23 มิ.ย. 2021 เวลา 06:16 • สุขภาพ
คนอ้วนที่มีสีผิวเข้ม และหลีกเลี่ยงการใช้ชีวิตกลางแจ้ง อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรงกว่าหากติดโควิด 19 เมื่อเทียบกับผู้ที่มีเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายต่ำ ผิวขาว และหมั่นออกไปสัมผัสแสงแดดบ่อยๆ
ทั้งนี้เกิดจาก 2 ปัจจัย อันได้แก่ ข้อที่ 1 เซลเนื้อเยื่อไขมันสามารถกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันหลั่งสารก่ออักเสบ IL-6 ได้ และ IL-6 จัดเป็นสารก่ออักเสบที่สำคัญของพายุไซโตไคน์ที่เกิดขึ้นภายหลังการติดเชื้อ SAR-CoV-2 ซึ่งจะส่งผลทำให้การทำงานของ ปอด และไต ล้มเหลวจนอาจถึงแก่ชีวิตได้ กล่าวแบบง่ายๆก็คือ ไขมันในตัวยิ่งเยอะยิ่งมีสารก่ออักเสบในตัวสูงตามไปด้วย
ข้อที่ 2 การมีสีผิวที่เข้ม จะทำให้การสังเคราะห์วิตามินดีที่ผิวหนังเกิดขึ้นได้น้อยและยากกว่าผู้ที่มีผิวขาว เพราะโดยปกติแล้วเม็ดสี melanin ที่ผิวหนังจะทำหน้าที่เป็นตัวกันแสงโดยการดูดซับ รังสีUVB ไว้ (UVB เป็นรังสีที่มีอยู่ในแดดทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างวิตามินดีที่ผิวหนังของคนเรา) เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนังเกิดการไหม้แดด ดังนั้นคนที่มีผิวสีเข้มจึงต้องได้รับแสงแดดที่นานกว่าคนผิวขาวในการที่จะสังเคราะห์วิตามินดีให้ได้ปริมาณเท่ากัน อีกทั้งด้วยความกังวลจากมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคมอาจทำให้ผู้คนหลีกเลี่ยงการใช้ชีวิตกลางแจ้ง และมีโอกาสสัมผัสแสงแดดน้อยลง
วิตามินดีเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อระบบภูมิต้านทานเพื่อต่อต้านการติดเชื้อโควิด โดยพบว่าการให้วิตามินดีในรูปสารเสริมอาหารในคนอ้วนชาวอเมริกันผิวดำ ช่วยยืดอายุของเม็ดเลือดขาว Leukocyte ของเขาเหล่านั้นได้ และวิตามินดียังมีประโยชน์ต่อการลดความรุนแรงของโรคติดเชื่อที่ปอดได้อย่างชัดเจน ดังนั้นถ้าใครอยากดูแลระบบภูมิคุ้มกันของตัวเอง หรือบิดามารดาที่อายุมาก แต่กลัวความเสี่ยงการเกิดมะเร็งผิวหนังจากแสงแดด การรับประทานวิตามินดีเสริมจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย โดยการใช้วิตามินดีเสริมควรเลือกใช้ inactive vitamin เช่น D2 หรือ D3 ไม่ควรใช้ชนิดที่เป็น active หรือกึ่ง active เช่น calcitriol หรือ alfacalcidol เป็นต้น เพราะจะเกิดผลข้างเคืยงได้ง่าย และอย.ไทยอนุญาติให้ใช้วิตามินดี3 ในรูปสารเสริมอาหารได้ในปริมาณ ไม่เกิน 5 ไมโครกรัม (μg) ต่อวัน
ที่มา :
Clemens TL, Adams JS, Henderson SL, Holick MF. Increased skin pigment reduces the capacity of skin to synthesise vitamin D3 . Lancet 1982;1:74-6.
Jain, A., Chaurasia, R., Sengar, N.S. et al. Analysis of vitamin D level among asymptomatic and critically ill COVID-19 patients and its correlation with inflammatory markers. Sci Rep 10, 20191 (2020).
Scientific Advisory Committee on Nutrition, National Institute for Health and Care Excellence, Public Health England. COVID-19 rapid guideline: vitamin D, NICE guideline Published: 17 December 2020.
Jolliffe, D. A., Camargo, C. A., Sluyter, J. D., Aglipay, M., Aloia, J. F., Ganmaa, D., Bergman, P., Borzutzky, A., Damsgaard, C. T., Dubnov-Raz, G., Esposito, S., Gilham, C., Ginde, A. A., Golan-Tripto, I., Goodall, E. C., Grant, C. C., Griffiths, C. J., Hibbs, A. M., Janssens, W., Khadilkar, A. V., … Martineau, A. R. (2020). Vitamin D supplementation to prevent acute respiratory infections: systematic review and meta-analysis of aggregate data from randomised controlled trials. medRxiv : the preprint server for health sciences, 2020.07.14.20152728.
โฆษณา