24 มิ.ย. 2021 เวลา 04:58 • คริปโทเคอร์เรนซี
รู้จัก NFT สินทรัพย์ประเภทใหม่จากเทคโนโลยีบล็อกเชน
1
นอกจากสกุลเงินดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในการบันทึกข้อมูลและรักษาความน่าเชื่อถือของเครือข่ายแล้ว ยังมีสินทรัพย์อีกประเภทหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมในโลกออนไลน์ และเกิดจากเทคโนโลยีบล็อกเชนเช่นเดียวกัน นั่นก็คือ NFT
NFT เรียกได้ว่ากำลังมาแรงสุด ๆ บนโลกอินเทอร์เน็ตเลยทีเดียว โดยมี NFT บางตัวที่ถูกประมูลขายได้หลายสิบล้านบาท ขณะที่ดาราและศิลปินชื่อดังหลายคนก็เริ่มสนใจสร้างสรรค์ผลงานของพวกเขาให้ออกมาในรูปแบบ NFT เช่นกัน
6
ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสินทรัพย์ประเภท NFT พร้อมยกตัวอย่างให้เห็นภาพว่า NFT สามารถทำอะไรได้ และมูลค่าของมันมาจากไหน
NFT คืออะไร?
NFT ย่อมาจาก Non-Fungible Token ที่แปลว่า “สินทรัพย์ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัว” ไม่สามารถลอกเลียนขึ้นมาได้
NFT นับเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลอีกประเภทหนึ่งที่อยู่บนบล็อกเชน คล้ายกับ Bitcoin หรือ Ether (Ethereum) แต่จุดที่แตกต่างกันคือ Bitcoin และ Ether เป็นสินทรัพย์แบบ Fungible ที่ไม่มีคุณสมบัติเฉพาะตัว จึงนิยมใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ คล้ายกับเงินสด ที่แบงค์ร้อย 2 ใบสามารถใช้แทนกันได้ แม้จะมีตำหนิแต่มูลค่าก็ยังคงเท่าเดิม
ในขณะที่ NFT ถูกใช้แทนสิ่งใดก็ได้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัว เช่น รูปภาพ วีดีโอ ดนตรี อสังหาริมทรัพย์ ไปจนถึงของสะสมต่าง ๆ เป็นต้น ดังนั้น NFT แต่ละเหรียญจึงแตกต่างกัน ไม่สามารถนำมาทดแทนกันได้
2
NFT เกิดขึ้นมาได้อย่างไร?
ปัจจุบัน NFT ส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นบนบล็อกเชน Ethereum รวมถึงบล็อกเชนรุ่นใหม่ ๆ อย่าง Tezos หรือ Flow ก็สามารถสร้างสินทรัพย์ประเภทนี้ได้เช่นกัน แต่ด้วยความนิยมของ Ethereum ทำให้ NFT ถูกสร้างขึ้นบน Ethereum มากที่สุด
1
หลักการทำงานของ NFT นั้นเรียบง่ายมาก โดยใน NFT แต่ละตัวจะมีโค้ดพิเศษที่แสดงให้เห็นว่า NFT นี้ใช้แทนสิ่งใด ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ วีดีโอ ดนตรี หรือ ที่ดิน เป็นต้น โดยโค้ดพิเศษของ NFT บนเครือข่าย Ethereum จะเรียกว่ามาตรฐาน ERC-721 ขณะที่สกุลเงินดิจิทัลบนเครือข่าย Ethereum จะใช้มาตรฐาน ERC-20 ทำให้หลักการทำงานของสินทรัพย์ทั้ง 2 ประเภทแตกต่างกัน
2
หากมีความเข้าใจในการทำงานของบล็อกเชน และมีกระเป๋า (Wallet) ที่รองรับ ไม่ว่าใครก็สามารถเปลี่ยนผลงานหรือสินทรัพย์ของตนเองให้เป็น NFT และนำไปซื้อขายบนแพลตฟอร์มที่รองรับ NFT เช่น Opensea หรือ SuperRare เป็นต้น โดยการซื้อขายมักจะใช้สกุลเงินดิจิทัล เช่น Ether เป็นตัวกลางในการซื้อขาย ซึ่งบางครั้งก็มีการประมูล NFT ที่หายากด้วยเช่นกัน
2
ซื้อ NFT แล้วได้อะไร?
ตลาด NFT กำลังบูมถึงขนาดที่แม้แต่ภาพมีมอย่าง Nyan Cat ก็ถูกเปลี่ยนเป็น NFT และประมูลออกไปมูลค่าถึง 509,000 ดอลลาร์ หรือเกือบ 16 ล้านบาทไทย และยังมีผลงาน NFT อื่น ๆ อีกมากมายที่ได้ขายออกไปเป็นหลักล้าน
ผลงานที่ขายได้ราคาแพงที่สุด ณ ปัจจุบัน คือผลงานที่ชื่อ Everydays — The First 5000 Days โดยขายไปด้วยมูลค่าสูงถึง 69 ล้านดอลลาร์ หรือสูงกว่า 2 พันล้านบาทไทย
การซื้อ NFT เปรียบเสมือนการซื้อ “สิทธิ์ความเป็นเจ้าของ” ในสิ่งที่ถูกแทนด้วย NFT เช่น หากคุณซื้อ NFT ภาพถ่ายมา คุณก็จะได้สิทธิ์ความเป็นเจ้าของภาพถ่ายนั้น ๆ ถึงแม้ว่าคนอื่นจะยังสามารถดูภาพหรือเซฟภาพนั้นมาเก็บไว้ในเครื่องของพวกเขาได้ก็ตาม
1
ทีนี้ก็จะเกิดคำถามว่า “ถ้าซื้อมาเป็นเจ้าของแล้ว แต่คนอื่นยังสามารถเห็นภาพนั้นได้ แล้วจะซื้อมาทำไม?
1
คำตอบคือ เป็นเรื่องของ “มูลค่าทางจิตใจของเจ้าของ” เพราะว่าผู้ที่ได้เป็นเจ้าของ NFT นั้น ๆ จะได้รับการบันทึกชื่อลงในเครือข่าย และทุกคนก็จะสามารถเห็นชื่อของเขาได้ หรือบางครั้งก็อาจเป็นเรื่องของการเก็งกำไร หรือซื้อเพื่อนำไปแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าหรือบริการอื่น ๆ ก็ได้เช่นกัน
1
หากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพง่าย ๆ คือ การซื้อ NFT เปรียบเสมือนกับการซื้อขายที่ดิน เมื่อซื้อขายที่ดินมาแล้ว เราก็จะได้เอกสารโฉนดแสดงความเป็นเจ้าของที่ดิน โดยเอกสารโฉนดนั้นแท้จริงแล้วก็เป็นเพียงแค่กระดาษหนึ่งใบ แต่สามารถเชื่อถือได้เพราะได้รับการรับรองจากรัฐบาล ขณะที่ NFT มีความน่าเชื่อถือเพราะอยู่บนเครือข่ายบล็อกเชนที่ขึ้นชื่อเรื่องความโปร่งใสและปลอดภัยที่สุดนั่นเอง
นอกจากนี้ ด้วยความที่บล็อกเชนเป็นเครือข่ายแบบกระจายศูนย์ ตราบใดที่ยังคงมีอินเทอร์เน็ต ข้อมูลบนบล็อกเชนจะไม่หายไปไหนและไม่สามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นหลาย ๆ คนจึงต้องการบันทึกชื่อของตนเองลงไปในเครือข่าย เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของผลงาน NFT ที่หายากนั่นเอง
สรุป
NFT คือสินทรัพย์ดิจิทัลที่ “มีลักษณะเฉพาะตัว” จึงมักถูกนำไปใช้แทนรูปภาพ วีดีโอ ดนตรี หรือ อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น โดยการซื้อขายสินทรัพย์ประเภท NFT จะเป็นการซื้อขาย “สิทธิ์ความเป็นเจ้าของ” ใน NFT ตัวนั้น ๆ
ถึงแม้ NFT จะเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่สามารถจับต้องได้เหมือนกับสกุลเงินดิจิทัลอย่าง Bitcoin หรือ Ether แต่มูลค่าของมันก็เกิดจากความต้องการและการยอมรับของผู้คนในเครือข่าย โดย NFT บางตัวก็อาจจะไม่มีประโยชน์อะไรนอกจากเป็นมูลค่าทางจิตใจของผู้เป็นเจ้าของ ขณะที่บางตัวก็อาจสามารถนำไปแลกเปลี่ยนกับบริการหรือสินทรัพย์อย่างอื่นได้นั่นเอง
2
อ้างอิง: The Verge, KTNV, Opensea
เทรดเหรียญคริปโตที่คุณชื่นชอบกับ Bitkub กระดานซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลชั้นนำโดยคนไทย ได้รับใบอนุญาตอย่างเป็นทางการจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
*การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ควรศึกษาและทำความเข้าใจก่อนลงทุน
โฆษณา