24 มิ.ย. 2021 เวลา 00:34 • กีฬา
บ้านเกิดเฟอร์กี้ เมืองนอนดัลกลิช
ทำไม “สกอตแลนด์” ไปได้ไม่ไกลในบอลทีมชาติ
#พลอยเล่าเรื่อง #ยูโร #สกอตแลนด์
🙏🏼 ฝากไลค์ ฝากกดติดตามเพจกันด้วยนะคะ😘
เคนนี ดัลกลิช, เดนนิส ลอว์, แกรม ซูเนสส์, กอร์ดอน สตรัตคัน, อลัน แฮนเซน, แอนดี้ โกรัม, แกรี แม็คอลิสเตอร์, ลู มาคาริ, ดันแคน เฟอร์กูสัน, ไบรอัน แม็คแคร์, แมตต์ บัสบี้ และเซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน เป็นเพียงรายชื่อนักฟุตบอลและผู้จัดการทีมเพียงส่วนเดียวที่มีเลือดสกอตติชวนเวียนอยู่ แล้วทำไมสกอตแลนด์ ชาติที่สร้างคนในวงการฟุตบอลมากมายมหาศาลถึงไม่ประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติ
เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ตำนานผู้จัดการทีมของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด บอกถึงช่วงเวลาที่สกอตแลนด์ผ่านเข้ามาเล่นฟุตบอลยูโร 2020 ยุติการรอคอย 23 ปีลงว่า “ผมเห็นไรอัน คริสตี้ ให้สัมภาษณ์ ผมร้องไห้เลยตอนที่เห็นเขาร้องไห้ มันสุดยอดมาก” งานฉลองของสกอตแลนด์จบลงพร้อมกับเสียงนกหวีดยาวในเกมที่แพ้โครเอเชีย
ในฟุตบอลโลกและฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป สกอตแลนด์ไปได้ไกลสุดแค่รอบแบ่งกลุ่ม ครั้งสุดท้ายที่เหล่านักสู้จากไฮท์แลนด์ไปเยือนสมรภูมิเวิล์ดคัพเกิดขึ้นเมื่อปี 1998 ด้านฟุตบอลยูโร สกอตแลนด์ผ่านเข้ารอบครั้งสุดท้ายในปี 1996 ยังจำลูกยิงของพอล แกสคอยน์ กันได้ใช่ไหม และล่าสุดกับฟุตบอลยูโร 2020 ก็ถูกความยอดเยี่ยมของ ลูก้า โมดริด เล่นงาน ตกรอบที่แฮมป์เดน พาร์ค ต่อหน้าต่อตาทาร์ทันอาร์มี
ในยุค 1970-80 สกอตแลนด์เต็มไปด้วยผู้เล่นฝีเท้าดีมากมายอยู่ในทีม นำโดยดัลกริช, ซูเนสส์, จอร์แดน และ เกมมิลล์ เป็นทีมที่เต็มไปด้วยนักเตะระดับโลก ผู้จัดการทีมในตอนนั้นก็ใช่ย่อย ทั้งจ็อค สตีน และอีกหนึ่งปีกับ เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ในยุคที่เหมือนจะเป็น Golden Generation แต่สกอตแลนด์ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จในระดับโลก ผ่านเข้ารอบสุดท้ายฟุตบอลโลก 5 ครั้งรวด นับตั้งแต่ปี 1974 แต่ก็ตกรอบแบ่งกลุ่มทุกครั้ง โดยเฉพาะในปี 1974 ซึ่งไม่แพ้ใครเลยในรอบแบ่งกลุ่ม แต่ก็ยังตกรอบแรกอยู่ดี
ในยุคที่สกอตแลนด์มีผู้เล่นระดับโลก ต้องไม่ลืมเช่นกันว่า ชาติอื่นๆก็มี ฝรั่งเศสมีพลาตินี่, ฮอลแลนด์มี โยฮัน ครัฟฟ์, บราซิล มีโซเครติส มีซิโก้, อาร์เจนติน่า มี ดิเอโก้ มาราโดน่า และเยอรมันมี ฟรานซ์ เบคเคนบาวเออร์ เป็นต้น นั่นอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่ง แต่สกอตแลนด์เหมือนหนังม้วนเดิมที่ฉายซ้ำแล้วซ้ำเล่า ในยามที่พวกเขามีโอกาสผ่านเข้ารอบตัดเชือกทีไร พวกเขาทำพลาดทุกที
ฟุตบอลโลก 1982 เลือดเบรฟฮาร์ทต้องชนะถึงจะผ่านเข้ารอบ แต่ดันไปเสมอกับสหภาพโซเวียต 2-2 ประตู ต่อมาในปี 1986 ก็ซวยจับสลากไปอยู่ใน กรุ๊ป ออฟ เดต เจอทั้งเยอรมันตะวันออก, เดนมาร์ก และอูรุกวัย ส่วน 1990 ความผิดพลาดของผู้รักษาประตูถูกบราซิลลงโทษ 1-0 ประตู เช่นกันกับเกมเมื่อคืนนี้ ขุนพลทาร์ทันได้เปรียบทุกอย่าง ได้เล่นในบ้าน ท่ามกลางกองเชียร์ ยูฟ่าเปิดโอกาสให้ทีมที่ได้ที่ 3 ผ่านเข้ารอบ ก็ดันเจอนักบอลบัลลังดอร์ มาดับฝัน
ก่อนทัวร์นาเม้นท์จะเริ่มต้นขึ้น แค่ได้เข้ามามีส่วนรวมก็ทำให้แฟนบอลสกอตติชดีใจแล้ว ความคาดหวังไม่สูง แค่ไม่แพ้อังกฤษ คู่รักคู่แค้นก็ดีใจ ฉลองกันทั้งประเทศ ใน 3 เกม พวกเขาสร้างสรรค์โอกาสทำประตูมากมาย แต่กองหน้าไม่คมพอ พลาดหน้าปากประตูเยอะมาก ต่อให้ แอนดรูว์ โรเบิร์ตสัน เปิดบอลสวยแค่ไหน ก็หาชัยชนะไม่เจอถ้ายิงประตูไม่ได้ สิ่งที่สกอตแลนด์ต้องการอาจจะเป็น “ฮีโร่” เหมือนที่โครเอเชียมีโมดริช ใครสักคนที่สามารถพลิกเกมให้ทีมได้ บางทีถ้ามีใครคนนั้น เสียงเพลง Yes Sir, I can Boogie เพลงเชียร์ใหม่ประจำยูโรหนนี้คงดังกระหึ่มสะเทือนไปถึงกรุงลอนดอน
และที่สำคัญกว่าสกอตแลนด์ตกรอบคือ เราคิดถึงกองเชียร์ชาวสกอตติช ก็อย่างที่เขาบอกว่า No Scotland No Party
#พลอยเล่าเรื่อง #ยูโร #สกอตแลนด์
🙏🏼 ฝากไลค์ ฝากกดติดตามเพจกันด้วยนะคะ😘
โฆษณา