Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
☘️ เรื่องเล่าของกระต่าย 🐰
•
ติดตาม
25 มิ.ย. 2021 เวลา 13:00 • สุขภาพ
รู้มั้ย ❓❓ เลื่อนนาฬิกาปลุกตอนเช้าอันตรายต่อสุขภาพนะ ⚠️🙎
1
🌄 สวัสดีค่ะทู๊กคนน 🙏🙏
🙋 หลังจากหายไปสองสามวันเพราะติดธุระ... วันนี้มีโอกาสว่าง... เลยอยากเขียนบทความมาให้ทุกคนได้อ่านกัน 📖
👇 ซึ่งบทความเรื่องนี้กระต่ายบังเอิญไปอ่านเจอมา เป็นเรื่องเกี่ยวกับ....
⚠️ snooze หรือ การเลื่อนนาฬิกาปลุกตอนเช้านั่นเอง ❗⏲️
Photo By เรื่องเล่าของกระต่าย From Canva
📣📣 ไหนใครชอบเลื่อนนาฬิกาปลุกบ้าง ยกมือหน่อย 🙋♂️🙋♀️
1
🙎ซึ่งหลังจากอ่านบทความเกี่ยวกับผลเสียของการเลื่อนนาฬิกาปลุกจบ มันก็ทำให้กระต่ายฉุกคิดได้ว่า....เออวะ!! ใช่เลย ❗❗
🤔 แล้วคือสิ่งที่ทำให้กระต่ายสนใจบทความเรื่องนี้เพราะ... กระต่ายเป็นบ่อยมากค่ะเรื่องเลื่อนนาฬิกาปลุกเนี่ย 🤣😂 ยกตัวอย่างง่ายๆที่เป็นทุกวันเลยคือ....
ตั้งปลุก : 5.30 น. /5.40 น./6.00น./6.10 น.
1
คือทุกคน...บางทีกว่ากระต่ายจะตื่นจริงๆ ลากยาวไปถึง 6 โมง 20 ก็มี กระต่ายก็ งง มาก บางทีเราตื่นแล้วนะ แต่มันมีอารมณ์แบบ อีกนิดนะ.. 😂 ซัก 5 นาทีก็เอาอ่ะ
แต่รู้เลยว่าพอตื่นแบบนั้นมันไม่ค่อยสดชื่น 😩 แล้ววันนี้มีโอกาสได้อ่านบทความเรื่องนี้พอดี...เลยอยากเอามาแบ่งปันกับทุกคนกัน
ตังอย่างการปลุกที่ไม่ดีของกระต่ายเอง
ซึ่งเมื่ออ่านหลายๆบทความเกี่ยวกับการเลื่อนนาฬิกาปลุกแล้ว กระต่ายเลยไปหาข้อมูลเพิ่มเติม แล้วลองสรุปออกมาได้ประมาณนี้ค่ะ....
👨⚕️ ดร.แดเนียล บารอน นักประสาทวิทยาจากโรงพยาบาลพรีเซ้นเทเรียน ที่นิวยอก
ได้อธิบายว่า... การเลื่อนนาฬิกาปลุกไปเรื่อยๆ แม้จะทำให้เราได้นอนมากขึ้น แต่มันก็มีผลเสียคือทำให้สมองของเรา "ตื่นตัวช้า" นั่นเอง
1
2
โดยดร.แดเนียล เปิดเผยว่า... เวลาที่เราตื่นนอนแล้วกดเลื่อนนาฬิกาปลุกเพื่อนอนต่อนั้น
มันจะทำให้สารตัวนึงที่เรียกว่า "สารเซโรโทนิน" ในสมอง สั่งให้เราอยากกลับไปนอนต่อ และหลับง่ายกว่าเดิมด้วย
แต่ปัญหาคือ....❗❓
เมื่อเราตื่นช้ากว่าเดิม เพราะการเลื่อนนาฬิกาปลุก... มันจะทำให้สมองของเราเกิดปัญหา และมีผลกระทบต่อสุขภาพดังนี้ 👇
🔻 สมองเกิดความสับสน ตื่นตัวช้า
🔻 สมรรถภาพทางความทรงจำลดลง
🔻 เกิดอารมณ์แปรปรวนขึ้นระหว่างวัน
🔻 ร่างกายเหนื่อย ไม่สดชื่น ไม่กระปรี้กระเปร่า
🔻 สมาธิสั้นได้
3
2
👨⚕️ ซึ่งเหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะปกติแล้วร่างกายของเราจะมีเวลาการทำงานเป็นของมันเอง... เวลาเราจะตื่นนอนในแต่ละครั้งร่างกายก็จะมีกระบวนการเตรียมพร้อมก่อนตื่น ซึ่งจะใช้เวลาราวๆ 1 ชั่วโมง
มันคือกระบวนการที่ทำให้ร่างกายค่อยๆปรับฮอร์โมนให้สูงขึ้นและหลั่งฮอร์โมน "คอร์ติซอล" ออกมา ถ้าให้อธิบายก็จะค่อนข้างยาว แต่ถ้าสรุปง่ายๆคือ.....
เป็นฮอร์โมนตัวดังกล่าวนี้จะมีหน้าที่หลั่งออกมา เพื่อให้ร่างกายเตรียมพร้อมกับกิจกรรมต่างๆของวันนั่นเอง
1
ซึ่งการที่เราตื่นมาแล้วกลับไปนอนต่อ มันก็เป็นเหมือนให้เรากลับสู่กระบวนการนอนอีกครั้ง
ดังนั้นการหลับๆตื่นๆจะส่งผลให้การเตรียมร่างกายในการตื่นแบบปกติไม่เกิดขึ้น จึงเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาตามที่ได้กล่าวมานั่นเอง
👨⚕️ แนวทางการแก้ไข
สำหรับปัญหาเรื่องนี้ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า "ควรตั้งนาฬิกาปลุกในเวลาเดียวและเป็นเวลาสุดท้ายที่ร่างกายเราพร้อมจริงๆ"
2
เพื่อป้องกันนิสัย ที่จะบั่นทอนสุขภาพเราในอนาคตนั่นเอง
นอกจากนี้การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เข้านอนเป็นเวลา ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ส่งผลดีต่อสุขภาพของเราเช่นกัน
📣📣 ปัญหาเล็กน้อยก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้เหมือนกัน มาร่วมใส่ใจปัญหาเหล่านี้และแก้ไปด้วยกัน เพื่อสุขภาพที่ดีค่ะ 😁
🙋♀️ สุดท้ายกระต่ายก็มีคำคมดีๆมาฝากอีกเช่นเคย... 😘
2
Photo By เรื่องเล่าของกระต่าย From Canva
ขอบคุณข้อมูลจาก :
www.kidteung.com
/
www.vichaiyut.com
6 บันทึก
55
96
25
6
55
96
25
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย