2 ก.ค. 2021 เวลา 10:25 • ข่าว
ดราม่า Moderna หลากหลายตัวละคร ท่ามกลางความสับสน องค์การเภสัชกรรม สมาคมโรงพยาบาลเอกชน อัยการสูงสุด
สืบเนื่องจากการจัดหาวัคซีนโควิดเพิ่มเติม (วัคซีนทางเลือก) ซึ่งเริ่มต้นจากความพยายามของภาคเอกชนที่ต้องการจัดหาวัคซีนโควิดจากต่างประเทศ
มาเสริมช่วงที่วัคซีนหลักของรัฐบาลยังไม่เพียงพอ
ติดตามด้วยข้อเท็จจริง ซึ่งชัดเจนขึ้นในภายหลังว่า เมื่อทางภาคเอกชนไทยไปติดต่อกับบริษัทวัคซีนยักษ์ใหญ่ของโลก
ก็พบว่าบริษัทต่างๆเหล่านั้น แจ้งว่า วัคซีนทุกชนิด เป็นการขายเพื่อใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน (EUA) จะไม่รับผิดชอบผลข้างเคียงระยะยาวที่เกิดกับผู้รับวัคซีน
1
ให้ผู้ซื้อรับผิดชอบเอง จึงทำให้ภาคเอกชนไทย เช่นเดียวกับภาคเอกชนอีกหลายประเทศ ไตร่ตรองแล้ว ไม่สามารถจะรับผิดชอบความเสี่ยงระยะยาวหลายปีหลังฉีดวัคซีนได้
2
จึงต้องล้มเลิกความพยายาม การจัดหาวัคซีนเองดังกล่าว เพราะไม่สามารถรับความเสี่ยงดังกล่าวได้
2
จากข้อมูลดังกล่าว จึงมีการนำมาพูดถ่ายทอดในอีกลักษณะว่า บริษัทวัคซีนต่างประเทศจะไม่ขายให้กับภาคเอกชน
แต่จะขายให้กับหน่วยงานของรัฐเท่านั้น ซึ่งก็สอดคล้องตรงกันกับเหตุผลที่ว่า
ไม่มีภาคเอกชนใดกล้ารับความเสี่ยง จากการซื้อวัคซีนมาฉีดเอง ต้องการให้ภาครัฐเป็นผู้รับผิดชอบความเสี่ยงดังกล่าวแทน
2
ต่อมาทางรัฐบาล จึงได้แก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยจัดตั้งคณะทำงานพิจารณาการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดต่อโคโรนา 2019
ศ.นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร
โดยมี ศ.นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทรเป็นประธานกรรมการ และประกอบด้วยหน่วยงานภาคเอกชนเกือบครบทุกโรงพยาบาลเอกชนหลักของไทย
และตัวแทนภาครัฐได้แก่ องค์การเภสัชกรรม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมควบคุมโรค สถาบันวัคซีน เป็นต้น
จนกระทั่งได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า คณะทำงานมีความเห็นว่า ภาคเอกชนไทยพร้อมที่จะรับวัคซีนไปฉีดให้กับคนไข้ของโรงพยาบาลตนเอง
แต่เนื่องจากไม่สามารถสั่งซื้อวัคซีนได้ด้วยข้อจำกัดดังกล่าว ภาครัฐจึงจะเข้ามาแก้ไขปัญหาอุปสรรค
โดยการให้องค์การเภสัชกรรม ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐ เป็นผู้ติดต่อกับบริษัทตัวแทนอย่างเป็นทางการของ Moderna ในประเทศไทยคือบริษัทซิลลิคฟาร์มาจำกัด
1
และก็มีการดำเนินการตามขั้นตอน ที่ไม่ได้มีการแจ้งรายละเอียดที่ชัดเจนเพียงพอให้สาธารณะทราบ
1
จึงมีข่าวเป็นระยะ จากผู้บริหารโรงพยาบาลเอกชนบ้าง สมาคมโรงพยาบาลเอกชนบ้าง องค์การเภสัชกรรมบ้าง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาบ้าง
ทำให้สาธารณะไม่แน่ใจว่า ขั้นตอนอยู่ที่ขั้นตอนไหนแล้ว รายละเอียดที่แต่ละฝ่ายให้มาไม่สอดคล้องตรงกันเสียทีเดียว จริงๆ แล้วเป็นอย่างไร
จนสุดท้ายเกิดดราม่าขึ้น คือ มีผู้บริหารโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งได้ให้ข่าวกับสื่อมวลชนว่า
2
เหตุที่การนำเข้าวัคซีน Moderna ล่าช้า เกิดจากร่างสัญญาไปค้างอยู่ที่สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นเวลานานหลายเดือนแล้ว
จึงเป็นที่มาของสำนักงานอัยการสูงสุด ต้องออกประกาศแถลงการณ์ว่า
ทางสำนักงานอัยการสูงสุด ยังไม่เคยได้รับร่างสัญญาการจัดซื้อวัคซีน Moderna แต่อย่างใด และในช่วงที่ผ่านมา ก็ดำเนินการตรวจร่างสัญญาโดยรวดเร็ว
โดยตรวจร่างสัญญาการจัดซื้อ Sinovac และ AstraZeneca เสร็จสิ้นภายในเวลา 1-5 วันเท่านั้น
2
จึงเป็นที่มาของความสับสนสาธารณะว่า แล้วขั้นตอนของวัคซีน Moderna อยู่ที่ขั้นไหนแล้ว ทำไมตอนนี้จึงยังไม่ได้วัคซีน
1
ลองวิเคราะห์ดูรายละเอียดไทม์ไลน์ที่เกี่ยวข้อง จะพบตัวละครหลัก ได้แก่
องค์การเภสัชกรรม
สนง.คณะกรรมการอาหารและยา
สมาคมโรงพยาบาลเอกชน
ผู้บริหารโรงพยาบาลเอกชน
สำนักงานอัยการสูงสุด
9 เมษายน 2564 จัดตั้งคณะทำงานชุด ศ.นพ. ปิยะสกล สกลสัตยาทร
1
3 พฤษภาคม 2564 กระทรวงสาธารณสุขหารือกับบริษัทซิลลิคฟาร์มาจำกัด ว่าจะเร่งนำเอกสารมายื่นขอจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไทย
โดยที่โรงพยาบาลเอกชน จะต้องเร่งยืนยันยอดที่ชัดเจน ว่ายอดจำนวนวัคซีนที่ต้องการคือเท่าใด
เพื่อที่องค์การเภสัชกรรมจะได้นำไประบุในสัญญาจัดซื้อได้
7 พฤษภาคม 2564 คณะทำงานเห็นว่าวัคซีนที่จะดำเนินการจัดหาเป็นวัคซีนทางเลือก ไม่ควรจะซ้ำซ้อนกับวัคซีนหลัก
13 พฤษภาคม 2564 อย.อนุมัติการขึ้นทะเบียนของวัคซีน Moderna
23 พฤษภาคม 2564 รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรมแจ้งว่า ทางสมาคมโรงพยาบาลเอกชนแจ้งยอดเบื้องต้นอย่างไม่เป็นทางการ 5 ล้านโดส
25 พฤษภาคม 2564 นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน แจ้งว่ายอดน่าจะเป็น 10 ล้านโดส โดยประมาณราคาเบื้องต้นอยู่ที่ 2000 บาทต่อโดส
7 มิถุนายน 2564 ข่าวจากโรงพยาบาลเอกชนแจ้งว่า อาจจะเป็นราคา 1900 บาทต่อโดส
8 มิถุนายน 2564 เลขาธิการสมาคมโรงพยาบาลเอกชนแจ้งว่า จะยังไม่กำหนดราคาวัคซีน ขอรอราคาที่ชัดเจนจากองค์การเภสัชกรรมเสียก่อน
1
23 มิถุนายน 2564 องค์การเภสัชกรรมได้แจ้งว่า กำลังร่างสัญญาที่จะลงนามกับบริษัทซิลลิค
ฟาร์มา โดยจะตรวจให้เรียบร้อยทั้งกฏหมายไทยและกฏหมายต่างประเทศ
1
หลังจากนั้น จึงจะส่งไปให้สำนักงานอัยการสูงสุด คาดว่าจะเป็นเดือนกรกฎาคม และอาจจะมีการลงนามได้ในต้นเดือนสิงหาคมกับบริษัทซิลลิค
ฟาร์มา
3
30 มิถุนายน 2564 องค์การเภสัชกรรมประกาศกำหนดราคาวัคซีนที่จะส่งให้โรงพยาบาลเอกชนที่ 1100 บาทต่อโดส ราคานี้รวมทั้งราคาวัคซีน ค่าขนส่ง ค่าประกันรายบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่มไว้เรียบร้อยแล้ว
1
1 กรกฎาคม 2564 โรงพยาบาลเอกชนประกาศว่า จะกำหนดราคาฉีดที่ 1650 บาทต่อโดส โดยไม่ได้ให้รายละเอียดส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นมา 550 บาทว่ารวมอะไรบ้าง บอกแต่เพียงว่าเป็นค่าบริการ
วันนี้ (2กค2564) ผู้บริหารโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ให้ข่าวกับสื่อมวลชนว่า ความล่าช้าทั้งหมดอยู่ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ที่นำร่างสัญญาไปตรวจหลายเดือนแล้วยังไม่เรียบร้อย
ทางสำนักงานอัยการสูงสุด จึงแถลงออกมาอย่างเป็นทางการว่า ทางสำนักงานยังไม่เคยได้รับสัญญาดังกล่าวเลย
จึงเป็นที่มาของ Drama Moderna
1
1) สำนักงานอัยการสูงสุดยืนยันว่า
ยังไม่ได้รับร่างสัญญาที่จะลงนามระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน (องค์การเภสัชกรรมกับบริษัทซิลลิคฟาร์มา)
2) ผู้บริหารรายหนึ่งของโรงพยาบาลเอกชน (ไม่ใช่สมาคมโรงพยาบาลเอกชนแห่งประเทศไทย) ให้ข่าวว่า สัญญาไปล่าช้าอยู่ที่สำนักงานอัยการสูงสุดหลายเดือนแล้ว
3) สมาคมโรงพยาบาลเอกชนยังไม่เคยให้ข่าวเรื่องการล่าช้าของสำนักงานอัยการสูงสุด แจ้งแต่เพียงว่ากำลังรวบรวมจำนวนวัคซีนที่ชัดเจน เพื่อส่งให้กับองค์การเภสัชกรรม ใช้ระบุลงไปในสัญญา
และกำหนดราคาเบื้องต้นที่ 1650 บาทต่อโดส
4) องค์การเภสัชกรรมได้แถลงเรื่องราคาที่จะจัดส่งให้ที่ 1100 บาทต่อโดส และอยู่ในการตรวจร่างสัญญาครั้งสุดท้าย ก่อนที่จะส่งให้กับสำนักงานอัยการสูงสุดต่อไป
เรื่องดราม่าสับสนดังกล่าว ถ้าประชาชนที่ไม่ได้ติดตามข่าวโดยละเอียด ก็คงไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง
แต่ถ้าไล่เรียงแล้ว ก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนของการให้ข่าวที่คลาดเคลื่อน แล้วก่อความเข้าใจผิดกับสาธารณะ
1
หนทางที่น่าจะดีที่สุดก็คือ
คณะทำงานพิจารณาจัดสรร ที่มีคุณหมอปิยะสกลเป็นประธาน น่าจะออกมาตั้งโต๊ะแถลง
โดยมีผู้ที่เกี่ยวข้องทั้ง
องค์การเภสัชกรรม
สนง.คณะกรรมการอาหารและยา
ตัวแทนสมาคมโรงพยาบาลเอกชนสำนักงานอัยการสูงสุด
เล่าเรื่องทั้งหมดอย่างเป็นระบบ
ชี้แจงให้ชัดเจน ทำให้สังคมหายสงสัย
จะได้ไม่เกิดดราม่าให้สับสนกันอีก
Reference
โฆษณา