23 มิ.ย. 2021 เวลา 14:11
“สิ่งที่เลือกแล้วดีเสมอ”
เรียนรู้วิธีการ ‘ตัดสินใจ’ ไม่ให้เสียดายในภายหลัง
‘การตัดสินใจ’ เรื่องธรรมดาที่เราทุกคนต้องทำในทุกๆ วัน ตั้งแต่ตื่นนอน ทำกิจกรรมระหว่างวัน ไปจนถึงเข้านอน ทุกๆ การกระทำของเรามักจะมีเรื่องให้ตัดสินใจอยู่เสมอ โดยเฉพาะเรื่องของการทำงาน
.
แต่บางทีเมื่อเราตัดสินใจอะไรไปแบบลวกๆ หรือพิจารณาไม่ดีพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเรื่องสำคัญๆ ก็มักจะทำให้เสียดายและเกิดความคิดที่ว่า ‘ไม่น่าทำอย่างนั้นเลย น่าจะทำอย่างนี้ดีกว่า’ หรือ ‘ถ้าตัดสินใจแบบนั้นคงดีกว่านี้’
.
อีกหนึ่งพฤติกรรมที่คนชอบทำกันคือ การเป็นคนที่ไม่ยอมตัดสินใจอะไรเลย โยนภาระการตัดสินใจไปให้คนอื่นบ่อยๆ และมักจะพูดประโยคเช่น “ช่วยตัดสินใจให้หน่อย” ซึ่งนี่อาจเป็นกับดักสำคัญที่ทำให้ตัวของเราไม่ได้พัฒนาทักษะนี้
.
.
ดังนั้น เราต้องเลิกทำพฤติกรรมเช่นนี้ได้แล้ว เพราะมันมีแต่จะส่งผลเสียให้กับตัวเรา ลองหาวิธีการเสริมสร้างความมั่นใจ ที่จะทำให้เรากล้าตัดสินใจมากขึ้น
.
.
ซึ่งบทความจาก Medium ที่ชื่อว่า To Become a Good Decision-Maker Practice the ‘Psychologist Effect’ ได้พูดถึงทักษะในการตัดสินใจอย่างเฉียบขาด และต้องใช้เวลาฝึกฝนอย่างหนัก รวมถึงการสะสมประสบการณ์ที่พบเจอมาใช้ให้ได้มากที่สุด ทางเราก็ได้รวบรวมสรุปทักษะการตัดสินใจมาทั้งหมด 4 ข้อ เพื่อให้ทุกคนสามารถนำไปปรับใช้กับการตัดสินใจกับอะไรบางอย่างให้เฉียบขาด ที่จะทำให้เราไม่มามัวเสียใจและเสียดายภายหลัง ไปดูกันเลย!
.
.
เปรียบเทียบ Choice อย่างยุติธรรม ใช้เหตุผลนำอารมณ์
.
.
สิ่งแรกที่จะทำให้การตัดสินใจบางเรื่องเป็นไปได้ดี คือ ‘การฝึกสติให้ใช้เหตุผลนำอารมณ์’ ได้เสียก่อน คุณจะต้องหนักแน่นในหลักเหตุและผล ไม่ไหลไปตามกระแสอารมณ์หรือสภาพแวดล้อมที่ชักจูงไปทางใดทางหนึ่ง
.
โดยสิ่งที่จะมาเป็นตัวแปรที่คอยขัดขวางการตัดสินใจที่ดีของคุณจะมีอยู่หลักๆ 3 ข้อดังนี้
.
1. กรอบความคิดเดิม
2. อารมณ์ ณ​ ตอนนั้น
3. บริบท ณ ตอนนั้น
.
และถ้าหากคุณกำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจ ลองเตือนสติตัวเองด้วยประโยคเหล่านี้
.
1. อารมณ์ตอนนี้ของฉันจะไม่มีผลกับการตัดสินใจของฉัน
2. การตัดสินใจของฉันจะมีเหตุและผล ไม่ว่าสภาพแวดล้อมที่กดดันแค่ไหนก็ตาม
3. ฉันจะรับฟังโดยไร้ซึ่งอคติต่อผู้พูด และตัดสินใจอย่างเป็นธรรม
.
สิ่งเหล่านี้จะช่วยเป็นเครื่องเตือนใจให้คุณมีสติอยู่กับการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจได้ดีขึ้น
.
.
ใช้ภาพตัวเองในอนาคตเป็นจุดอ้างอิงการตัดสินใจ
.
.
หลายๆ ครั้งที่เราตัดสินใจจะทำหรือไม่ทำอะไร เรามักจะคิดถึงความรู้สึกปัจจุบันเป็นหลัก เราอาจขี้เกียจ หมดแรง หรือรู้สึกไม่มีกำลังใจในการทำ แต่อารมณ์เหล่านี้เป็นสิ่งชั่วคราวที่จะผ่านเข้ามาเสมอ หากต้องการเตือนสติตัวเองให้ตัดสินใจลงมือทำทันที ต้องคอยนึกภาพตัวเองในอนาคตเข้าไว้
.
เชื่อว่าทุกคนมีความฝันที่จะเติบโตไปเป็นบางอย่าง อยากก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เป็นผู้ประกอบการ หรือเป็นคนมีฐานะมั่นคง เป้าหมายเหล่านี้รอให้คุณไปถึง แต่ต้องเริ่มจากการลงมือทำทันทีให้ได้เสียก่อน หากต้องตัดสินใจ แม้เป็นเรื่องเล็กน้อย ให้มองว่ามันเป็น ‘โอกาส’ ในการไปถึงเป้าหมายของคุณ
.
แล้วคุณจะรู้สึกมี Passion และ Motivation อยากลุกขึ้นมาทำมันมากกว่าเดิมเพื่ออนาคตที่เข้ามาใกล้ความจริงขึ้นเรื่อยๆ
.
.
อารมณ์ชั่ววูบอันตรายที่สุดในการตัดสินใจ
.
.
เรียกได้ว่าเคสนี้เป็นเคสที่พบเจอและเจ็บกันมานักต่อนักแล้ว การใช้อารมณ์ชั่ววูบตัดสินใจซื้ออะไรบางอย่างโดยไม่ได้คิดให้รอบคอบ อาจส่งผลไปถึงความเสียดาย และเสียใจในภายหลัง
.
ต้องยอมรับว่ามนุษย์เราเป็นสปีชีส์ที่ใช้อารมณ์ร่วมกับทุกการกระทำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้จะรู้ว่าบางสิ่งทำไปแล้วไม่ดี แต่หลายครั้งเราก็ฝืนใจไม่ทัน เพราะฉะนั้นคุณอาจจะต้องมีคำพูดเตือนสติในยามที่รู้สึกกำลังจะมีอารมณ์ร่วมไปกับการตัดสินใจ อย่างเช่น ‘อย่าพูดกับคนอื่นมากเวลาคุณโกรธ เพราะเขาจะได้รับผลกระทบจากคำพูดของคุณ’ หรือ ‘อย่าตัดสินใจเวลาคุณมีเรื่องคิดมากวนเวียนในหัวเรื่องอื่น เพราะคุณจะแยกแยะไม่ถูก’
.
.
ติดตามความเปลี่ยนแปลงของคุณ
.
.
ทุกเรื่องราวการพัฒนาตัวเอง จำเป็นต้องมีการติดตามผลอย่างใกล้ชิด และคอยถามไถ่ถึง Feedback ของคนรอบข้างที่มองมาที่คุณ ว่าเรามีแนวโน้มพัฒนาไปในทิศทางใดบ้างแล้ว
.
ซึ่งแน่นอนว่าความเปลี่ยนแปลงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในชั่วข้ามคืน อาจต้องใช้เวลาสร้างความน่าเชื่อถือไปสักระยะหนึ่ง และต้องพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ เชื่อว่าทุกการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปในทิศทางที่ดีทั้งกับตัวเองและกับคนรอบตัว จะเป็นที่ประจักษ์เมื่อทักษะของคุณได้รับการพัฒนาอย่างเป็นที่น่าพอใจแล้ว
.
และขอให้การตัดสินใจหลังจากนี้ของคุณ เป็นสิ่งที่ความคิดตรงกับใจและเป็น Choice ที่ดีที่สุดของคุณเสมอ
.
.
แปลและเรียบเรียงจาก:
.
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#selfimprovement
3
โฆษณา