3 ก.ค. 2021 เวลา 15:51 • สุขภาพ
โรคกลัวว่าตัวเองดีไม่พอ Atelophobia มีจริงๆน่ะหรอ ทำไมถึงกลัวว่าตัวเองดีไม่พอ
Cr.nuttaputch.com
สวัสดีค่าาาาาาา คิดถึงทุกคนจังเลยหลังจากหายไปนานไม่รู้ว่าจะมีใครคิดถึงกันหรือป่าวน๊าา
ท้องฟ้ว่าเรามาเข้าเรื่องกันดีกว่าค่ะ
1
ก็อย่างที่เปิดเรื่องมาเลยค่ะ โรคกลัวว่าตัวเองไม่ดีพอ เห้ยยยยย มีจริงๆหรอแล้วอาการมันจะเป็นไงอะ คือโรคนี้มีจริงๆนะคะ
ท้องฟ้าคิดว่าทุกวันนี้เรามีการแข่งขันที่สูงขึ้น และเรามักจะโหยหาความสมบูรณ์แบบให้กับชีวิตในทุกๆด้าน แต่แน่นอนว่าความรู้สึกนั้นก็มาพร้อมกับความคาดหวังที่สูงลิบลิ่วเลย บางทีความรู้สึกนั้นก็มากเกินจนมีผลเสียตามมาได้ มาดูกันค่ะ
Atelophobia นั้นคืออาการของการของการกลัวที่จะทำผิดพลาด กังวลว่ามันจะออกมาสมบูรณ์แบบ หรือกลัวว่าตัวเองจะดีไม่พอสำหรับอะไรก็ตามจนทำให้จิตตกไม่กล้าเริ่มต้นทำอะไรใหม่ ๆ เพราะกลัวความผิดพลาดและกลัวว่ามันจะไม่ดีพอ หากผลลัพธ์ที่ได้มาไม่ตรงไปตามความคาดหวัง พวกเขาจะรู้สึกว่าตัวเองล้มเหลว ผิดพลาด และมีความเครียด หรืออาจจะมีภาวะซึมเศร้าได้ โดยอาการเหล่านี้มักจะพบได้ส่วนใหญ่ในคน Gen หลังๆ รวมไปถึงคนที่เก่งและมีความสามารถหลากหลายรอบด้าน
โดยคำว่า Atelophobia มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก Atelo แปลว่า ไม่สมบูรณ์แบบ และ phobia แปลว่า ความกลัว เมื่อรวมกันแล้ว Atelophobia จึงแปลได้ว่า อาการกลัวความไม่สมบูรณ์แบบนั่นเอง
มาดูอาการกันค่ะ
คนที่เป็นโรค Atelophobia หรือกลัวความไม่สมบูรณ์แบบมักจะมีความวิตกกังวลว่าตัวเองจะทำในสิ่งที่ไม่ดีพอ กลัวว่าสิ่งที่จะทำจะไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด และหากผลลัพธ์ที่ได้มาไม่ตรงไปตามความคาดหวัง จะรู้สึกว่าตัวเองล้มเหลว ผิดพลาด และมีความเครียด หรืออาจจะมีภาวะซึมเศร้าได้
Cr.Pinterest
โดยผู้ป่วย Atelophobia รู้สึกวิตกกังวลหรือมีความกลัวในความไม่สมบูรณ์แบบขึ้นมา อาการแสดงของผู้ป่วยโรค Atelophobia จะมีดังนี้
-วิตกกังวลอย่างรุนแรง - หายใจสั้น ถี่ หายใจหอบ - หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ
- เหงื่อแตก - คลื่นไส้ อาเจียน - ปากแห้ง คอแห้ง
- สับสน ไม่เป็นตัวของตัวเอง- ขาดสมาธิ - เก็บตัว แยกตัวเองออกจากสังคม
- สูญเสียการควบคุมอารมณ์และการกระทำ
อาการของโรค Atelophobia จะค่อนข้างคล้ายกับอาการกลัวหรือโฟเบียทั่วไป ซึ่งเมื่อเจอสิ่งกระตุ้นเร้าความกลัวเหล่านั้น ก็จะมีอาการแสดงทางกายดังข้างต้น
Cr.free pix.com
ไม่เพียงเท่านั้นหากคุณอ่านมาถึงตรงนี้เรามีแนวทางการรักษามากฝากด้วย
1. การบำบัดรักษาโรคกลัวตามแนวทางการหยั่งเห็น (Insight therapy)
2. การบำบัดรักษาโรคกลัวตามแนวทางพฤติกรรมบำบัด (Behavior therapy)
3. การรักษาด้วยยา
ซึ่งในกรณีที่คนไข้มีอาการหนัก คือ อาการของโรคกลัวส่งผลกระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้ใช้ชีวิตแบบคนปกติได้ยาก แพทย์อาจให้ยาจิตเวชเพื่อช่วยบรรเทาอาการของโรคร่วมด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก ม.หัวเฉียว
เป็นยังไงคะทุกคนพอมาเจอโรคนี้แล้วพยายามทำตัวให้ผ่อนคลายนะคะ ท้องฟ้าคิดว่าเป็นโรคที่อาจจะเกิดได้กับทุกคนเลยนะ เเต่ก็เป็นเพียงโรคทางจิตวิทยามีทางรักษาได้
การแข่งขันสูงก็จริงแต่เราต้องเชื่อว่าเราทำได้ เพียงเเค่คิดว่าทำได้ก็สำเร็จไปครึ่งนึ่งเเล้ว
อาจารย์ที่คณะท้องฟ้าชอบให้กำลังใจนิสิตเเบบนี้เสมอเลย
เอาหละท้องฟ้าคิดว่าเดี๋ยวบทความจะยาวไปมาเจอกันที่บทความหน้านะคะ
สำหรับพรุ่งนี้ก็ขอให้เป็นวันที่สดใสนะคะ
โฆษณา