26 มิ.ย. 2021 เวลา 11:10 • ไลฟ์สไตล์
มารู้จัก ประเภทของเบียร์ "ALE vs LAGER" กันเถอะ
หลายครั้งที่เรา ไปนั่งทานอาหาร และ ดื่มเบียร์ดี ๆ
แต่ในเมนู ก็ดันมีชนิดของเบียร์ให้เลือกเยอะมาก
รู้นะว่าตัวเองชอบแบบไหน แต่ไม่รู้จะสั่งแบบไหนดี
ถ้าอย่างนั้นแล้ว ให้พวกเรา InfoStory มาช่วยเริ่มพาเพื่อน ๆ ไปรู้จักกับ “เบียร์” ผ่านซีรีส์
“โลกของเบียร์ ฉบับมือใหม่” ซึ่งในตอนนี้ จะเป็นตอนแรก
โดย เริ่มต้นตอนแรกนี้ พวกเราจะขอนำความรู้เกี่ยวกับประเภทของเบียร์มาให้เพื่อน ๆ รับชมกันก่อน
แต่ไม่ว่าจะเป็น Ale หรือ Lager
ต่างก็มีต้นกำเนิดมาคล้าย ๆ กัน กล่าวคือ ก็ต้องอ้างไปจนถึง ต้นกำเนิดของการดื่มเบียร์ หรือ การดื่มเครื่องดื่มแปรรูปจากพืชพันธุ์ผลไม้ต่างๆ
รู้ไหมว่า เบียร์มีต้นกำเนิดมาอย่างไร ?
เรื่องราวของเบียร์ อาจต้องย้อนไปยังจุดกำเนิด ที่ในสมัยโบราณกาลนั้น ยังไม่ได้เรียกว่าเบียร์เลย
นั่น คือ สมัย 22,000 ปีก่อนคริสตกาล ในยุคน้ำแข็งเลยละ (Ice Age)
ซึ่งสมัยนั้น เครื่องดื่มมีรสชาติยอดนิยม ก็คือ เครื่องดื่มที่ทำมาจากดอกหญ้า หรือ องุ่น
เอาง่าย ๆ ก็คือ พืชพันธุ์ผลไม้ต่างๆ จับมาหมักรวมกัน จนเกิดเป็นเครื่องดื่มมีสี ที่มีรสชาติ และ ทำให้ผ่อนคลาย นั่นเอง
ต่อมา เครื่องดื่มชนิดนี้ เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น ในช่วง 5,000 ปีก่อนคริสตกาล กับ ชนเผ่าไอยคุปต์ หรือ อียิปต์โบราณ
จนในยุคต่อ ๆ มา ก็ยังคงเป็นที่นิยมในอาณาจักรบาบิโลน ในสมัยอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
แต่ถ้าถามว่า มนุษย์เริ่มเรียกเครื่องดื่มนี้ว่า เบียร์ ในตอนไหน
ก็คงจะต้องเป็นในช่วง ศตวรรษที่ 7 หรือ ตรงกับช่วงยุโรปสมัยกลาง (Middle Ages) นั่นเองจ้า
โดยในสมัยนั้น เบียร์ เป็นที่นิยมขนาดที่ ได้ให้กำเนิดอุตสาหกรรมการปลูกพืชผลที่เป็นวัตถุดิบอย่างเช่น มอลต์ ฮ็อปส์ ข้าวบาร์เล่ย์ รวมถึงโรงหมักเบียร์ กันเลยทีเดียว
ที่น่าสนใจ กลุ่มนักบวชชาวยุโรปในสมัยกลางนั้น ก็ยังชอบดื่มเบียร์กันมาก ๆ ด้วย เรียกว่าดื่มแทนน้ำกันเลยก็ว่าได้
ซึ่ง ถ้าพูดถึงเรื่อง นักบวช กับ เบียร์ เนี่ย
เพื่อน ๆ บางคนก็อาจจะคุ้นหน้าคุ้นตากับ เบียร์สัญชาติเบลเยี่ยม ยี่ห้อ “Trappist Westvleteren”
หรือ “Franziskaner weissbier” ที่มีโลโกเป็นนักบวชชาวเยอรมัน ที่เราชอบเรียกกันจนติดปากว่า “เบียร์หลวงพ่อ”
Franziskaner weissbier
ซึ่งความเป็นมาของทั้ง 2 แบรนด์ ก็มาจากสำนักสงฆ์จริงๆ
โดยเหตุผลหลัก ๆ ที่สำนักสงฆ์เหล่านี้ ต้องผลิตเบียร์ก็เพราะ พวกเขาต้องหารายได้นำมาบำรุงโบสถ์ นั่นเอง (ไม่ใช่ผลิตเพื่อการพาณิชย์นะ)
ส่วนประเทศที่คลั่งไคล้เบียร์มาก ๆ อย่าง “เยอรมัน”
ก็มาจากความเชื่อที่คนเยอรมันโบราณ เค้าเชื่อกันว่า
เบียร์นั้นบริสุทธิ์กว่าน้ำเปล่าธรรมดา
และ เบียร์คือ สัญลักษณ์ของการเผยแพร่ทางศาสนา อีกด้วย
นักบวชชื่นชอบการดื่มเบียร์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกเลยละ
จนมาถึงเรื่องราวการแพร่ขยายของเบียร์ ไปสู่ชาวอเมริกัน (อินเดียนแดง)
โดยสูตรของชาวอินเดียนแดงนั้น เขาจะใช้แป้งข้าวโพดในการหมักทำเบียร์
มาถึงต้นกำเนิดการผลิตเบียร์ในประเทศไทยกันบ้าง
การผลิตเบียร์ในไทย เริ่มต้นในยุคสมัยรัชกาลที่ 7
โดย พระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) ได้ยื่นเรื่องขอจัดตั้งบริษัทผลิตเบียร์ขึ้นในปี พ.ศ. 2473
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2477 ก็ได้ มีการผลิตและจัดจำหน่าย ภายใต้ชื่อบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด
ซึ่งปัจจุบันก็คือ เบียร์สิงห์ ที่เราคุ้นเคยกันนี่เอง
ก็เป็นเรื่องราวแบบพอสังเขป ให้เพื่อนๆ ได้อ่านเพลินๆกัน
เพราะถ้าเราเอาจริงๆ ลำพังแค่ประวัติของเบียร์ และ การเผยแพร่เนี่ย
สามารถเขียนออกมาได้เป็นหนังสือเล็ก ๆ เล่มหนึ่งเลยละ
ไว้บทความต่อ ๆ ไป เดี๋ยวพวกเราจะหยิบประวัติเรื่องราวต่าง ๆ อ่านสบายตา มาถ่ายทอดกันต่อนะ 🙂
แหล่งอ้างอิง
-หนังสือ “Tasting Beer” โดย Randy Mosher
โฆษณา