4 ก.ค. 2021 เวลา 03:19 • สัตว์เลี้ยง
✂️DECLAW: ความจริงเบื้องหลังของ “การถอดเล็บแมว”
1
ปฏิเสธไม่ได้ว่า นอกจากเขี้ยวที่แหลมคมแล้ว กรงเล็บยังเป็นอีกหนึ่งอาวุธสำคัญของน้องแมวที่เราต้องคอยดูแลอย่างสม่ำเสมอ✨
และเชื่อมั่นว่า ทาสแมวทั้งหลายคงมีประสบการณ์เป็นอย่างดีในเรื่องการตัดเล็บแมว เพราะไม่เช่นนั้นทุกท่านอาจนำ้ตานอง หลังได้เห็นงานศิลปะชั้นเลิศบนเฟอร์นิเจอร์หนังในเช้าวันถัดมา
📍ซ้ายคือ แท่นฝนเล็บที่ทิ้งไว้จนฝุ่นจับ
📍ขวาคือ คอนโดแมวราคาหลายพันที่เปย์ซื้อให้แต่ไม่เคยชายตาแล
แม้จะเป็นเช่นนั้นเราก็คงปล่อยให้ทูนหัวทำตามใจ❤️
1
*ถึงลับหลังจะแอบกำหมัดด้วยความคับแค้นก็เถอะ* ✊🏻
ด้วยเหตุนี้เอง คนบางกลุ่มจึงเลือกวิธี “ถอดเล็บแมวถาวร” ในการแก้ปัญหา
2
แต่เป็นเรื่องน่าเศร้าที่สิ่งนี้ช่างอยู่ไกลจากความจริงที่หลายคนเข้าใจ
เพราะ เมื่อพูดถึงการถอดเล็บแมว
นั้นหมายความว่าต้อง “ตัด” เอากระดูกนิ้วข้อสุดท้ายออกมาด้วย😱‼️
3
📍เชื่อว่าในความคิดของคนทั่วไป
การถอดเล็บคงเป็นการผ่าตัดง่ายๆ ที่เอาเล็บของน้องแมวออก หรือไม่ก็เหมือนการทำเล็บ (Manicure) เสร็จแล้วก็อุ้มน้องเหมียวมือนุ่มๆ ลั้นลากลับบ้านไป
ทว่าความจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น…
🟡 การถอดเล็บแมวคืออะไรกันแน่⁉️
👉🏻Declawing หรือ Onychectomy แท้จริงแล้วคือการ “ตัด” กระดูกข้อสุดท้าย (Distal Phalanges) ของนิ้วแมวแต่ละนิ้วออก
1
เมื่อเปรียบเทียบกับมนุษย์
ขอให้ทุกคนลองชูมือขึ้นมาแล้วจินตนาการว่า เส้นข้อสุดท้ายของนิ้วมือตั้งแต่นิ้วโป้งจรดนิ้วก้อยคือตำแหน่งที่ถูกตัด ✂️🖐🏻
1
เนื่องด้วยกรงเล็บของแมวจะงอกมาจากกระดูกนี้
ดังนั้นการตัดกระดูกข้อสุดท้ายซึ่งเป็นต้นกำเนิด จึงจำเป็นต่อการทำให้แมว “ไร้กรงเล็บอย่างถาวร”
1
🟡 นอกจากนี้ยังมีอีกวิธีซึ่งให้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกัน คือ
👉🏻การ “ตัดเอ็น” หรือ Tendonectomy
2
แม้วิธีนี้จะทำให้แมวเจ็บน้อยกว่า และยังคงรักษาเล็บรวมถึงกระดูกข้อสุดท้ายไว้ได้ แต่หากปราศจากเส้นเอ็นที่ควบคุมการยึด-หด ก็ส่งผลให้แมวสูญเสียการควบคุมกรงเล็บไปในที่สุด
📍แน่นอนทั้ง 2 วิธีนี้อาจกล่าวได้ว่า
เป็นการทำให้น้องแมว “ไร้พิษสง” ซึ่งหลังกระบวนการก็ล้วนสร้างความเจ็บปวดให้น้องแมวไม่ใช่น้อย
🟢 แต่โดยทั่วไป ผู้เลี้ยงมักไม่รับรู้ ⁉️
เพราะโดยสายพันธุ์ แมวจะไม่แสดงความเจ็บปวดให้ใครเห็น โดยเฉพาะการใช้ชีวิตตามธรรมชาติ “การแสดงความเจ็บปวด” คือ สัญญาณของความอ่อนแอและเสี่ยงที่จะถูกผู้ล่าที่แข็งแรงกว่ากัดกิน
1
เหตุผลจากความจริงที่ว่า “สิ่งมีชีวิตต้องดิ้นรนเพื่อมีชีวิตอยู่รอด” ทำให้สัญชาตญาณนี้ไม่เคยจางหาย แม้กระทั่งหลังจากที่ได้กลายเป็นแมวบ้านแล้วก็ตาม
🟢 ในขณะเดียวกัน น้องแมวก็อาจไม่เคยตระหนักถึงผลข้างเคียง⁉️
เพราะขณะที่แมวอยู่กับเรา น้องไม่มีเหตุผลที่จะปกป้องตัวเอง แต่หากวันหนึ่งเกิดความจำเป็นต้องต่อสู้
เช่น ทะเลาะกับเจ้าถิ่นประจำซอย…
เมื่อน้องแมวรู้ว่าตัวเองไม่มีอาวุธติดตัวอย่าง “กรงเล็บ” อีกต่อไป ผลสุดท้ายจึงได้ “การกัด” เป็นผลข้างเคียงทางพฤติกรรมแทน😱
1
🔻นอกจากนี้ ผลเสียที่มีความเป็นไปได้สูงก็อาจเกิดขึ้น ได้แก่
1. การติดเชื้อของบาดแผลและเกิดเนื้อเยื่อตาย
2. น้องแมวอาจมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวขึ้น
3. ส่งผลต่อการยืดของกล้ามเนื้อบางส่วน เพราะสูญเสียกรงเล็บที่ใช้ควบคุม
4.น้องแมวมักมีอาการปวดหลัง ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนท่าเดิน เพราะแมวเป็นสัตว์ที่เดินด้วยปลายนิ้ว (Digitigrade)
1
5. ความเจ็บปวดขณะขุดกระบะทรายส่งผลให้น้องแมวไม่ใช้กระบะทรายอีกต่อไป และฉี่เรี่ยราด
6. กรณีตัดแค่เส้นเอ็น เปลือกเล็บจะพอกพูนมากขึ้น เมื่อไร้การดูแลจัดเล็บจากเจ้าของ และขาดการลับเล็บ เล็บก็อาจงอจิกเข้าไปในอุ้งเท้าแมวจนเป็นอันตรายได้
1
📣 ปัจจุบันการถอดเล็บแมวนับเป็นเรื่องผิดกฎหมายและมีการรณรงค์ต่อต้านในหลายประเทศ โดยเฉพาะโซนยุโรป
เช่น กรณี US
ซึ่งในอดีตการถอดเล็บแมวนับว่าเป็นเรื่องปกติที่ทุกบ้านต้องพาไปให้สัตวแพทย์ทำ เพื่อป้องกันการข่วนเฟอร์นิเจอร์และทำร้ายผู้คน
แต่ในปัจจุบัน ด้วยผลงานวิจัยที่มากขึ้นก็ชี้หลักฐานให้เห็นว่า
การถอดเล็บไม่มีความจำเป็นเอาเสียเลยและให้ผลร้ายมากกว่า
ขณะเดียวกันก็ยังเข้าข่าย “การละเมิดสวัสดิภาพสัตว์” อีกด้วย
1
ดังนั้น การถอดเล็บและการตัดเอ็นจะสงวนไว้เฉพาะในกรณี Rare Case เท่านั้น ‼️ ซึ่งจำเป็นกับตัวน้องแมวจริงๆ เช่น การกำจัดเนื้องอกที่เล็บซึ่งเป็นมะเร็ง
1
เพราะการขีดข่วนโดยใช้เล็บ และการลับเล็บด้วย คือพฤติกรรมตามปกติของแมว ซึ่งเกิดขึ้นเพื่อ ‘ลอก’ เซลล์ที่ตายแล้วออกจากกรงเล็บของมัน และเราก็ควรปล่อยให้กระบวนการเป็นไปตามธรรมชาติ🍂
1
โฆษณา