23 มิ.ย. 2021 เวลา 07:34 • ประวัติศาสตร์
อยู่กันยังไง! เกาะมิกิงโก เกาะจิ๋วหุ้มเหล็ก ที่มีประชากรหนาแน่นสุดในโลก
มิกิงโก (Migingo) ตั้งอยู่ระหว่างดินแดนสองประเทศคือเคนยากับยูกันดา เหนือทะเลสาบวิกตอเรีย ขึ้นชื่อว่าเป็นเกาะที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลก มีผู้อยู่อาศัยราว 500 คน บนเนื้อที่ 2,000 ตารางเมตร หรือเทียบครึ่งสนามฟุตบอล ได้ฉายาว่า Iron Clad Island หรือ เกาะหุ้มเหล็ก จากการที่หลังคาบ้าน ทั้งกระท่อม บาร์ โรงน้ำชา เบียดติดกันทั่วทั้งเกาะ ทำให้มองจากภายนอกแล้วเห็นเพียงแค่หลังคาสังกะสีปกคลุมเต็มพื้นที่เกาะแห่งนี้เป็นแดนพิพาทระหว่างยูกันดาและเคนยา เนื่องจากตำแหน่งที่ตั้งของ เกาะมิกิงโก อยู่ในเขตแดนของประเทศเคนยา แต่ชาวประมงบนเกาะมีทั้งสองชาติ และมักจะล่วงล้ำเข้าไปหาปลาในน่านน้ำของอีกฝ่ายอยู่เสมอ โดยเฉพาะระยะหลังมานี้ เมื่อปลาลดจำนวนลงไป ในที่นี้รวมถึงปลากะพงแม่น้ำไนล์ด้วย
2
ในปี 2559 สองประเทศเคยยอมตกลงเจรจากันแต่โดยดีถึงข้อเรียกร้องให้มีการเก็บภาษีจากชาวประมงที่อาศัยอยู่บนเกาะ และทำข้อตกลงในการส่งกำลังเจ้าหน้าที่จากทั้ง 2 ประเทศมาป้องกันการโจมตีและบุกปล้นชาวบ้านจากโจรสลัดร่วมกันนับแต่นั้น แต่ข้อพิพาทยังไม่จบสิ้นไอแซก บูฮินซา วัย 22 ปี จากยูกันดาเผยว่า ตั้งแต่เด็กๆ ไม่เคยไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนเลย แต่ได้เรียนรู้ทักษะการตกปลาจากพ่อ จนชำนาญ ก่อนจะพากันมาหาปลาที่เกาะมิกิงโก เพราะเพื่อนคนหนึ่งของเขาเคยเดินทางมาหาปลาบริเวณน่านน้ำใกล้กับเกาะแห่งนี้ และกลับไปพร้อมปลาตัวใหญ่สารพัดชนิด
1
“ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเกาะๆ นี้เป็นของใคร ผมก็แค่อยู่ที่นี่” บูฮินชา กล่าว หลังจากเผยว่าการใช้ชีวิตที่เกาะแห่งนี้ช่วยประหยัดค่าเชื้อเพลง และยังทำให้ได้ขายปลากับผู้ซื้อโดยตรงอีกด้วย
ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทะเลสาบ ก็ทำให้เกาะแห่งนี้กลายเป็นสวรรค์ของนักตกปลาไปโดยปริยาย แต่ช่วงเวลานานเกินกว่าสิบปีมานี้ เกิดความตึงเครียดระหว่างยูกันดากับเคนยา ในเรื่องพรมแดนที่ไม่รู้ว่าตรงไหนเป็นของใคร จนเกิดศึกที่เรียกว่า “สงครามที่เล็กที่สุด” ของแอฟริกา ยิ่งหลายปีมานี้ ปริมาณปลาที่จับได้บริเวณเกาะลดน้อยลงเรื่อยๆ
อยู่กันยังไง! เกาะมิกิงโก เกาะจิ๋วหุ้มเหล็ก ที่มีประชากรหนาแน่นสุดในโล
1
อยู่กันยังไง! เกาะมิกิงโก เกาะจิ๋วหุ้มเหล็ก ที่มีประชากรหนาแน่นสุดในโลก
มิกิงโก (Migingo) ตั้งอยู่ระหว่างดินแดนสองประเทศคือเคนยากับยูกันดา เหนือทะเลสาบวิกตอเรีย ขึ้นชื่อว่าเป็นเกาะที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลก มีผู้อยู่อาศัยราว 500 คน บนเนื้อที่ 2,000 ตารางเมตร หรือเทียบครึ่งสนามฟุตบอล ได้ฉายาว่า Iron Clad Island หรือ เกาะหุ้มเหล็ก จากการที่หลังคาบ้าน ทั้งกระท่อม บาร์ โรงน้ำชา เบียดติดกันทั่วทั้งเกาะ ทำให้มองจากภายนอกแล้วเห็นเพียงแค่หลังคาสังกะสีปกคลุมเต็มพื้นที่
เกาะแห่งนี้เป็นแดนพิพาทระหว่างยูกันดาและเคนยา เนื่องจากตำแหน่งที่ตั้งของ เกาะมิกิงโก อยู่ในเขตแดนของประเทศเคนยา แต่ชาวประมงบนเกาะมีทั้งสองชาติ และมักจะล่วงล้ำเข้าไปหาปลาในน่านน้ำของอีกฝ่ายอยู่เสมอ โดยเฉพาะระยะหลังมานี้ เมื่อปลาลดจำนวนลงไป ในที่นี้รวมถึงปลากะพงแม่น้ำไนล์ด้วย
ในปี 2559 สองประเทศเคยยอมตกลงเจรจากันแต่โดยดีถึงข้อเรียกร้องให้มีการเก็บภาษีจากชาวประมงที่อาศัยอยู่บนเกาะ และทำข้อตกลงในการส่งกำลังเจ้าหน้าที่จากทั้ง 2 ประเทศมาป้องกันการโจมตีและบุกปล้นชาวบ้านจากโจรสลัดร่วมกันนับแต่นั้น แต่ข้อพิพาทยังไม่จบสิ้น
ไอแซก บูฮินซา วัย 22 ปี จากยูกันดาเผยว่า ตั้งแต่เด็กๆ ไม่เคยไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนเลย แต่ได้เรียนรู้ทักษะการตกปลาจากพ่อ จนชำนาญ ก่อนจะพากันมาหาปลาที่เกาะมิกิงโก เพราะเพื่อนคนหนึ่งของเขาเคยเดินทางมาหาปลาบริเวณน่านน้ำใกล้กับเกาะแห่งนี้ และกลับไปพร้อมปลาตัวใหญ่สารพัดชนิด
“ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเกาะๆ นี้เป็นของใคร ผมก็แค่อยู่ที่นี่” บูฮินชา กล่าว หลังจากเผยว่าการใช้ชีวิตที่เกาะแห่งนี้ช่วยประหยัดค่าเชื้อเพลง และยังทำให้ได้ขายปลากับผู้ซื้อโดยตรงอีกด้วย
ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทะเลสาบ ก็ทำให้เกาะแห่งนี้กลายเป็นสวรรค์ของนักตกปลาไปโดยปริยาย แต่ช่วงเวลานานเกินกว่าสิบปีมานี้ เกิดความตึงเครียดระหว่างยูกันดากับเคนยา ในเรื่องพรมแดนที่ไม่รู้ว่าตรงไหนเป็นของใคร จนเกิดศึกที่เรียกว่า “สงครามที่เล็กที่สุด” ของแอฟริกา ยิ่งหลายปีมานี้ ปริมาณปลาที่จับได้บริเวณเกาะลดน้อยลงเรื่อยๆ
มูลนิธิสัตว์ป่าโลก WWF ระบุว่า ช่วง 4 ทศวรรษมานี้ ร้อยละ 80 ของปลาพื้นถิ่นสูญหายไปแล้ว ส่วนป่าในพื้นที่บนเกาะหายไปแล้วถึงร้อยละ 70 ส่วนผักตบชวาที่เป็นวัชพืชขยายอย่างรวดเร็ว
หากทะเลสาบวิกตอเรีย ทะเลสาบซึ่งใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดในทวีปแอฟริกา ไม่ใช่แหล่งสัตว์น้ำอีกต่อไป จะเกิดความเสี่ยงต่อชีวิตคนหลายล้านที่อาศัยอยู่ตามฝั่งของยูกันดา เคนยา และแทนซาเนีย
ชาวประมงชาวเคนยาที่จับปลาอยู่รอบๆ เกาะมิกิงโก ในทะเลสาบวิกตอเรีย เริ่มบ่นเกี่ยวกับเรื่องเจ้าหน้าที่จากยูกันดาที่เข้ามาคุกคามการจับปลาของพวกเขามากขึ้น ยึดอุปกรณ์หาปลาและปลาไป ทั้งๆ ที่พวกตนเป็นคนจับได้เมื่อเดือนก.ย. ปี 6ชา วประมงเริ่มสังเกตได้ว่า เคนยาพยายามที่จะนำธงชาติมาปักลงบนพื้นที่ซึ่งแต่ก่อนมีเพียงธงของประเทศยูกันดา ปักอยู่เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนบนเกาะมิกิงโกที่ปกป้องเกาะจากโจรสลัด ส่วนมากเป็นเจ้าหน้าที่จากยูกันดามากกว่าเคนยา ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ทั้ง 2 ประเทศตกลงว่าจะส่งเจ้าหน้าที่มาดูแลจำนวนเท่าๆ กัน
นักการเมืองของเคนยาเรียกร้องให้ไนจีเรีย รัฐบาลชาติเป็นกลาง ร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ให้เข้ามามีบทบาทในการควบคุมและตัดสินใจเกี่ยวกับพรมแดนทับซ้อนบริเวณนี้ เพื่อไม่ให้เกิดผลประโยชน์ต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากกว่าสำหรับประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเกาะแห่งนี้ที่มาค่อนข้างไม่ชัดเจนนัก จากข้อมูลหนึ่งระบุว่า ผู้บุกเบิกเกาะแห่งนี้คือ ดัสมัส เท็มโบ และจอร์จ เคียบเบ ชาวประมงชาวเคนยา ที่เริ่มเข้ามาตั้งรกรากถิ่นฐานตั้งแต่ปี 2534 ขณะที่อีกข้อมูลระบุว่า โจเซฟ อันซูบูกา ชาวอูกันดา เป็นผู้มาที่เกาะแห่งนี้เป็นคนแรก ก่อนจะมีเพื่อนชาวประมงมาอยู่ด้วยกัน ซึ่งทั้งสองเรื่องราวนี้ ทำให้เกิดการขัดแย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ในการถือครองที่ดินบนเกาะแห่งนี้มายาวนานระหว่างประเทศเคนยากับประเทศเพื่อนบ้านอย่างอูกันดา
โดยหลักการทางภูมิศาสตร์แล้ว เกาะมิกิงโก ตั้งอยู่ในเขตของประเทศเคนยา แต่ทางชาวอูกันดา ได้กล่าวอ้างว่า ชาวประมงบนเกาะได้ล่วงล้ำเข้าไปหาปลาในน่านน้ำของอูกันดา ซึ่งอยู่ห่างออกไปจากชายฝั่งของเกาะเพียง 500 เมตร จนกลายเป็นสงครามเล็ก ๆ ของแอฟริกา (Africa’s smallest war) เกิดขึ้น ซึ่งปมปัญหาความขัดแย้งของทั้ง 2 ประเทศนั้นมีมาเรื่อย ๆ จนมาถึงจุดเดือดในปี 2551 เมื่อทางอูกันดาส่งหน่วยทหารไปเข้ายึดพื้นที่และสั่งอพยพชาวประมงบนเกาะ เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดความตึงเครียดอยู่นานหลายปีหลังจากนั้น
กระทั่งในปี 2559 ประเทศอูกันดาและเคนยา ได้ยอมเจรจาทำข้อตกลง ว่า ทั้ง 2 ประเทศจะมีสิทธิ์เรียกเก็บภาษีจากชาวประมงที่อาศัยอยู่บนเกาะ และแต่ละประเทศจะต้องส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจขึ้นไปป้องกันการโจมตีเกาะจากโจรสลัด ทำให้ตอนนี้ทั้งชาวเคนยาและชาวอูกันดาสามารถอยู่บนเกาะแห่งนี้ร่วมกันได้อย่างสันติสุขหากย้อนกลับไปเมื่อปี 2552 หลังจากทางอูกันดาส่งทหารมายึดเกาะนั้น จากการสำรวจสำมะโนประชากรอย่างเป็นทางการระบุว่า มีทั้งหมด 131 ครัวเรือน ส่วนจำนวนประชากรผู้พักอาศัยนั้นมีสูงถึงกว่า 1,000 ชีวิต ซึ่งนับว่าสูงมากสำหรับการอาศัยอยู่ในพื้นที่เท่านั้น จากนั้นเรื่อยมาก็ยังมีชาวประมงทั้งจากเคนยา อูกันดา และแทนซาเนีย แห่เข้ามาตั้งรกรากบนเกาะแห่งนี้ อันได้ชื่อว่าสรรค์ของนักตกปลาจนแออัด ทำให้ไม่สามารถควบคุมจำนวนประชากรได้ ทุกพื้นที่มีแต่บ้านเรือนชาวประมงขึ้นติด ๆ กันหนาแน่น จนแทบจะไม่มีทางเดิน
แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจไม่น้อยคือ เกาะที่มีชื่อว่า ยูซิงโก (Usingo) ที่อยู่ห่างออกไปเพียงไม่กี่เมตร และมีขนาดใหญ่กว่าเกาะมิกิงโก กลับไม่มีประชาชนไปอาศัยอยู่เลย เมื่อเปรียบเทียบภาพกันแล้วน่าสงสัยเป็นอย่างมาก ซึ่งได้มีตำนานเล่าขานว่า สาเหตุที่เกาะแห่งนั้นไม่มีใครกล้าเข้าไปอยู่เพราะว่า เป็นที่สิงสถิตของวิญญาณร้าย ไม่มีชาวประมงคนไหนกล้าย่างกรายเข้าไปเหยียบ และถึงแม้จะเป็นแค่เรื่องเล่า แต่ก็ทำให้ทุกคนที่นั่นเชื่อและเลือกที่จะอยู่บนเกาะที่แออัดมากกว่าจะย้ายไป
สำหรับเรื่องความปลอดภัย แม้ว่าจะมีทางเจ้าหน้าที่ตำรวจของทั้งอูกันดาและเคนยาเข้าไปดูแลความเรียบร้อย แต่ก็ยังมีเหตุโจรสลัดเข้ามาปล้นอยู่ ส่วนใหญ่จะจ้องเข้ามาในตอนกลางคืน เพื่อขโมยเรือและเครื่องยนต์ของชาวประมง และมีบางครั้งที่ลงมือฆ่าชาวบ้านชาวประมงที่ไปขัดขวาง แต่ทั้งนี้ก็ไม่บ่อยและไม่รุนแรงมากเท่าในอดีต
ปัจจุบัน เกาะมิกิงโก แห่งนี้ ยังคงได้ชื่อว่าเป็นเกาะที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อาจจะได้ชื่อนี้อยู่อีกไม่นาน อันเนื่องมาจากประชากรที่หนาแน่น ก็ทำให้ทรัพยากรลดน้อยลง และผู้คนก็เริ่มอพยพออกไปหาทำเลจุดหาปลาใหม่ ๆ มากขึ้น
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก : Khaosod/ liekr.com
1
โฆษณา