24 มิ.ย. 2021 เวลา 23:30 • ประวัติศาสตร์
25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด สถานีรถไฟกรุงเทพ
แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า สถานีรถไฟหัวลำโพง ตามชื่อคลองและฝูงวัววิ่งกันอย่างคึกคะนองอยู่กลางทุ่งจึงเรียกว่า "ทุ่งวัวลำพอง" และได้เพี้ยนเสียงมาเป็น "หัวลำโพง" ในภายหลัง
บ้างก็สันนิษฐานว่าเป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งคือ "ต้นลำโพง" ซึ่งเคยมีมากในบริเวณนี้
สถานีรถไฟหัวลำโพงเริ่มก่อสร้างในปี 2453 ปลายสมัยรัชกาลที่ 5
สถาปัตยกรรมของสถานีรถไฟหัวลำโพงเป็นโดมสไตล์อิตาเลียนผสมกับศิลปะเรอเนซองซ์ มีความคล้ายคลึงกับสถานีรถไฟฟรังค์ฟูร์ท ที่เมืองแฟรงเฟิร์ต ประเทศเยอรมนี
ออกแบบโดยมาริโอ ตามานโญ สถาปนิกชาวอิตาเลียน
มีพื้นที่ประมาณ 120 ไร่ ด้านหน้ามีสวนหย่อมและน้ำพุ ซึ่งสร้างเป็นอนุสาวรีย์น้อมเกล้าฯ อุทิศส่วนกุศลถวายแด่พระพุทธเจ้าหลวง
ภายในประดับด้วยหินอ่อน เพดานมีการสลักลายนูนต่างๆ จุดเด่นอย่างหนึ่งคือ กระจกสีที่ช่องระบายอากาศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังซึ่งประดับไว้อย่างผสมผสานกลมกลืนกับตัวอาคาร
มีนาฬิกาขนาดใหญ่ซึ่งสั่งทำเป็นพิเศษ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 160 เซนติเมตร ติดตั้งอยู่อย่างกลมกลืน
25 มิถุนายน พุทธศักราช 2459 เวลา 17.00 น. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิด “สถานีรถไฟกรุงเทพ” ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ปัจจุบันเป็นสถานีรถไฟที่เก่าแก่ที่สุด เป็นสถานีรถไฟหลักของประเทศไทย รองรับรถไฟประมาณ 200 ขบวนต่อวัน จากรถไฟสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้
สร้างขึ้นเพื่อรองรับผู้โดยสารจากทั่วทุกสารทิศของประเทศ และปัจจุบันสถานีรถไฟหัวลำโพง มีทางเชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้ามหานคร หรือ รถไฟฟ้าใต้ดิน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา