2 ก.ค. 2021 เวลา 09:54 • กีฬา
หลุมดำในประวัติศาสตร์ฟุตบอลอังกฤษ
#พลอยเล่าเรื่อง #ฟุตบอล #ยูโร #อังกฤษ
ว่ากันว่าภาพบางภาพแทนคำพูดนับพัน รูปหนึ่งที่ต้องการคำอธิบาย คือ ภาพทีมชาติอังกฤษในปี 1938 ที่ยืนทำท่าแสดงความคารวะแบบนาซี เพื่อเคารพ “อดอล์ฟ ฮิตเลอร์” ชายที่เป็นผู้รับผิดชอบต่อการก่อสงครามโลกครั้งที่ 2 และฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว เพื่อหาคำตอบของที่มาว่าทำไม สแตนลีย์ แมทธิว ในวัยหนุ่มถึงยืนยกมือขวาขึ้น 45 องศาคารวะผู้นำนาซี เราต้องย้อนกลับไปในปี 1935 สามปีก่อนที่รูปนี้จะถูกถ่ายขึ้น
ครั้งสุดท้ายที่เยอรมันนีและอังกฤษลงสนามแข่งขันกันในสนามฟุตบอลเกิดขึ้นในปี 1930 ห้าปีผ่านไป อินทรีเหล็กส่งนักฟุตบอลของชาติมาพบกับอังกฤษอีกครั้งที่ถิ่นของสิงโตคำราม แต่คราวนี้บริบททางการเมืองของทั้งสองประเทศเปลี่ยนไปมากหลังจากที่พบกันเมื่อครึ่งทศวรรษที่แล้ว เยอรมันนีเลือกฮิตเลอร์ขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศในปี 1933 รัฐบาลอังกฤษมองว่าฟุตบอลจะเป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการเมืองชั้นดีเพื่อทดสอบมิตรภาพระหว่าง 2 ชาติ
ปฏิเสธไม่ได้ว่า มีชาวอังกฤษจำนวนไม่น้อยที่หลงใหลได้ปลื้มไปกับระบอบนาซ๊ แต่ขณะเดียวกันก็มีคนมากมายที่เริ่มได้กลิ่นไม่ดีโชยมาจากเยอรมันนี ก่อนเกมการแข่งขันในปี 1935 จึงมีการเดินขบวนประท้วงมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกมจะลงเล่นที่สนามไวท์ ฮาร์ท เลน สนามเหย้าของสเปอร์ส มีการประท้วงอย่างหนักจากสหภาพการค้า ไปจนถึงองค์กรต่างๆของชาวยิว เพื่อให้ยกเลิกเกมการแข่งขัน
ก่อนหน้าการแข่งขันหนึ่งสัปดาห์ รัฐบาลอังกฤษออกมาบอกว่า สมาคมฟุตบอลอังกฤษนั้นเป็นเอกเทศน์ และควรจะปล่อยให้กีฬาเดินหน้าต่อไปโดยที่ไม่เอาการเมืองมาแทรกแซง รัฐบาลตัดสินใจไม่เอาตัวเองเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการแข่งขัน โดยรู้อยู่แก่ใจว่า เกมๆนี้มีความสำคัญกับทางเยอรมัน กับรัฐบาลของฮิตเลอร์ มากกว่า เพื่อนำมาใช้โฆษณาชวนเชื่อ
1
ท่ามกลางความกังวลว่าจะมีการประท้วงต่อต้านเยอรมันอย่างหนัก แต่ก็มีแฟนบอลชาวเยอรมันกว่า 10,000 คนเดินทางมาชมเกมที่ไวท์ ฮาร์ท เลน เพื่อพบกับความผิดหวัง เมื่อสิงคำรามเดินหน้าถล่มอินทรีเหล็ก 3-0 ประตู มองข้ามผลการแข่งขัน การโชว์ฟอร์มของทีมชาติอินทรีเหล็ก และการปฏิบัติตัวในสนามได้รับเสียงชื่นชมจากสื่ออังกฤษและสาธารณชนชาวบริติชได้มากมาย
1
ย้อนกลับไปหนึ่งปี ทีมชาติอิตาลียุคมุสโสลินี ทำให้สื่ออังกฤษโกรธขวัญออกหูเมื่อก่อเรื่องปะทะใหญ่โตในเหตุการณ์ที่ถูกเรียกขานว่า Battle of Highbury ต่างจากเยอรมันในหนนี้ที่ยอมรับความพ่ายแพ้แบบมีเกียรติ กลายเป็นความสำเร็จระหว่างสองชาติ เมื่อได้รับเสียงตอบรับดี ทางสมาคมฟุตบอลอังกฤษเลยตอบรับคำเชิญในการกลับไปเตะนัดล้างตาที่เบอร์ลิน หลังจากการต่อรองกันไปมาหลายสัปดาห์ สุดท้ายก็ลงตัวที่เดือนพฤษภาคม ปี 1938 ที่ทีมชาติอังกฤษจะไปเยือนเยอรมันนี โดยที่ไม่รู้เลยว่าวันนั้นจะมีบทบาทต่อประวัติศาสตร์โลก
ในเดือนมีนาคม 1938 เยอรมันเวอร์ชั่นนาซี ยกพลยึดครองออสเตรีย ละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซายส์ที่ทำไว้ในปี 1919 แบบชัดเจน เมื่อต้องเจอกับความเกรี้ยวกราดของนาซี หลายประเทศมีมีการตอบสนองแตกต่างกันไป บางหลายชาติบอกว่า ฮิตเลอร์และนาซีไม่สนใจกฎและระเบียบเพื่อขยายดินแดนเยอรมัน หลายชาติก็บอกว่า สนธิสัญญาแวร์ซายส์นั้นมีข้อบังคับที่ไม่จำเป็นกับเยอรมัน เลยไม่ผิดที่จะหากกฎที่ไม่เป็นธรรม
เนวิลล์ แชมเบอร์เลน นายกรัฐมนตรีอังกฤษในตอนนั้น พบว่าตัวเองตกอยู่ตรงกลางจากมุมมองของหลายชาติ ในการพูดต่อหน้าสภาในเดือนมีนาคม 1938 แชมเบอร์เลนบอกว่า ทูตอังกฤษประจำกรุงเบอร์ลิน ต่อต้านการกระทำของเยอรมัน แต่การที่จะป้องกันไม่ให้อะไรบานปลายไปกว่านี้ก็ต้องใช้กำลังเข้าต่อสู้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาติมหาอำนาจในตอนนั้นไม่พร้อมที่จะเผชิญ
เสียงปืนจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ยังก้องอยู่ในหูของแชมเบอร์เลน นั่นทำให้การลงโทษเยอรมันด้วยนโยบายทางทหารไม่ใช่ตัวเลือก อย่างน้อยในการทางเมือง นายกรัฐมนตรีอังกฤษรู้ดีว่ากำลังจะมีเกมฟุตบอลระกว่างทั้งสองชาติ ขณะที่อังกฤษเอาชนะมาในการพบกันครั้งก่อนแบบไม่ยากเย็น คราวนี้เยอรมันมั่นใจมากว่าจะเอาชนะคืนได้ การคเข้าครอบครองออสเตรียนั่นหมายความว่า พวกเขาสามารถเรียกนักฟุตบอลฝีเท้าดีจากออสเตรียมาติดทีมชาติได้ด้วย ซึ่งหลายคนเคยเอาชนะอังกฤษมาแล้วในปี 1936 ด้วยสกอร์ 2-1 ประตู
เมื่อได้ตัวช่วย เยอรมันไม่แพ้มาแล้ว 14 เกมนับตั้ตแพ้ให้อังกฤษ นาซีให้ความสำคัญกับเกมๆนี้มาก เพราะมันคือหนึ่งในเครื่องมือว่า พวกเขาคือ เผ่าพันธุ์ที่สูงส่ง ส่วนอังกฤษนั้นไปลงสนามท่ามกลางฟอร์มการเล่นที่ไม่ค่อยดีหนัก ชาวเยอรมันเชื่อว่า ชื่อเสียงของอังกฤษนั้นเว่อเกินความเป็นจริง ท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมือง สมาคมฟุตบอลของทั้งสองชาติเผชิญหน้ากับความใส่ใจเกินเหตุจากผู้นำประเทศ ทางนาซีพร้อมทุ่มทุกอย่างเพื่อเตรียมงานก่อนเกมการแข่งขัน มีการเก็บตัวฝึกซ้อมที่แบล็คฟอเรสต์ 2 สัปดาห์เพื่อเกมนี้
ความเอาจริงเอาจังของเยอรมัน แผ่ขยายมายังคนดู สนามโอลิมปิค สเตเดี้ยม ที่กรุงเบอร์ลิน จุคนได้ 120,000 คน แต่มีคนแสดงความต้องการตั๋วเข้าชมเกมกว่า 400,000 คน เมื่อเกมดูจะตึงเครียดขึ้น สมาคมฟุตบอลอังกฤษบอกว่า นักฟุตบอลทุกคนต้องเล่นเต็มที่เพื่อศักดิ์ศรีของชาติ สื่อองทั้งสองชาติตีข่าวมากมายเรื่องการพบกันของทั้งสองทีม
ก่อนหน้าการลงสนามพบกันหนึ่งชั่วโมง คำร้องของ สแตนลีย์ รูส หนึ่งในสมาชิกของสมาคมฟุตบอลอังกฤษที่ดูแลการแข่งขัน บอกกับนักฟุตบอลว่า พวกเขาต้องทำท่าคารวะแบบนาซี (Nazi Salute) เพื่อแสดงออกที่ดีต่อเจ้าบ้าน ออกแนวเป็นการสั่งให้ทำมากกว่าขอความร่วมมือ เซอร์ สแตนลีย์ แมทธิว หนึ่งในผู้เล่นชุดนั้นบอกว่า นักบอลอังกฤษทุกคนโกรธมาก และต่อต้าน กัปตันทีมอย่างเอ็ดดี้ ฮัพกู้ด ยกนิ้วให้รูส และบอกให้เอาท่าคารวะนาซีไปยัดก้นตัวเองซะ
จนต้องอาศัยทูตอังกฤษประจำเยอรมันมาอธิบายว่า การทำท่าดังกล่าวเป็นแค่การทักทายอย่างเป็นทางการกับเจ้าบ้าน ไม่ใช่เป็นการสนับสนุนลัทธินาซี จนสามารถกล่มให้ผู้เล่นอังกฤษยอมทำตามได้ ผู้เล่นอังกฤษยืนเรียงแถวหน้ากระดานที่กลางสนาม พร้อมกับผู้เล่นเยอรมัน ท่ามกลางนักการเมืองมหาอำนาจในเยอรมันอย่าง โยเซฟ เกิบเบิลส์ และแฮร์มัน เกอริง ทีมชาติอังกฤษยกมือขวาขึ้น 45 องศาเพื่อแสดงความเคารพเจ้าถิ่น หลังจากนั้นเกมการแข่งขันก็เริ่มต้นขึ้น และก็เป็นอังกฤษที่เอาชนะไปได้ 3 -6 ประตู
.
.
สื่อทั้งสองชาติยกย่องเกมการแข่งขัน ชัยชนะทำให้สื่อผู้ดีไม่สนใจกับการทำท่าคารวะแบบนาซีก่อนเกม บอกแค่ว่าเป็นการแสดงความเคารพ ส่วนสื่อเยอรมันที่ยืนข้างนาซีก็บอกว่า ทีมชาติอังกฤษเคารพลัทธินาซี กลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองชั้นดีของฮิตเลอร์ เพราะหนุ่มสาวชาวเยอรมันจำนวนไม่น้อยมีนักฟุตบอลทีมชาติอังกฤษเป็นเหมือนฮีโร่
เดือนกันยายน 1939 หนึ่งปีกว่าๆหลังจากเกมการแข่งขัน นาซีเยอรมันพาโลกเข้าสู่สงครามที่หนองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ และท่าคารวะนาซีของทีมชาติอังกฤษ BBC บอกว่ามันคือช่วงเวลาที่ดำมืดที่สุดในวงการกีฬา สำหรับคนทั่วไปการแสดงท่าดังกล่าวเป็นเหมือนการสนับสนุนลัทธินาซี แต่สำหรับนักฟุตบอลทีมชาติอังกฤษในวันนั้น การทำท่าคารวะแบบนาซีเป็นแค่สิ่งที่พวกเขาต้องทำ และไม่ใช่ส่วนที่สำคัญที่สุดในเกมการแข่งขัน “ฟุตบอล” ต่างหาก คือ สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับพวกเขา
🙏🏼ฝากไลค์ ฝากกดติดตาม เพจกันด้วยนะคะ🙏🏼
โฆษณา