29 มิ.ย. 2021 เวลา 03:24 • ไลฟ์สไตล์
ลองใช้วิธีชิมกาแฟ กับการบริโภคข้อมูล
พวกเราหลายคนคงเป็นคอกาแฟ เพียงแต่อาจจะเป็นระดับทั่วๆ ไป เช่น ดื่มกาแฟสำหรับรูปจากร้านสะดวกซึ้อ หรือถัดมาอีกระดับคือซื้อกาแฟจากร้านกาแฟแบรนด์ต่างๆ ดื่มเป็นประจำ โดยในขั้นนี้ในฐานะผู้ดื่มก็จะต้องรู้จักเมนูขั้นพื้นฐาน เช่น เอสเปรสโซ่ช๊อต ลาเต้ คาปูชิโน่ มอคค่า ฯลฯ
คนชอบเข้มแรงก็จะเน้นเอสเปรสโซ่ช๊อต คนชอบความมันละมุนก็อาจจะสั่งลาเต้ คนชอบเดินทางสายกลางก็อาจจะขอคาปูชิโน่ คนชอบกลิ่นช๊อคโกแลตก็น่าจะสั่งมอคค่า นอกจากนี้ก็ยังมีสิ่งที่เรียกว่า เมล็ดกาแฟพันธุ์พิเศษ ที่มีจำหน่ายในหลายๆ ร้าน ที่มาพร้อมกับวิธีการชงเฉพาะตัว
ในขั้นตอนการชงกาแฟเราคงคุ้นเคยกับเครื่องชงเอสเปรสโซ่ที่เห็นได้ในทุกร้านกาแฟ การดริปกาแฟผ่านกรวย ใช้ไซฟอนต้มน้ำร้อนแล้วปล่อยให้ไหลผ่านกาแฟ หรือง่ายหน่อยก็เฟรนซ์เพรส ทั้งนี้วิธีชงขึ้นอยู่กับเมล็ดกาแฟ (ตอนนี้ขอพูดถึงพันธุ์อารบิก้า) โดยหลัก ๆ จะมีสิ่งที่ต้องดู คือ ระดับการคั่ว เข้ม กลาง อ่อน อ่อนมาก
ข้อมูลสำคัญอีกอย่างของเมล็ดกาแฟพิเศษ คือ โปรไฟล์การคั่ว ซึ่งจะบอกถึงแหล่งที่ปลูก+ระดับความสูง วิธีการทำให้แห้งเป็นเมล็ด ระดับการคั่ว และโน๊ตบอกรสชาติ ซึ่งในส่วนของรสชาตินี้จะมีมิติที่หลายหลาก (ดูจากภาพประกอบ) สร้างประสบการณ์ให้กับผู้บริโภคกาแฟ เป็นอย่างดี
กลับมาในเรื่องของการบริโภคข้อมูล หากเรามองข้อมูลที่เรากำลังสนใจเป็นเหมือนกาแฟกระป๋อง เราก็คงจะแค่เปิดดื่มหมดอย่างรวดเร็ว หากเรามองข้อมูลเป็นกาแฟจากร้านกาแฟแบรนด์ อย่างน้อยเราก็เลือกแบรนด์ (แหล่งข้อมูล) ที่เราชอบ และคอยติดตามความน่าเชื่อถือของแบรนด์นั้น
หากเรามองข้อมูลเป็นเหมือนเมล็ดกาแฟพิเศษ เราอาจจะพิถีพิถันในการเลือกเมล็ดจากแหล่งเพาะปลูก โปรไฟล์การคั่ว และแน่นอนวิธีการชง เพื่อให้ได้รสชาติ (คุณภาพของข้อมูล มิติ แง่มุม เหตุผลอ้างอิง) ที่สมบูรณ์
พวกเราแต่ละคนชอบรับกาแฟ (ข้อมูล) แบบไหน? (จะตอบว่าชานมไข่มุก ก็ได้นะ 555)
#DataLabelling #DataNutrition #DataObesity
ภาพประกอบจาก https://dailycoffeenews.com/2014/01/06/the-new-tasters-flavor-wheel-a-recalibration-of-coffee-dialogue/
โฆษณา