24 มิ.ย. 2021 เวลา 01:00 • ครอบครัว & เด็ก
“อ่านนิทานยังไง ให้ลูกฉลาดข้ามคืน”
เชื่อเหลือเกินว่า กิจกรรมก่อนนอนสไตล์ พ่อ แม่ ลูก
หลังล้างหน้า แปรงฟัน ทำการบ้านแล้ว
ก็น่าจะมีเป็น “การอ่านนิทาน” หนุงหนิงกับคุณลูก
แต่ใครจะคิดว่า กิจกรรมที่ดูเหมือนง่าย นี้
จะสร้าง “ความแตกต่าง” ให้กับลูกคุณแบบก้าวกระโดด
เพียงแค่คุณเข้าใจ เคล็ดลับ 5 ข้อ ในการอ่านนิทาน
ข้อแรก หนังสือนิทาน มีรูปเต็มไปหมด (Recognition)
ลองชวนเขาดูรูป ถามเขาว่า นี่ตัวอะไร หมู หมา กา ไก่
ไดโนเสาร์ ทีเร็กซ์ สเตโกซอรัส
เครื่องบินยี่ห้อนั้น ยี่ห้อนี้
ถามเขา ให้เขาตอบ และ “เฉลย”
แค่นี้เอง ง่ายมาก
ข้อสอง หนังสือนิทาน ช่วยฝึกทักษะการนับ (Calculation)
แมงมุมตัวนี้ มีขากี่ขา
เจ้าไดโนเสาร์ มีเขี้ยวกี่อันกัน
ฉลามในฝูงนี้มีกี่ตัว ลองนับดู
ชวนกันนับเลข ระหว่างที่อ่านนิทาน ฝึกสมองลูกน้อยได้ดียิ่งนัก
ข้อสาม หนังสือนิทาน สร้างจากชีวิตจริง (Recalling)
ถามเขา สถานที่แบบในนิทาน ลูกเคยไปมาแล้วใช่มั้ย จำได้รึเปล่า
เจ้านกตัวนี้ในรูป แม่เคยชี้ให้ดูที่สวนหลังบ้านของเรา สีมันเหมือนกันรึเปล่า
บ้านของเจ้าหนูในนิทาน คล้ายๆกับบ้านของเราตรงไหนบ้าง
ชวนลูกคุย โยงเรื่องกับชีวิตจริง เสริมสร้างจินตนาการได้ไม่เบา
ข้อสี่ หนังสือนิทาน มีความรู้สึกของตัวละครเสมอ (Perspective Taking)
เจ้าเสือตัวนี้ ที่มันหยอกเย้ากับเพื่อนในฝูง มันรู้สึกอย่างไรอยู่
เจ้าตูบในรูปที่มันพรากกับเจ้าของ ลูกคิดว่ามันรู้สึกอย่างไร และกำลังคิดอะไรอยู่
คุณแม่ที่เรียกเจ้าหนูไปทานข้าว แล้ว เจ้าหนูเอาแต่เล่น ไม่สนใจ
คุณแม่จะรู้สึกอย่างไรบ้าง และควรทำอย่างไร
ชวนลูกฝึกสมมุติ ถ้าลูกต้องเป็นตัวละครตัวนั้น ลูกจะรู้สึกอย่างไร
เสริมสร้าง ให้เขาสนใจผู้อื่น ช่วยสร้างวุฒิภาวะทางอารมณ์ได้ดียิ่ง
ข้อห้า หนังสือนิทาน ไม่ได้จบแค่ในนิทาน (Scenario Thinking)
ถ้าเจ้าหมาป่าตัวนี้ มันกินหนูน้อยหมวกแดงเข้าไปจริงๆ มันจะเป็นอย่างไร
ถ้าหนูน้อยในเรื่อง ไม่ยอมตั้งใจเรียนตอนเด็ก ตอนโตเขาจะเป็นยังไง
ถ้าท้องฟ้า ไม่ได้เป็นสีฟ้า โลกนี้จะเป็นอย่างไร
ถ้าเด็กทุกคนเชื่อฟังพ่อแม่ บ้านหลังนี้จะเป็นยังไง
จำลองสถานการณ์ ต่อยอดจากนิทาน
เสริมสร้าง จินตนาการ ได้อย่างดียิ่ง
การอ่านนิทาน ไม่ใช่แค่ “อ่าน” ให้ลูกหลับ
แต่ควร “ชวนคุย” ด้วย
ยิ่งคุยกัน ยิ่งโต้ตอบกัน
ลูกยิ่งเรียนรู้ เสริมสร้างพัฒนาการ
วันพรุ่งนี้ ตื่นมา
ลูกเราจะฉลาดขึ้น ชั่วข้ามคืน
[ถ้าเห็นบทความนี้เป็นประโยชน์
ช่วยกด “Share” ให้สัก 1 ทีนะคะ]
---- อย่าลืมกด Follow เพจ กันไว้ด้วยน้าาา -----
#PlutoParents
ข้อแรก หนังสือนิทาน มีรูปเต็มไปหมด (Recognition) ลองชวนเขาดูรูป ถามเขาว่า นี่ตัวอะไร หมู หมา กา ไก่ ไดโนเสาร์ ทีเร็กซ์ สเตโกซอรัส เครื่องบินยี่ห้อนั้น ยี่ห้อนี้ ถามเขา ให้เขาตอบ และ “เฉลย” แค่นี้เอง ง่ายมาก
ข้อสอง หนังสือนิทาน ช่วยฝึกทักษะการนับ (Calculation) แมงมุมตัวนี้ มีขากี่ขา เจ้าไดโนเสาร์ มีเขี้ยวกี่อันกัน ฉลามในฝูงนี้มีกี่ตัว ลองนับดู ชวนกันนับเลข ระหว่างที่อ่านนิทาน ฝึกสมองลูกน้อยได้ดียิ่งนัก
ข้อสาม หนังสือนิทาน สร้างจากชีวิตจริง (Recalling) ถามเขา สถานที่แบบในนิทาน ลูกเคยไปมาแล้วใช่มั้ย จำได้รึเปล่า เจ้านกตัวนี้ในรูป แม่เคยชี้ให้ดูที่สวนหลังบ้านของเรา สีมันเหมือนกันรึเปล่า บ้านของเจ้าหนูในนิทาน คล้ายๆกับบ้านของเราตรงไหนบ้าง ชวนลูกคุย โยงเรื่องกับชีวิตจริง เสริมสร้างจินตนาการได้ไม่เบา
ข้อสี่ หนังสือนิทาน มีความรู้สึกของตัวละครเสมอ (Perspective Taking) เจ้าเสือตัวนี้ ที่มันหยอกเย้ากับเพื่อนในฝูง มันรู้สึกอย่างไรอยู่ เจ้าตูบในรูปที่มันพรากกับเจ้าของ ลูกคิดว่ามันรู้สึกอย่างไร และกำลังคิดอะไรอยู่ คุณแม่ที่เรียกเจ้าหนูไปทานข้าว แล้ว เจ้าหนูเอาแต่เล่น ไม่สนใจ คุณแม่จะรู้สึกอย่างไรบ้าง และควรทำอย่างไร ชวนลูกฝึกสมมุติ ถ้าลูกต้องเป็นตัวละครตัวนั้น ลูกจะรู้สึกอย่างไร เสริมสร้าง ให้เขาสนใจผู้อื่น ช่วยสร้างวุฒิภาวะทางอารมณ์ได้ดียิ่ง
ข้อห้า หนังสือนิทาน ไม่ได้จบแค่ในนิทาน (Scenario Thinking) ถ้าเจ้าหมาป่าตัวนี้ มันกินหนูน้อยหมวกแดงเข้าไปจริงๆ มันจะเป็นอย่างไร ถ้าหนูน้อยในเรื่อง ไม่ยอมตั้งใจเรียนตอนเด็ก ตอนโตเขาจะเป็นยังไง ถ้าท้องฟ้า ไม่ได้เป็นสีฟ้า โลกนี้จะเป็นอย่างไร ถ้าเด็กทุกคนเชื่อฟังพ่อแม่ บ้านหลังนี้จะเป็นยังไง จำลองสถานการณ์ ต่อยอดจากนิทาน เสริมสร้าง จินตนาการ ได้อย่างดียิ่ง
โฆษณา