2 ก.ค. 2021 เวลา 09:10 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Article 13 การจำแนกกระบวนการเชื่อม ตอนที่ 4 (ตอนจบ)
มาถึงโค้งสุดท้ายของการจำแนกกระบวนการเชื่อม ซึ่งผมเก็บไว้ 2 วิธีหลังสุด คือ มาตรฐาน AWS และมาตรฐาน ISO ที่ต้องใช้เป็นหลักในการทำงาน ทั้งสองมาตรฐานนี้มีความแตกต่างกันในเรื่องการกำหนดรหัสชื่อเรียกกระบวนการเชื่อม มาตรฐาน AWS จะใช้เป็นอักษรย่อ มาตรฐาน ISO จะใช้เป็นตัวเลข มาติดตามกันดูครับ
4
วิธีที่ 5 การจำแนกกระบวนการเชื่อมเป็นกลุ่มตามสมาคมงานเชื่อมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา สมาคมงานเชื่อมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (American Welding Society) ได้จำแนกกระบวนการเชื่อมออกเป็นกลุ่มและกลุ่มย่อย โดยใช้ตัวอักษรย่อภาษาอังกฤษในการระบุประเภทของกระบวนการเชื่อม ดังต่อไปนี้
1. การเชื่อมแบบอาร์ก
2. การเชื่อมในสภาวะของแข็ง
3. การบัดกรีอ่อน
4. บัดกรีแข็ง
5. การเชื่อมด้วยความต้านทาน
6. การเชื่อมแบบอื่นๆ
7. การตัดด้วยกระบวนการมางความร้อน
8. กระบวนการที่เกี่ยวเนื่อง
3
Master Chart of Welding Processes by AWS
เอาเป็นว่าไปลองพิจารณาจาก Master Chart of Welding and Allied Processes ตามมาตรฐาน AWS ซึ่งนับได้ทั้งสิ้น 114 กระบวนการ เรียกว่ามีหลากหลายกระบวนการเชื่อมให้ศึกษา และนำไปใช้งานกันเลยทีเดียว
2
และแล้วก็มาถึงกลุ่มสุดท้าย กลุ่มนี้ผมชื่นชอบเป็นการส่วนตัว เพราะมีการจำแนกได้ละเอียดและชัดเจนกว่าวิธีอื่นๆ มาติดตามกันดูครับ
1
วิธีที่ 6 การจำแนกกระบวนการเชื่อมด้วยระบบมาตรฐานสากล ISO 4063
มาตรฐานองค์กรมาตรฐานสากล (ISO : International Standard Organization) เป็นมาตรฐานที่ได้รับความนิยมในภาคพื้นทวีปยุโรป รวมถึงประเทศที่ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมส่งออกไปยังประเทศต่างๆในทวีปยุโรป
1
การจำแนกกระบวนการเชื่อมด้วยมาตรฐานองค์กรมาตรฐานสากลแบ่งกระบวนการเชื่อมออกเป็น 2 กลุ่มหลักคือ การเชื่อมแบบหลอมละลาย (Fusion Welding) และการเชื่อมแบบใช้แรงดัน (Pressure Welding)
1
การเชื่อมแบบ Fusion welding
การเชื่อมแบบ Pressure welding
ซึ่งแนวคิดในการจำแนกประเภทของการเชื่อมแบบหลอมละลายจะใช้หลักการคิดของการหลอมละลายวัสดุงานและวัสดุเชื่อมโดยใช้แหล่งพลังงานความร้อนในการเชื่อมประสานวัสดุเข้าด้วยกัน สำหรับการเชื่อมแบบใช้แรงดันจะต้องมีการใช้แรงจากภายนอกร่วมกับแหล่งพลังงานความร้อนอื่นๆ
1
มาตรฐาน ISO4063 จะใช้ระบบตัวเลขในการกำหนดกลุ่มและกลุ่มย่อยของกระบวนการเชื่อม เช่น 141 คือกระบวนการเชื่อมทิก โดยมีระบบการกำหนดตัวเลขดังนี้
1 คือ กระบวนการเชื่อมแบบอาร์ก
4 คือ กลุ่มหลักของกระบวนการเชื่อมทิก และตามด้วยตัวเลขในลำดับที่ 3 ที่แสดงกลุ่มย่อย ดังนี้
141 คือ การเชื่อมทิดโดยใช้ลวดเติมและใช้แก็สเฉื่อยเป็นแก็สคลุม
142 คือ การเชื่อมทิกโดยไม่เติมลวด
143 คือ การเชื่อมทิกโดยใช้ลวดฟลั๊กซ์คอร์
145 คือ การเชื่อมทิกโดยใช้ลวดเติมและใช้ deoxidizing gas
146 คือ การเชื่อมทิกโดยใช้ลวดฟลั๊กซ์คอร์ และใช้ deoxidizing gas
147 คือ การเชื่อมทิกโดยใช้ Active gas
3
ผมเชื่อว่า ถ้าพิจารณาในแต่ละกลุ่มย่อยของกระบวนการ จะสามารถใช้ประโยชน์จากกระบวนการเชื่อมได้อีกมาก หรืออย่างน้อยก็ได้ทราบว่ามีกระบวนการเชื่อมใดที่เกี่ยวข้องอีกบ้าง นับเป็นมาตรฐานที่น่าสนใจมากในการใช้เป็นแผนที่นำทางในการศึกษาทางด้านวิศวกรรมการเชื่อม หรือสำหรับผู้ที่เริ่มต้นศึกษาศาสตร์ทางด้านนี้
1
ผศ.ดร.ปริยสุทธิ์ วัฒนธรรม
ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
1
วิทยาทานในครั้งนี้ข้าพเจ้าขออุทิศผลบุญให้คุณพ่อประสงค์ คุณแม่รัตนาพร วัฒนธรรม และคณาจารย์ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้ข้าพเจ้าจนสามารถต่อยอดองค์ความรู้เกิดประโยชน์เป็นวงกว้างผ่านสื่อโซเชียลเทอญ....
1
ผศ.ดร.ปริยสุทธิ์ วัฒนธรรม
ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
1
วิทยาทานในครั้งนี้ข้าพเจ้าขออุทิศผลบุญให้คุณพ่อประสงค์ คุณแม่รัตนาพร วัฒนธรรม และคณาจารย์ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้ข้าพเจ้าจนสามารถต่อยอดองค์ความรู้เกิดประโยชน์เป็นวงกว้างผ่านสื่อโซเชียลเทอญ....
1
โฆษณา