ง P681R ซึ่งเป็นตำแหน่งบริเวณหนามของเชื้อ การที่โปรตีนหนามตำแหน่งนี้เปลี่ยนไป ทำให้เชื้อสามารถเข้าสู่เซลล์ host ได้ดีขึ้น
2
นอกจากจะแพร่เชื้อได้เร็วแล้ว สายพันธุ์เดลต้ายังสามารถหลบหนีภูมิคุ้มกันได้เหมือนสายพันธุ์เบต้า (สายพันธุ์แอฟริกา) ถึงแม้จะไม่พบการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่ง E484K เหมือนสายพันธุ์เบต้า แต่นักวิจัยคาดว่าการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่ง T478K ของสายพันธุ์เดลต้า มีส่วนทำให้สายพันธุ์นี้ดื้อต่อระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งก็หมายความว่าลดประสิทธิภาพของวัคซีนลงด้วยนั่นเอง
4
สำหรับเหตุการณ์ของประเทศไทยตอนนี้ ถึงแม้จะฉีดวัคซีนครบแล้ว (ส่วนใหญ่ที่ครบตอนนี้คือ Sinovac เพราะ AstraZeneca ยังรอฉีดเข็มสองกันอยู่) ดังนั้นควรระมัดระวังตัวกันต่อไป เพราะการฉีดวัคซีนครบโดสคือป้องกันการป่วยหนักการเสียชีวิต แต่ก็ยังมีโอกาสติดเชื้อและแพร่เชื้อให้คนอื่นได้อยู่ ยิ่งถ้าเป็นสายพันธุ์กลายพันธุ์ ก็จะยิ่งมีโอกาสติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น
5
* ค่า R0 หรือ ค่า Basic Reproduction Number ที่หลายคนคุ้นเคย คือค่าที่บอกว่าโรคนั้นๆ หรือ เชื้อนั้นๆ มีความสามารถในการแพร่ให้คนอื่นมากน้อยเท่าใด เช่น ค่า R0 = 2 หมายความว่าผู้ติดเชื้อ 1 คน สามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นได้ 2 คน ถ้าค่า R0 = 3 หมายความว่า ผู้ติดเชื้อ 1 คน สามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นได้ 3 คน
4
แต่ค่า R0 จะคิดในกรณีที่คนที่อยู่รอบตัวผู้ติดเชื้อสามารถรับเชื้อและติดเชื้อได้ทั้งหมด (susceptible) ซึ่งในปัจจุบันเป็นไปได้ยาก เพราะประชากรบางส่วนมีภูมิคุ้มกันแล้ว ทั้งจากการติดเชื้อโดยธรรมชาติและจากวัคซีน
1
ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงรายงานเป็นค่า Effective Reproduction Number (R) ซึ่งก็คือ ค่าที่ประเมินความสามารถในการแพร่เชื้อของแต่ละสายพันธุ์ในสถานการณ์จริง (ไม่ใช่ทุกคนสามารถติดเชื้อได้ เพราะบางส่วนมีภูมิคุ้มกันแล้ว) แต่ถ้าคิดเปรียบเทียบกับค่า R0 ของสายพันธุ์อู่ฮั่นดั้งเดิม ที่ WHO เคยรายงานไว้ที่ 1.4-2.4 ดังนั้น สายพันธุ์เดลต้าจะมีค่า R0 อยู่ที่ 3.5-4.5 หมายความว่าผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้า 1 คน สามารถแพร่เชื้อต่อไปให้คนอื่นได้ประมาณ 3-4 คน การแพร่ระบาดจึงเกิดได้เร็วกว่าเดิม
6
References >>
Campbell Finlay, Archer Brett, Laurenson-Schafer Henry, Jinnai Yuka, Konings Franck, Batra Neale, Pavlin Boris, Vandemaele Katelijn, Van Kerkhove Maria D, Jombart Thibaut, Morgan Oliver, le Polain de Waroux Olivier. Increased transmissibility and global spread of SARS-CoV-2 variants of concern as at June 2021. Euro Surveill. 2021;26(24):pii=2100509. https://doi.org/10.2807/1560-7917.ES.2021.26.24.2100509
Achaiah NC, Subbarajasetty SB, Shetty RM. R0 and Re of COVID-19: Can We Predict When the Pandemic Outbreak will be Contained?. Indian J Crit Care Med. 2020;24(11):1125-1127. doi:10.5005/jp-journals-10071-23649

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา