28 มิ.ย. 2021 เวลา 13:00 • ธุรกิจ
พิซซ่า..อาหารที่ทำจากแป้งราดซอส โปะหน้าด้วยท้อปปิ้งหลากหลายใครๆก็รู้จัก วันนี้พาไปชิม...ไม่ใช่ไปรู้จักสตาร์ทอัพที่ทำพิซซ่าด้วยหุ่นยนต์ ที่ระดมทุนจาก Softbank เกือบได้เป็นยูนิคอร์น แต่หกล้มต้องปรับตัวชุดใหญ่จะรอดไหมไปดูกัน
จากเจ้าพ่อบริษัทเกมส์ สู่เซฟพิซซ่า
บริษัทพิซซ่าพระเอกของเราวันนี้ก็คือ Zume Pizza ที่ก่อตั้งโดยคุณอเล็ก (Alex Garden) และ คุณจูเลีย (Julia Collins) ในปี 2015 โดยก่อนที่อเล็กจะมาตั้ง Zume (ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Zume Pizza อีกที) เขาจัดว่าเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาจากสายเกมส์
โดยบริษัทแรกที่อเล็กก่อตั้งก็คือ Relic Entertainment ในแคนาดาซึ่งเป็นผู้ผลิตเกมส์แนววางแผนต่างๆ อาทิเช่น Homeworld, Company of Heroes ซึ่งต่อมาก็ถูกซื้อกิจการและท้ายที่สุดก็ถูกผนึกรวมเข้ากับบริษัทเกมส์ชั้นนำอย่าง Sega
สำหรับอเล็กเขาก้ได้สะสมประสบการต่อยอดความสามารถในสายเกมส์จนถึงขั้นถูกดึงตัวไปเป็นประธานของ Zynga Inc ซึ่งเป็นผู้ผลิตเกมส์บนโซเซี่ยลที่มีเกมส์ดังๆอย่าง FarmVille
รถผลิตพิซซ่าที่สร้างมูลค่า 1000 ล้านเหรียญ
อเล็กและหุ้นส่วนของเขาได้พัฒนาคอนเซ็ปต์ของรถอาหารแบบอเมริกัน (food truck) เสียใหม่ให้ดูตื่นเต้น และเต็มไปด้วยเทคโนโลยี พวกเขาไม่เพียงแต่เปลี่ยนพ่อครัวให้กลายเป็นหุ่นยนต์ และยังโฆษณาว่าระบบปฏิบัติการของพวกเขานั้นยังใช่ข้อมูลจำนวนมาเพื่อที่คาดการณ์ถึงทำเลและชนิดของพิซซ่าที่จะถูกสั่ง เพื่อที่จะสามารถให้บริการลูกค้าให้ได้รับอาหารที่สดใหม่และเร็วที่สุด
โดยที่บริษัทยังได้จดสิทธิบัตรเกี่ยวกับรถและระบบที่ปรุงอาหารให้สุกเมื่อถึงที่หมาย เรียกว่ามีการปรับลด เพิ่มเวลาทำอาหารตาามสภาพการจราจรและสามารถอัพเดตลูกค้าแบบเรียลไทม์ ซึ่งถ้าใครสนใจว่ารถพิซซ่าของ Zume จริงจังแค่ไหนลองตามไปอ่านสิทธิบัตรของเขาได้ที่ (Systems and methods of preparing food products, US9292889B2)
การทำงานของรถได้ถูกออกแบบไว้สามโหมด ในจังหวะที่มีออเดอร์ไม่มาก รถจะทำงานด้วย "delivery mode" คือรถจะเคลื่อนที่ไปด้วยและก็ทำอาหารไปด้วย แต่ถ้ามีออเดอร์เข้ามามากๆ รถจะทำงานในแบบ "deployment mode" ซึ่งจะจอดในจุดที่สามารถกระจายสินค้าได้ง่าย โดยจะมีรถและสกู้ตเอตร์มารับพิซซ่าไปส่งอีกที และสุดท้ายคือทำงานแบบ "food-truck mode" ซึ่งจะจอดในจุดที่คนพลุกพล่าน ในช่วงวันเสาร์อาทิตย์เพื่อเปิดขายพิซซ่า
Zume Pizza กับทีมงาน delivery ที่หลากหลาย
จะว่าไป Zume Pizza ก็เริ่มต้นได้ดีที่เดียวมีนักลงทุนหลายรายที่ให้ความสนใจระบบของพวกเขา ซึ่งหวังว่ามันจะสามารถสร้างความแตกต่างให้แก่อาหารทั่วไปอย่างพิซซ่าได้ เพราะสิ่งที่อเล็กหวังไว้ว่าจะต่อยอดก็คือเป็นบริษัทที่สร้างรถที่ปรุงอาหารด้วยหุ่นยนต์ขณะเคลื่อนที่ เเละปรุงเสร็จใหม่ๆก่อนถึงลูกค้า (นี้แอบคิดว่าถ้าสำเร็จเขาเบื่อทำพิซซ่าลองเอารถเขามาทำส้มตำขายอาจจะสนุกดี)
หนึ่งในนักลงทุนรายใหญ่ที่มองเห็นโอกาส (ณ ตอนนั้น) ก็เป็นระดับผู้นำวงการลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพอย่าง มาซาโยซิ ซัน แห่ง Vision Fund ที่ร่วมลงขันให้กับอเล็กถึง 375 ล้านเหรียญ (หรือเกือบๆ 12,300 ล้านบาทเลยทีเดียว) ซึ่งทำให้มูลค่าของบริษัทถูกประเมินว่ามากกว่า 1,000 ล้านเหรียญ
หุ่นยนต์ที่ทำหน้าที่พ่อครัว
เมื่อว่าที่ยูนิคอร์นถึงคราวสะดุด!!
แน่นอนว่าถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด Zume Pizza คงเป็นมาตราฐานใหม่ของวงการอาหารที่ทำไปวิ่งไปอยู่บนท้องถนนในอเมริกา แต่ล่าสุดพวกเขาต้องประกาศเลิกจ้างพนักงานกว่า 360 คนเพื่อลดการขาดทุน เพราะในช่วงที่พลาดมา Zume ต้องใช้เงินพยุง (หรือเผาทิ้ง) กว่า 10 เหรียญต่อเดือน
•••
ทำไม Zume Pizza ถึงพลาด??
ผู้เชี่ยวชาญในการลงทุนจาก Hax Venture ซึ่งลงทุนในบริษัทหุ่นยนต์ผลิตอาหาร แต่ไม่ใช่ Zume ให้มุมมองไว้ว่า
1) Zume ไม่ได้พยายามที่จะใช้ประสิทธิภาพของหุ่นยนต์ที่ถูกต้อง พวกเขาเลือกที่จะใช้แขนกลติดอุปกรณ์ทำอาหารให้ทำหน้าที่เสมือนคน แทนที่จะออกแบบให้หุ่นยนต์ทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ รวดเร็ว แม่นยำและสูญเสียวัตถุดิบที่น้อยที่สุด เพื่อควบคุมต้นทุนของการผลิต
2) การวางแผนให้หุ่นทำหน้าที่คล้ายคน ทำให้ต้องเลือกใช้หุ่นยนต์ที่มีความแม่นยำสูงซึ่งแต่ละระบบก็มีมูลค่าเป็น 100,000 เหรียญสหรัฐ (the 6 Degree-of-Freedom robot) และนอกจากนี้ยังมีขนาดที่ใหญ่มาก ซึ่งร้านพิซซ่าเล็กคงไม่สามารถซื้อระบบที่ Zume พัฒนาไปใช้ได้ นั้นยิ่งทำให้ความคาดหวังในการขยายตลาดตีบตันไปอีก
2
3) คุณค่าที่ Zume พยายามจะมอบให้ลูกค้าอย่างอาหารปรุงสดใหม่ ก็ไม่ได้เป็นจุดที่ลูกค้าให้มูลค่าอย่างที่คาดไว้ เนื่องจากลูกค้าต้องการความสะดวก รวดเร็วและคุณภาพของอาหารที่คงที่ไม่ว่าจะซื้อจากที่ร้านสาขาไหน ไม่จำเป็นต้องปรุ่งมาสดๆระหว่างทางก็ได้
ซึ่งทำให้เห็นว่าการที่มีเทคโนโลยีขั้นเทพก็ไม่ใช่ว่าเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความได้เปรียบหรือดึงดูดลูกค้าเสมอไป โดยเฉพาะธุรกิจอาหารซึ่งรสชาติ ความสะอาดและความสม่ำเสมอขององค์ประกอบทั้งสองก็เป็นสิ่งที่สำคัญ
Zume ที่ยังไม่หมดลมหายใจ กลับการเข้าสู่ตลาดบรรจุภัณฑ์
ถึงแม้ว่ารถพิซซ่าของ Zume ไปไม่ถึงฝั่งฝันในขณะนี้ แต่พวกเขาก็ยังไม่ได้ยอมแพ้ เขวี้ยงผ้าสักทีเดียว สื่งที่พวกเขาได้เรียนรู้ระหว่างที่ทำรถพิซซ่านั้นก็คือเรื่องบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเจ้ากล่องใส่อาหารนี้แหละที่ Zume หวังว่าจะมาช่วยฉุดพวกเขาขี้นมาจากเหวลึก
โดย Zume ได้นำโอกาสที่เรียนรู้จากการทำพิซซ่าโดยไปแตกขยายเป็นความร่วมมือกับทาง Pizza Hut เพื่อพัฒนากล่องใส่พิซซ่าร่วมกัน ซึ่งก็ได้จุดประกายให้ทาง Zume ลองขยายโอกาส โดยล่าสุดก็ประกาศว่าบริษัทได้โยกเอาหุ่นยนต์ที่เคยใช้ในรถทำพิซซ่ามาผลิตกล่องที่ทำจากวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (เยื่อที่ได้จากกระดาษรีไซเคิล) ซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของตลาดบรรจุภัณฑ์ทั้งหมด
กล่องพิซซ่าของ zume ที่ร่วมมือกับ Pizza Hut
แม้ว่าตอนนี้ยังไม่รู้ว่าบทสรุปของ Zume จะเป็นอย่างไร แต่สิ่งที่สัมผัสได้แม้จะผิดพลาด แต่พวกเขายังไม่ยอมแพ้ เอาสิ่งที่เรียนรู้มาต่อยอด เพื่อหวังที่จะกลับมาอีกครั้ง
Ref: Lessons On Automation From Our Investment In XRobotics, And Notes On Why Zume Failed, https://hax.co/
Ref: SoftBank-backed Zume is laying off half its staff and shuttering its pizza delivery business, https://www.cnbc.com/
Ref: Go read this story about the failed pizzas-made-by-robots-and-cooked-during-delivery startup, https://www.theverge.com/
Ref: Zume reportedly snags $375 million from SoftBank for its robotic food operations, https://techcrunch.com/
Ref: Zume’s pizza robots are now turning waste into compostable packaging, https://www.cnbc.com/
โฆษณา