T-PREMIUM BRAND กองทุนเพื่อคนสนใจลงทุนแบรนด์เนม
เมื่อพูดถึงการลงทุนในสินค้าแบรนด์เนมที่ได้รับความนิยมมานาน หลายคนน่าจะนึกถึงการซื้อกระเป๋าราคาแพง หรือนาฬิกาหรูสักเรือน เพื่อเอามาลงทุนเก็งกำไร เพราะสินค้าแบรนด์เนมบางอย่างก็มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่การลงทุนสินค้าแบรนด์เนมเหล่านี้ต้องใช้เงินลงทุนสูง เลยเป็นได้แค่ความฝันของใครหลายคน
1
แต่!! ตอนนี้เราสามารถลงทุนในบริษัทแบรนด์เนมชื่อดังเหล่านี้ได้แล้วนะ รวมถึงลงทุนในบริษัทชื่อดัง ระดับ Hi-End และ Luxury Brand ต่างๆด้วย ซึ่งเริ่มต้นลงทุนเพียงแค่หลักพันบาทผ่านกองทุนรวม
วันนี้เรามีกองทุนมาแนะนำให้กับหนุ่มๆ สาวๆ ที่สนใจอยากมีหุ้นบริษัทแบรนด์เนม ก็คือ กองทุน T-PREMIUM BRAND
กองทุน T-PREMIUM BRAND ลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ PICTET FUNDS (LUX) - PREMIUM BRANDS เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเน้นลงทุนหุ้นบริษัทในกลุ่มธุรกิจสินค้าหรือบริการที่มีการวางตำแหน่งสินค้าหรือบริการระดับบน (Premium brand sectors) มีคุณภาพสูง และมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน
เรามาทำความรู้จักกับหุ้นที่น่าสนใจใน PICTET FUNDS (LUX) - PREMIUM BRANDS กัน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2564 จาก Fund Factsheet)
American Express Co. - สัดส่วนการลงทุน 5.07%
ผู้ให้บริการด้านการเงินยักษ์ใหญ่ระดับโลก ผลิตภัณฑ์หลัก คือ บัตรเครดิต ซึ่งได้รับความนิยมมากในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐฯ แต่ในประเทศไทยไม่ค่อยนิยมกันเพราะหาร้านค้าที่รับบัตรเครดิต American Express ได้ยาก
สิ่งที่ทำให้บัตรเครดิต American Express ดูเป็น Premium brand มากกว่าบัตรยี่ห้ออื่น เพราะทาง American Express มีเกณฑ์ในการพิจารณาของผู้จะสมัครบัตรเครดิตค่อนข้างสูง เช่น ต้องมีรายได้อย่างน้อย 30,000 บาท/เดือน หรือในบัตรระดับสูงต้องมีรายได้ขั้นต่ำถึง 1,500,000 บาท/ปี เป็นต้น
1
นอกจากนี้ ยังมอบสิทธิประโยชน์ในระดับสากลให้กับลูกค้า เช่น บัตรกำนัลรับประทานอาหารจากโรงแรมชั้นนำ ส่วนลดจากร้านอาหารชั่นนำ บริการรถลีมูซีนรับ-ส่งสนามบิน ใช้ห้องรับรองสนามบิน เป็นต้น
Marriott International - สัดส่วนการลงทุน 5.06%
บริษัทอสังหาริมทรัพย์สัญชาติอเมริกัน ให้บริการด้านที่พักอาศัย เช่น โรงแรม ที่พักอาศัย และมีโรงแรมในเครือกว่า 30 แบรนด์ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วโลก
ตัวอย่างโรงแรมและที่พักอาศัยในเครือ เช่น JW Marriott Hotels, The Ritz-Carlton, St. Regis Hotels & Resorts, W Hotels, Delta Hotels, Marriott Hotels & Resorts, Marriott Vacation Club, Sheraton Hotels and Resorts เป็นต้น
L'Oreal - สัดส่วนการลงทุน 4.98%
ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประเภทเสริมความงามและเครื่องสำอางค์สัญชาติฝรั่งเศส ปัจจุบันมีแบรนด์ในเครื่อทั้งหมด 34 แบรนด์ โดยแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ ผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูง (L’Oréal Luxe), ผลิตภัณฑ์อุปโภค (Consumer Products), ผลิตภัณฑ์เวชสำอาง (Active Cosmetics) และผลิตภัณฑ์ช่างผมมืออาชีพ (Professional Products)
ตัวอย่างแบรนด์ดังในเครือ เช่น Lancôme, Yves Saint Laurent, Giorgio Armani, Biotherm, Kiehl’s, Shu Uemura, L’Oréal Paris, Magic, Garnier, Maybelline New York, NYX, Vichy, La Roche-Posay, Roger & Gallet, Kérastase, Redken, Matix, Pureology เป็นต้น
LVMH Moet Hennessy Louis Vuitton - สัดส่วนการลงทุน 4.95%
บริษัท Global Luxury Group สัญชาติฝรั่งเศส โดยดำเนินธุรกิจ 6 ประเภทหลัก คือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ไวน์และเหล้า), สินค้าแฟชั่น, น้ำหอมและเครื่องสำอางค์, นาฬิกาและเครื่องประดับ, ร้านค้าปลีก และ ธุรกิจอื่นๆ
2
ตัวอย่างแบรนด์ดังในเครือ เช่น Moët & Chandon, Louis Vuitton, Christian Dior and Givenchy, Kenzo Parfums, Benefit Cosmetics, Tiffany & Co., TAG Heuer, Starboard Cruise Services, Sephora เป็นต้น
Kering - สัดส่วนการลงทุน 4.11%
Global Luxury Group สัญชาติฝรั่งเศส โดยดำเนินธุรกิจด้านการออกแบบ ผลิต และจัดจำหน่าย ประเภทเครื่องแต่งกาย เช่น รองเท้า กระเป๋า นาฬิกา น้ำหอม
ตัวอย่างแบรนด์ดังในเครือ เช่น Gucci, Saint Laurent, Bottega Veneta, Balenciaga, Alexander McQueen, Brioni, Boucheron, Pomellato เป็นต้น
สิ่งที่ต้องระวังของกองทุน T-PREMIUM BRAND มีอะไรบ้าง
สำคัญที่สุดคือ Premium is not Luxury นะ !! ตลาดหุ้น นักลงทุนถึงแม้จะไม่แฟชันกัน แต่ก็แยก ระหว่าง Luxury vs non-Luxury เช่น LVMH vs Tapestry (coach kate spade) หากสนใจลงกองทุนนี้โดยมุ่งลงทุนแต่ luxury ก็ต้องบอกว่า ผิดกองแล้วล่ะ !!? แบบนั้นต้องไปซื้อหุ้นรายตัวเองเท่านั้น ในเวลานี้
- ความเสี่ยงจากการลงทุนกระจุกในประเทศใดประเทศหนึ่ง (High Country Concentration Risk) โดยกระจุกตัวในประเทศสหรัฐอเมริกา
- ความผันผวนของผลการดำเนินงาน (Standard Deviation) คือ 16.67% ต่อปี
- กองทุนนี้เคยมีผลขาดทุนสูงสุด (Maximum Drawdown) ในช่วงเวลา 5 ปี คือ -36.00% และในยามวิกฤตอาจลงได้ลึกกว่านั้น
- ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนรวมในการพิจารณาว่าจะป้องกันความเสี่ยงหรือไม่ ดังนั้น กองทุนจึงมีความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทกับเงินสกุลต่างประเทศ
BottomLiner
โฆษณา