1 ก.ค. 2021 เวลา 00:30 • ดนตรี เพลง
การเน้นจังหวะ
การเน้นจังหวะ ​(Accented​ beat)​ มี​ 2 ประเภท​ ได้แก่
1. การเน้นจังหวะ​ตามชีพจร​จังหวะ​ เป็นการเน้นจังหวะตามธรรมชาติ​ โดยมีจังหวะ​ที่​ 1 หรือชีพจร​จังหวะ​ที่​ 1 เป็นจังหวะสำคัญที่สุดและถูกเน้นมากที่สุด​และจังหวะหรือชีพจร​จังหวะ​สุดท้ายของห้องจะถูกเน้นน้อยที่สุด จังหวะที่ถูกเน้นมากเรียกว่า​ จังหวะหนัก​ (Strong beat) ส่วนจังหวะที่ไม่ค่อยเน้นจะเรียกว่า​ จังหวะ​เบา​ (Weak beat)​ หลักการใช้กับทั้งอัตรา​จังหวะ​ธรรมดา​และอัตรา​จังหวะ​ผสม
-​ อัตรา​จังหวะ​สอง​ ทั้งอัตราจังหวะ​ธรรมดา​และอัตรา​จังหวะ​ผสม​มีชีพจร​จังหวะ​เท่ากับ​ 2​ เหมือนกัน​ การเน้นจังหวะ​ย่อมจะต้องเน้นเหมือนกัน​คือ​ ชีพจร​จังหวะ​ที่​ 1 เป็นจังหวะ​หนัก​และชีพจร​จังหวะ​ที่​ 2 เป็น​จังหวะ​เบา
-​ อัตรา​จังหวะ​สาม​ ทั้งอัตรา​จังหวะ​ธรรมดา​และอัตรา​จังหวะ​ผสม​มีชีพจร​จังหวะ​เท่ากับ​ 3 เหมือนกัน​ การเน้นจังหวะ​ย่อมจะต้อง​เน้นเหมือนกัน​คือ​ ชีพจร​จังหวะ​ที่​ 1 เป็น​จังหวะ​หนัก​ ชีพจร​จังหวะ​ที่​ 2 และที่​ 3 เป็นจังหวะ​เบา​ โดยชีพจร​จังหวะ​ที่​ 3 เป็นจังหวะที่เบามากกว่า​ชีพจร​จังหวะ​ที่​ 2
-​ อัตราจังหวะ​สี่​ ทั้งอัตรา​จังหวะ​ธรรมดา​และอัตรา​จังหวะ​ผสม​มีชีพจร​จังหวะ​เท่ากับ​ 4 เหมือนกัน​ การเน้นจังหวะ​ย่อมจะต้อง​เน้นเหมือนกัน​คือ​ ชีพจร​จังหวะ​ที่​ 1 เป็น​จังหวะ​หนัก​ ชีพจร​จังหวะ​ที่​ 2, 3, 4 เป็นจังหวะ​เบา​ แต่ในอัตราจังหวะ​สี่นี้​ชีพจร​จังหวะ​ที่​ 3 มีความสำคัญมาก​กว่า​ชีพจร​จังหวะ​ที่​ 2 และชีพจร​จังหวะ​ที่​ 2 ก็มีความสำคัญมาก​กว่า​ชีพจร​จังหวะ​ที่​ 4
2. การเน้นจังหวะ​เฉพาะที่​ เป็น​การเน้นจังหวะ​ที่เกิดขึ้น​เฉพาะ​เจาะ​จง​ที่ตัวโน้ตใดตัวโน้ต​หนึ่ง​หรือคอร์ดใดคอร์ดหนึ่ง​ มี​ 2 ลักษณะ​ ได้แก่
-​ การเน้นจังหวะ​โดยใช้เครื่องหมาย​เน้นจังหวะ​ เช่น​ ^ หรือ​ > หรือ​ _ วางที่ตำแหน่ง​ใต้หัวโน้ตในกรณีที่​ก้านโน้ต​ (Stem)​ ชี้ขึ้น​หรือวางเหนือหัวโน้ต​ในกรณีที่​ก้าน​โน้ต​ชี้ลง
-​ การเน้น​จังหวะ​โดยใช้อักษร​ย่อ เช่น​ sf, sfz (Sforzando), fz (Forzando) ซึ่งมีความหมาย​ว่า​ให้เน้นจังหวะ​ จะมีตำแหน่งอยู่ใต้ตัวโน้ตเสมอ
สอบถาม​เพิ่มเติม​เลยนะคะ​ ยินดี​ตอบทุกคำถามที่เกี่ยวกับ​ทฤษฎี​ดนตรี​ค่ะ
โฆษณา