Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เก็บ100ให้ได้ล้าน
•
ติดตาม
1 ก.ค. 2021 เวลา 11:33 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เมื่อปี 54 หรือปี 60 เราก็ยังได้เห็นข่าวกันบ้างว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท) เนี่ยซื้อทองเข้าประเทศ หรือมีการรับมองทองคำจากกลุ่มลูกศิษย์หลวงตาบัว 10กิโลก็ยังมีข่าวให้เห็นบ้าง
แต่ปีนี้ซื้อทองไป 90ตัน คือตอนเดือนเมษายน 46.5ตัน แล้วตอนพฤษภาคมอีก 43.5ตัน เงียบกริ๊บเลย ไม่มีการให้สัมภาษณ์จากผู้ว่าแบงก์ชาติด้วย
เราก็เลยต้องย้อนไปดูสัมภาษณ์ของตอนปี 54 คุณประสาร ไตรรัตน์สกุล ผู้ว่าธปทตอนนั้น ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า มันก็เป็นการซื้อเพื่อรักษาสัดส่วนทองคำให้ได้ระดับ 3%ของเงินทุนสำรอง ดังนั้นเมื่อปริมาณทุนสำรองเพิ่มขึ้นก็ต้องแบ่งเงินไปซื้อทองเพิ่มขึ้นเช่นกัน นอกจากนั้นก็ยังต้องคอยบริหารด้วยหากเงินสกุลใดผันผวนมากก็ต้องปรับลดการถือครอง ไปถือเงินสกุลอื่นๆเพิ่มเติม
ทองคำ
แต่ว่าปีนี้ทุนสำรองมันก็ไม่น่าจะเพิ่มเยอะขนาดต้องซื้อถึง 90ตัน ทำให้เรามีทองคำเพิ่มขึ้นจาก 154ตัน เป็น 244ตัน เพิ่มขึ้น 58% เลยทีเดียว เราลองไปดูเหตุผลอื่นๆกันบ้างดีกว่า
world gold council เนี่ยเค้าได้ไปสำรวจสาเหตุที่ธนาคารกลางของแต่ละประเทศซื้อทองคำ ได้มา 5ข้อ ดังนี้
1. ทองคำทำหน้าที่ได้ดีในช่วงวิกฤติ (performs during times of crisis)
2. ทองคำเป็นเครื่องรักษามูลค่า (store of value) ในระยะยาว
3. ทองคำเป็นตัวกระจายการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ
4. ปราศจากความเสี่ยงในการผิดนัดชำระและความเสี่ยงทางการเมือง (คือถ้าเราถือเป็นพันธบัตรของประเทศอื่นๆ ก็มีโอกาสเสี่ยงที่ลูกหนี้จะชักดาบได้ หรืออย่างจีนกับอเมริกาเค้ามีปัญหากัน ถ้าเราถือดอลลาร์เยอะเกินไปก็อาจมีปัญหากับจีนได้)
5. ทองคำมีสภาพคล่องสูง
คือสรุปเราก็ไม่รู้หรอกว่าท่านผู้ว่าแบงก์ชาติเนี่ยท่านคิดอะไร ก็ได้แต่เดาไป แต่ก็นับเป็นเรื่องราวดีดีของประเทศไทยในช่วงเวลานี้ ธปทเองก็ต้องบริหารเงินทุนสำรองเพื่อประเทศชาติ เราเองก็อย่าลืมบริหารพอร์ตของตัวเองกันน้า ช่วงเวลาแบบนี้อาจจะไม่ต้องเน้นทำกำไรมาก เน้นรักษาเงินต้นให้ปลอดภัยเอาไว้ก่อน
https://www.bullionstar.com/blogs/ronan-manly/thai-central-bank-leads-pack-buying-90-tonnes-of-gold-over-april-and-may/
https://www.posttoday.com/social/general/88638
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย