29 มิ.ย. 2021 เวลา 09:05 • อาหาร
"เหล้าบ๊วย" ทำไว้ดื่มเองแบบไม่ศึกษา อาจถูกจับข้อหาทำผิดกฎหมาย (ญี่ปุ่น) ได้
ประมาณเดือน มิถุนายน - กรกฏาคมของทุกปี
ถ้าใครอยู่ญี่ปุ่น หรือเคยไปเที่ยวญี่ปุ่น ในช่วงนี้ ก็อาจจะสังเกตเห็นว่าตามซุปเปอร์หรือร้านขายผักจะมีลูกบ๊วยวางจำหน่ายมากมาย
1
โดยลูกบ๊วยเหล่านั้น สามารถนำมาทำเป็นบ๊วยดองแบบต่าง ๆ ทั้งหวานและเค็ม
อีกทั้งยังนิยมนำมาทำเป็นเหล้าบ๊วย ด้วยการใส่ บ๊วย เหล้า และ น้ำตาลลงไปหมักไว้รวมกัน
ใครที่เคยชิมก็คงจะทราบว่า มันอร่อยมาก ๆ เลยนะคะ🤤
แต่สำหรับการทำเหล้าบ๊วยที่ญี่ปุ่น ถ้าไม่ระวัง ก็อาจจะกลายเป็นกระทำผิดกฎหมายไปเลยก็ได้ เพราะอะไร มาดูกันค่ะ🤔
ญี่ปุ่นมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งหมด เรียกว่า "กฎหมายภาษีสุรา"
โดยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งหมดจะถูกเรียกเก็บภาษีสุราให้กับหน่วยงานทางด้านการจัดระบบภาษีแห่งชาติ ของญี่ปุ่น
ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีหน้าที่เสียภาษีนี้คือผู้ผลิตเครื่องดื่มที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ตั้งแต่ 1% ขึ้นไป
และตามกฎหมายภาษีสุราได้กำหนดไว้ว่า การผสมสิ่งใดลงไปในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะต้องมีใบอนุญาตเท่านั้นจึงจะสามารถทำได้
เพราะการผสมบางสิ่งลงไปในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะส่งผลให้ถือว่าเป็นการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดใหม่ขึ้นมา
แต่ในกรณีที่ทำเพื่อดื่มเองที่บ้านนั้น สามารถทำได้แม้ไม่มีใบอนุญาต แต่มีเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติตาม คือ
- แอลกอฮอล์ที่นำมาผสม ต้องมีความแรงไม่ต่ำกว่า 20 ดีกรี เพราะหากดีกรีต่ำกว่านี้ จะเข้าข่ายเสี่ยงต่อการที่เหล้านั้นจะหมักออกมาเป็นเหล้าชนิดใหม่
(หรือความหมายแบบง่าย ๆ ก็คือแอลกอฮอล์ที่เข้มข้นอยู่แล้ว แม้นำมาหมักใหม่ก็จะไม่แปรสภาพไปเป็นเหล้าชนิดอื่น หรือไม่แปรสภาพเป็นเหล้าที่แรงขึ้น)
1
- มีผลิตภัณฑ์หลายอย่าง ที่ไม่อนุญาตให้นำมาหมักเอง เช่น ข้าว ข้าวสาลี ลูกเดือย ข้าวโพด ข้าวฟ่าง
องุ่น กรดอะมิโน วิตามิน ผลิตภัณฑ์จากการสลายตัวของกรดนิวคลีอิกหรือเกลือของกรดนิวคลีอิก กรดอินทรีย์หรือเกลือของกรดอินทรีย์ เกลืออนินทรีย์ สารสี สารแต่งกลิ่นหรือกากสาเก เป็นต้น
3
- เหล้าที่ทำดื่มเองที่บ้านนั้น ห้ามนำไปจำหน่าย
และตั้งแต่ปี 2007 ก็มีประกาศว่า เหล้าที่ทำเองสามารถให้ดื่มได้เฉพาะคนที่รู้จักกันเท่านั้น
1
แต่ทั้งนี้ มีมาตรการพิเศษของกฎหมายภาษีสุราในปี 2008 ได้กำหนดไว้ว่าเจ้าของกิจการโรงแรมและร้านอาหารสามารถทำเหล้าบ๊วยแบบโฮมเมดเพื่อเอาไว้เสิร์ฟให้แก่ลูกค้าได้ (แต่ไม่สามารถขายให้เอากลับบ้านได้)
2
นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดที่เป็นข้อกำหนดยิบย่อยอีกมากมาย สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
2
สรุปก็คือ การจะทำเหล้าบ๊วยดื่มเองที่บ้าน( ที่ญี่ปุ่น) ได้แบบไม่ต้องมีใบอนุญาตนั้น เหล้าที่นำมาผสมกับบ๊วย ต้องมีดีกรีสูงกว่า 20 ดีกรีขึ้นไปเท่านั้น
ต่ำกว่านี้จะถือว่าผิดกฎหมาย และยังมีเงื่อนไขปลีกย่อยอีกมากมายค่ะ😊
คำศัพท์น่ารู้
国税庁 こくぜいちょう(โคะคุเซโจว) หน่วยงานทางด้านการจัดระบบภาษีแห่งชาติ (ของญี่ปุ่น),กรมสรรพากร
違法 いほう(อิโฮว) ผิดกฎหมาย
梅酒 うめしゅ(อุเมะชุ) เหล้าบ๊วย
酒税法 しゅぜいほう(ชุเซโฮว) กฎหมายภาษีสุรา
โฆษณา