4 ก.ค. 2021 เวลา 08:06 • ประวัติศาสตร์
นักเคมี ผู้ค้นพบรังสีเรเดียม ที่ใช้ยับยั้งการขยายตัวของมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคร้ายที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ มีอัตราการตายเป็นอันดับหนึ่งมาทุกยุคสมัย ด้วยผลงานที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติ ทำให้เธอได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้งด้วยกัน
มารี สกวอดอฟสกา-กูว์รี
(Maria Salomea Skłodowska-Curie)
แสตมป์มารี กูว์รี ออกโดยฝรั่งเศส Cr. frenchphilately.com/
กูว์รี เป็นชาวโปแลนด์ เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1867 ที่เมืองวอร์ซอ เขตวิสทูลา จักรวรรดิรัสเซีย ปัจจุบันเป็นประเทศโปแลนด์
หลังจบการศึกษาระดับต้นแล้ว เธอกับพี่สาวก็ทำงานด้วยการเป็นครูสอนอนุบาล โดยทั้งสองมุ่งหวังอยากไปเรียนต่อที่ฝรั่งเศส เนื่องจากมีเงินไม่พอกับค่าใช้จ่าย เธอจึงให้พี่สาวคือ บรอเนีย ไปเรียนต่อด้านแพทยศาสตร์ก่อน พอจบแล้วค่อยส่งเสียเธอเรียนต่อด้านวิทยาศาสตร์ต่อไป
Cr. thomaspjohnston.wordpress.com
เมื่อพี่สาวจบมา เธอก็ได้ไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยปารีส สมใจแต่ด้วยเงินอันน้อยนิดจากพี่สาวไม่พอต่อค่าใช้จ่าย เธอจึงดิ้นรนหางานทำ จนได้เป็นผู้ช่วยในห้องปฏิบัติการทางเคมีของปีแยร์ กูว์รี ทั้งสองแต่งงานมีลูกด้วยกัน แต่ปีแยร์เสียชีวิตก่อนเพราะอุบัติเหตุรถม้าชน
ระหว่างที่เรียนไปทำงานไป เธอก็มุ่งมั่นศึกษาทดลองไปเรื่อยๆ จนมาพบรังสีแร่ธาตุเรเดียม โดยได้มาจากแร่พิตช์เบลนด์ที่เป็นออกไซต์ชนิดหนึ่งสามารถแผ่กระจายรังสีได้ จากการเพียรพยายามทดลองมาหลายปีในการสกัดแร่ชนิดต่างๆ จนมาพบรังสีดังกล่าวทำให้เธอได้รับปริญญาเอกในการค้นพบแร่ธาตุเรเดียม
Cr. digital.sciencehistory.org
ใน ค.ศ. 1902 เธอก็สามารถสกัดแร่เรเดียมให้บริสุทธิ์ได้ เรียกว่า เรเดียมคลอไรด์ ที่สามารถแผ่รังสีได้มากกว่ายูเรเนียมหลายเท่า มีคุณสมบัติคือ ให้แสงสว่างและความร้อนได้ และเมื่อแร่นี้แผ่รังสีไปถูกวัตถุอื่น วัตถุนั้นจะเปลี่ยนสภาพเป็นธาตุกัมมันตรังสี และสามารถแผ่รังสีได้เช่นเดียวกันกับแร่เรเดียม จนทำให้เธอได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปีค.ศ. 1903
จากนั้นมาเธอยิ่งค้นคว้าเกี่ยวกับแร่เรเดียมอย่างหนัก และต่อเนื่อง ทำให้เธอได้รับรางวัลโนเบลอีกครั้งสาขาเคมีในปี ค.ศ. 1911
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งผู้คนส่วนมากล้มตายและถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร กูว์รีได้อาสาสมัครเป็นอาสากาชาดเพื่อช่วยทหารที่บาดเจ็บ ในการเอกซเรย์เคลื่อนที่ตระเวนรักษาตามหน่วยต่างๆ จนสงครามสงบเธอก็กลับมาทำงาน แต่ก็ต้องล้มป่วยเพราะผลมาจากการทำงานหนัก และโดนรังสีเรเดียม ทำให้ไขกระดูกถูกทำลายและเสียชีวิตวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1934
แสตมป์มารี กูว์รี ออกโดยฝรั่งเศส Cr. pinterest.com
แสตมป์มารี กูว์รี ออกโดยโปแลนด์ Cr. 123rf.com/
โฆษณา