Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Timeless History (ประวัติศาสตร์ไร้กาลเวลา)
•
ติดตาม
23 มิ.ย. 2021 เวลา 04:09 • ประวัติศาสตร์
“เส้นทางสายไหม (Silk Road)” เส้นทางแห่งประวัติศาสตร์โลก
“เส้นทางสายไหม (Silk Road)” คือเครือข่ายเส้นทางการค้าที่เชื่อมจีนและตะวันออกไกล เชื่อมเข้ากับตะวันออกกลางและยุโรป
1
เส้นทางสายนี้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อราชวงศ์ฮั่นของจีนได้ทำการค้ากับตะวันตก เมื่อ 130 ปีก่อนคริสตกาล
1
เส้นทางสายไหมได้ถูกใช้เรื่อยมา จนกระทั่งค.ศ.1453 (พ.ศ.1996) เมื่อจักรวรรดิออตโตมันได้ทำการบอยค็อตการค้ากับจีน ยกเลิกการค้ากับจีน
2
เส้นทางสายไหม ได้กลายเป็นเส้นทางสำคัญสำหรับการค้า นอกจากนั้น ยังส่งผลสำคัญต่อการเผยแพร่วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ซึ่งส่งผลมาถึงปัจจุบัน
เส้นทางสายไหม ได้เปิดใช้เพื่อเป็นเส้นทางการค้าระหว่างตะวันออกไกลกับยุโรป ในยุคของราชวงศ์ฮั่น ซึ่งปกครองประเทศจีนระหว่าง 206 ปีก่อนคริสตกาล-ค.ศ.220 (พ.ศ.763)
1
“จักรพรรดิฮั่นอู่ (Emperor Wu of Han)” ได้ทรงส่งราชทูต นั่นคือ “จางเชียน (Zhang Qian)” ไปทำการติดต่อกับเอเชียกลาง เมื่อ 138 ปีก่อนคริสตกาล
1
ต่อมา จางเชียนได้รายงานถึงการเดินทางและสิ่งที่พบเห็น ทั้งผู้คนและดินแดนที่นำไปสู่ตะวันตก ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ ถือเป็นข้อมูลที่ล้ำค่า หากแต่เส้นทางการค้าแห่งนี้ มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานกว่านั้นมาก
จักรพรรดิฮั่นอู่ (Emperor Wu of Han)
จางเชียน (Zhang Qian)
“เส้นทางสายเปอร์เซีย (Persian Royal Road)” คือเส้นทางซึ่งเชื่อมต่อดินแดนที่ปัจจุบันคืออิหร่าน ไปจนถึงบริเวณที่ปัจจุบันคือตุรกี ใกล้กับทะเลเมดิเตอเรนียน เป็นระยะทางยาวกว่า 2,500 กิโลเมตร
เส้นทางสายเปอร์เซีย ได้รับการก่อตั้งโดยผู้นำอาณาจักรเปอร์เซีย นั่นคือ “พระเจ้าดาไรอัสมหาราช (Darius the Great)” แห่งราชวงศ์อคีเมนิด ซึ่งก่อตั้งมาก่อนการเกิดของเส้นทางสายไหมกว่า 300 ปี
1
พระเจ้าดาไรอัสมหาราช (Darius the Great)
นอกจากนั้น เปอร์เซียยังขยายเส้นทางเพื่อรวมเส้นทางสายเล็กๆ ซึ่งเชื่อมระหว่างเมโสโปเตเมียไปยังดินแดนส่วนหนึ่งของอินเดีย รวมทั้งแอฟริกาเหนือผ่านทางอียิปต์
“พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great)” ผู้ปกครองอาณาจักรมาซิโดเนีย (Macedonia)” ได้ขยายอาณาจักรเข้าไปในเปอร์เซีย ผ่านเส้นทางสายเปอร์เซีย โดยหนึ่งในทางผ่านนั้น ต้องผ่านเส้นทางสายไหมด้วย
พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great)
สำหรับเส้นทางการค้าตะวันออก-ตะวันตก ระหว่างกรีซและจีน ได้เริ่มเปิดในระหว่าง 200-100 ปีก่อนคริสตกาล
อาณาจักรโรมันและจักรวรรดิกุษาณะ (Kushan Empire) ก็ได้รับประโยชน์จากการค้าผ่านเส้นทางสายไหม
ที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ คำว่า “ประเทศจีน” ในภาษากรีกคือ “Seres” ซึ่งแปลว่า “ดินแดนผ้าไหม”
หากแต่คำว่า “เส้นทางสายไหม (Silk Road)” เพิ่งจะมามีเมื่อปีค.ศ.1877 (พ.ศ.2420) เมื่อ “เฟอร์ดินานด์ ฟอน ริชโธเฟิน (Ferdinand von Richthofen)” นักภูมิศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ใช้คำนี้ในการอธิบายถึงเส้นทางการค้าแห่งนี้
เฟอร์ดินานด์ ฟอน ริชโธเฟิน (Ferdinand von Richthofen)
เส้นทางสายไหม เป็นเส้นทางที่รวมเครือข่ายสถานีการค้า ตลาด และทางผ่านที่มีประสิทธิภาพ เหมาะกับการขนส่งและการค้า
เส้นทางนี้ได้ขยายไปสู่แอนติออก ตัดสู่ทะเลทรายในซีเรีย ผ่านเมืองในบริเวณที่ปัจจุบันคืออิรัก
นอกจากนั้น เส้นทางนี้ยังมุ่งไปสู่ทิศตะวันออก ข้ามอัฟกานิสถานในปัจจุบัน และเข้าสู่มองโกเลียและจีน และถนนบนเส้นทางนี้ยังเชื่อมกับท่าเรือตลอดแนวทะเลเมดิเตอเรเนียน ซึ่งท่าเรือเหล่านี้ เป็นท่าเรือที่นำสินค้าเข้าสู่ยุโรป ผ่านอาณาจักรโรมัน
ถึงแม้ว่า “เส้นทางสายไหม” จะได้ชื่อมาจากผ้าไหม ซึ่งเป็นสินค้าขึ้นชื่อของจีน แต่สินค้าที่ส่งออกจากตะวันออกไปตะวันตก ก็ไม่ได้มีเพียงผ้าไหม
นอกจากผ้าไหมแล้ว สินค้าสำคัญก็ยังมีอีกหลายอย่าง เช่น พืชผัก เนื้อสัตว์ เมล็ดพันธุ์ หนังสัตว์ อุปกรณ์ต่างๆ งานศิลปะ หินมีค่าหลากชนิด และอีกมากมายหลายสิ่ง
ที่สำคัญที่สุด คือการแลกเปลี่ยน “ภาษา วัฒนธรรม ความเชื่อทางศาสนา และวิทยาการความรู้ต่างๆ”
สินค้าต่างๆ บนเส้นทางสายไหม
อีกหนึ่งสินค้าที่สำคัญระหว่างตะวันออกและตะวันตก ก็คือ “กระดาษ” และ “ดินปืน” ซึ่งเป็นประดิษฐกรรมของจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่น
นอกจากประโยชน์ด้านการค้า เส้นทางสายไหมยังเป็นการเปิดเส้นทางสู่การเรียนรู้ ทำให้เข้าใจวัฒนธรรมและภูมิประเทศของตะวันออกไกล
“มาร์โค โปโล (Marco Polo)” นักสำรวจชื่อดังชาวเวนิส ได้ใช้เส้นทางสายไหมในการเดินทางจากอิตาลีไปจีน ซึ่งในเวลานั้น จีนยังอยู่ใต้อำนาจของมองโกล และโปโลก็ได้ไปถึงจีนเมื่อปีค.ศ.1275 (พ.ศ.1818)
มาร์โค โปโล (Marco Polo)
โปโลเดินทางมาทางบกโดยใช้อูฐเป็นพาหนะ และมาถึงเมืองซานาดู ซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าสมัยกุบไลข่าน (Kublai Khan)
โปโลได้อาศัยอยู่ในเอเชียเป็นเวลานานกว่า 24 ปี โดยทำงานรับใช้ในราชสำนักของกุบไลข่าน
โปโลเข้าเฝ้ากุบไลข่าน
โปโลได้เดินทางกลับเวนิสในปีค.ศ.1295 (พ.ศ.1818) โดยใช้เส้นทางสายไหม และเป็นช่วงเวลาที่อาณาจักรมองโกลเริ่มจะเสื่อม
การเดินทางตลอดเส้นทางสายไหมของโปโลได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในหนังสือ “บันทึกการเดินทางของมาร์โค โปโล (The Travels of Marco Polo)” และทำให้ชาวยุโรปเข้าใจในวัฒนธรรมและการค้าของเอเชีย
บันทึกการเดินทางของมาร์โค โปโล (The Travels of Marco Polo)
References:
https://www.nationalgeographic.org/encyclopedia/silk-road/
https://www.history.com/topics/ancient-middle-east/silk-road
https://www.chinahighlights.com/silkroad/history.htm
https://www.ducksters.com/history/china/silk_road.php
https://www.worldhistory.org/Silk_Road/
46 บันทึก
33
25
46
33
25
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย