3 ก.ค. 2021 เวลา 11:09 • สุขภาพ
คาวตองฯกับโรคติดเชื้อโควิด-19( SARS CoV-2) …
ในบทความที่ผมจะทยอยเขียนลงในกลุ่มไลน์ “วิชาการคาวตองฯ” ต่อไปนี้ เป็นประสบการณ์และความเห็นส่วนตัว ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต ซึ่งผมจะพยายามทำให้ข้อมูลเป็นปัจจุบันเท่าที่ทำได้ต่อไป วันนี้จะขอเริ่มจากกลไกการทำงานของคาวตองฯที่ผมรวบรวมจากประสบการณ์และการณ์ศึกษาวิจัยส่วนตัวมาเขียนตั้งไว้ เพื่อจะดำเนินเรื่องในรายละเอียดตามหัวข้อการออกฤทธิ์ ที่ส่งผลรวมให้เกิดการรักษาโรคติดเชื้อโควิด-19 (SARS-CoV-2)ดังนี้
ก. คาวตองฯเพิ่มภูมิคุ้มกัน
ข. คาวตองฯออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
ค. คาวตองฯช่วยพยุงระบบการทำงานของสเต็มเซลล์
ในช่วงนี้ ชาวโลกกำลังแสวงหาสารเพิ่มภูมิต้านทานให้ตัวเอง เนื่องจากวิธีการต่อสู้กับโรคโควิด-19 ด้วยการใช้แมสปิดปากปิดจมูก การล้างมือบ่อยๆ การเว้นระยะห่างและการฉีดวัคซีนสารพัดยี่ห้อ ถูกพิสูจน์แล้วว่าไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้ผู้คนได้อีกต่อไป
โดยมาตรการทั้งหลายที่กล่าวมาถูกทยอยนำมาใช้อย่างเข้มข้นทั่วโลก ไม่ได้ทำให้สถิติการติดเชื้อลดลง แต่ยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ควบคู่กับจำนวนผู้เสียชีวิตมากขึ้นด้วย
เป็นบทพิสูจน์ที่ไม่อาจปฏิเสธได้ คาวตองฯมีคุณสมบัติดีๆมากมายที่จะช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพสมบูรณ์อยู่ได้ โดยเฉพาะในภาวะโรคระบาดใหญ่ครั้งนี้ ลองพิจารณาตามคุณสมบัติของคาวตองฯดังต่อไปนี้กันนะครับ
กลไกในการช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของคาวตองฯ น่าจะเป็นประเด็นที่น่าสนใจที่สุดในสถานการณ์ปัจจุบัน ผมและทีมงานได้พัฒนาคาวตองฯหมักสกัดและนำไปทดสอบประสิทธิภาพการเพิ่มภูมิคุ้มกันในหนูทดลองในห้องปฏิบัติการโดยใช้จุลินทรีย์แลคโตบาซิลลัสสองสายพันธุ์( Lactobacillus casei, L. plantarum) ที่เจริญได้ดีในน้ำหมักคาวตอง ไปทดสอบการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในหนู พร้อมทำการทดสอบภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นหนูทดลองว่า จะสามารถกำจัดเชื้อก่อโรคร้ายแรงได้อย่างไรซึ่งทีมงานได้ทำการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของหนูทดลองใน 3 ขั้นตอนคือ
1.1 กระตุ้นภูมิคุ้มกันหนูด้วยเชื้อตาย นำเชื้อที่เตรียมจากข้อ 1 มา 1010 เซลล์/มล. ต้มที่ 100oc เป็นเวลา 30 นาที แล้วฉีด subcutaneous ให้หนูตัวละ 250 ไมโครลิตร โดยใช้หนู 4 ตัว ต่อกลุ่ม booster อีกครั้งในปริมาณที่เท่ากัน ห่างจากครั้งแรก 14 วัน เก็บซีรั่มก่อนฉีดเชื้อและหลังจาก booster 10 วัน นำมาหา Antibody ต่อตัวเชื้อปริมาณ IL –2, IL –12 และ IF –  โดยวิธี ELISA
1.2 การกระตุ้นภูมิคุ้มกันหนู ด้วย DNA นำ DNA ที่เตรียมได้จากข้อ 2 จากเชื้อเดียวกันหรือผสมกัน 2 เชื้อ ในปริมาณ 250 g ต่อหนู 1 ตัว ผสมกับ Incomplete Freund Adjuvant ในปริมาณที่เท่ากันฉีดเข้า subcutancous ที่บริเวณหางและ booster อีก 1 ครั้งในปริมาณที่เท่ากัน ทำการเจาะซีรั่มก่อนและหลังฉีดเพื่อตรวจหา Antibody ต่อตัวเชื้อปริมาณ IL – 2, IL – 12 และ F –  โดยวิธี ELISA
1.3 การทดสอบ Phagocytosis และ killing นำซีรั่มที่ตรวจพบ Antibody ใน titer ต่าง ๆ กันมาทดสอบ phagocytosis และ killing ของเม็ดเลือดขาวของคนต่อเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคชนิดต่าง ๆ เช่น S. aureus, Ps. aeruginosa. Salmonella spp. Shigella spp. Berkholderia pseudomallei, E. coli และ Mycobacterium sp. (fast grower) เพื่อทดสอบการป้องกันเชื้อโรค
สรุปผลการทดลองในหนู
1. การใช้เชื้อตายและ DNA ของเชื้อ Lactobacilli ฉีดหนูสรุปผลได้ดังนี้
1.1 เชื้อตายของ L. plantarum สามารถกระตุ้นให้หนูทั้ง 4 ตัวสร้างภูมิต้านทานโดยมีระดับ IgM, IgG1, IgG2a และ IgGb ได้อย่างรวดเร็ว (10 วัน) และให้ระดับ titer สูงมากกว่า 204,800 ซึ่ง Ig ทั้งหมดสามารถ fix complement และช่วยเม็ดเลือดขาวในการทำลายเชื้อจุลินทรีย์ที่แปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 DNA ที่ถูกย่อย (fragmented DNA) ของเชื้อ L. casei สามารถกระตุ้นให้หนูทั้ง 4 ตัว สร้างภูมิต้านทานได้อย่างรวดเร็ว (10 วัน) โดยสร้างทั้ง IgM, IgG1, IgG2a, IgG2b เช่นเดียวกับเชื้อตายของ L. plantarum และให้ระดับ titer ตั้งแต่ 12,800 - มากกว่า 204,800
2. Antibody ต่อเชื้อ L. plantarum และต่อ fragmented DNA ของเชื้อ L. casei สามารถช่วยเม็ดเลือดขาวในการทำลายเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรคในหลอดทดลองซึ่งให้ผลตามระดับ Antibody ที่ได้อาจช่วยป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจจาก Group A streptococci หรือป้องกันการอักเสบในระบบต่าง ๆ จากเชื้อ S. aureus และป้องกันโรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารจากเชื้อ Salmonella หรือ Shigella ได้ ซึ่งอาจเป็นแนวทางในการนำไปสู่วัคซีนชนิด Universal vaccine ได้ในอนาคต
ในความเห็นของผม กลไกการเพิ่มภูมิคุ้มกันที่น่าสนใจของคาวตองฯ มีความน่าสนใจมากเนื่องจาก งานวิจัยที่ยกมาให้ท่านอ่านข้างต้น
เป็นการทำย้อนจากประสบการณ์ตรงในภาคสนามที่มีผู้ป่วยที่ดื่มน้ำหมักสมุนไพรคาวตอง แล้วปรากฏว่าระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายดีขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่เคยป่วยโรคหวัด(Common cold)บ่อยๆ คาวตองฯช่วยให้การเป็นหวัดไม่กลับมาเป็นอีกเลย หรือในบางคนอาจเป็นหวัดบ้างแต่จะน้อยกว่าเดิม จำนวนหรืออาการมีไข้หรือหวัดลดลงกว่าเดิม ซึ่งปกติโรคหวัด มีไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคหวัดมากกว่า 200 ชนิด โดยไรโนไวรัส(Rhinovirus) โคโรนาไวรัส(coronavirus) อดีโนไวรัส(Adenovirus) และเอ็นเทอโรไวรัส(Enterovirus)เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งสาเหตุการเป็นไข้หวัดมากหรือน้อยมาจากระบบภูมิคุ้มกันของแต่ละคน ในวงการแพทย์ไม่มีวัคซีนไข้หวัด และไม่มีวิธีรักษาโรคหวัด มีแต่ใช้การรักษาตามอาการเท่านั้นเอง
ดังนั้นการที่คนจำนวนมาก กินคาวตองฯแล้วช่วยไม่ให้เป็นหวัดเลย ย่อมหมายความว่าคาวตองฯทำหน้าที่เป็นวัคซีนครอบจักรวาลสำหรับโรคหวัด(Common cold)ได้นั่นเอง
ความน่าสนใจของคาวตองฯในการช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันยังมีอีกหลายประการเช่น กินคาวตองแล้วมีผลต่อการรักษา การติดเชื้อไวรัสเริม(Herpes simplex virus) งูสวัด(Herpes Zoster virus) ตับอักเสบชนิด เอ(Hepatitis A) ตับอักเสบชนิด เอ(Hepatitis B) ตับอักเสบชนิด ซี(Hepatitis C) หรือไวรัสอีโบลา(Ebola Virus) โรคปากเท้าเปื่อยในวัว(FMD) โรคไวรัสที่ทำให้เกิดหูดในสุนัข เป็นต้น
2. กลไกการออกฤทธิ์ของคาวตองฯในการต้านอนุมูลอิสระเกิดจากกรด คลอโรเจนิก(chlorogenic acid)และอนุพันธุ์ของกรดนี้ รวมทั้งสารแคทเตชิน(catechin)และโพรไซยานิดิน บี(procyanidin B) แต่การทำวิจัยหาสารต้านอนุมูลอิสระจากคาวตองหมักสกัดพบว่าสารที่ให้ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมาจากสารกลุ่มฟีโนลิก(phenolic compound) เช่น chlorogenic acid, Rosmarinic acid และ สารกลุ่มฟลาโวนอยด์(Flavonoid compound) เช่น catechin, quercetin โดยงานวิจัยพบว่าสารทั้งสองกลุ่มช่วยยับยั้งสารอนุมูลอิสระ DPPH และ ABTS ได้ดีมาก อันที่จริงสาร Quercetin ในคาวตองฯเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่น่าสนใจที่สุดเนื่องจาก ปริมาณที่ตรวจพบ มีมากกว่าที่ตรวจพบในคาวตองที่ไม่ผ่านการหมักสกัดหลายเท่า
นอกจากนี้ สาร Quercetin ที่ดูดซึมเข้าสู่ระบบของร่างกาย ยังช่วยเหนี่ยวนำการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระที่ร่างกายสร้างขึ้นมาใช้เองเช่น Superoxide dismutase, Glutathione และ Catalase ให้มีการทำงานที่ว่องไวขึ้นอีกด้วย ดังนั้นจะเห็นได้ว่า คาวตองฯที่ผ่านการหมักสกัด จะมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่ดีกว่า ไม่ได้หมักสกัด …
ภก.อุดม รินคำ
1 ก.ค.64
โฆษณา