5 ก.ค. 2021 เวลา 12:20 • สิ่งแวดล้อม
ผักชี ของดีที่ไม่ได้ดีแค่โรยหน้า
ภาพโดย ReStyled Living จาก Pixabay
เมื่อนึกถึงไข่เจียวร้อนๆ นอกจากไข่สีเหลืองอร่ามแล้ว ข้างบนไข่เจียวยังมีผักชนิดหนึ่ง ที่มักถูกนำไปเปรียบเทียบว่าเป็นผักโรยหน้า ผักชีมักถูกนำไปตกแต่งจานอาหารเพื่อเพิ่มความน่ารับประทานให้กับอาหารชนิดนั้น ถึงจะไม่ได้เป็นส่วนผสมหลัก แต่ผักชีก็ถือว่ามีความสำคัญ และยังมีประโยชน์มากมายที่หลายๆคนอาจจะนึกไม่ถึง
1
#ผักชีคืออะไร
ผักชีเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กในวงศ์ผักชี(Apiaceae หรือ Umbelliferae) ผักชีเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ใน เมดิเตอร์เรเนียนและเอเชียตะวันตก(ตะวันออกกลาง) มีการค้นพบว่าผักชีถือใช้เป็นเครื่องเทศมามากกว่า3,500ปี จากการค้นพบเจอในหลุมศพของชาวอียิปต์ ในสมัยก่อนคาดว่าใช้เพื่อแต่งกลิ่นเหล้า ไวน์และในซุปต่างๆ แม้กระทั่งในแยมก็ยังมีการใส่ผักชีลงไป
1
ภาพโดย silviarita จาก Pixabay
#ผักชีกับอารยธรรมมนุษย์
ผักชีมีชื่อในภาษาอังกฤษว่าCoriander มาจากภาษากรีกคือคำว่า Korisแปลว่าbug(แมลง) เพราะว่ากลิ่นของลูกผักชีมีกลิ่นคล้าย bed bug(ตัวเรือด) ผักชีได้ถูกนำไปปลูกหลายที่ทั่วโลก มีการนำมาปลูกในยุโรปยุคกลางและจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่นประมาณ1,600ปีที่แล้ว และผักชียังเป็นพืชที่แทบทั่วโลกรู้จักและยังนำไปใส่ในอาหารอย่างมากมาย อย่างในประเทศไทยก็อย่างเช่น ใส่ในลาบ ก้อย ก๋วยเตี๋ยวหรือทานแบบสดๆก็มีให้เห็นอยู่ทั่วไป
1
ภาพโดย RitaE จาก Pixabay
#ผักชีกับสังคมไทย
ผักชีโรยหน้า เป็นคำเปรียบเปรยว่าเป็น การทําความดีเพียงผิวเผิน หลายๆคนคงคิดว่า ที่ผักชีถูกนำมาเปรียบเทียบแบบนี้ ก็เพราะว่าพืชชนิดนี้อยู่คู่กับคนไทยมานาน แต่ความเป็นจริงแล้วไม่ใช่อย่างนั้นเพราะผักชีไม่ได้มีต้นกำเนิดในประเทศไทย แต่สันนิษฐานว่ามากับชาวจีนในสมัยอยุธยา ในยุคก่อนผักชีไม่เป็นที่นิยมในการทำอาหารมากนัก เพราะมีกลิ่นฉุนแรง ในสมัยก่อนจึงมักนำมาใช้โรยหน้าเท่านั้น จึงเป็นที่มาของผักชีโรยหน้า และในยุคต่อๆมาก็เริ่มนำมาใช้มากกว่าโรยหน้าแล้ว
ภาพโดย Arek Socha จาก Pixabay
#การใช้ประโยชน์จากผักชี
ผักชีเป็นพืชที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน โดยส่วนมากใบและลำต้นมักจะถูกนำไปหั่นเพื่อใส่ในอาหาร โรยบนหน้าอาหาร เพื่อเพิ่มกลิ่นหอม ทำให้อาหารน่ารับประทานขึ้น ส่วนรากผักชี จะนำไปต้มในน้ำซุป นำไปหมักเนื้อสัตว์ ส่วนเมล็ดผักชีหรือลูกผักชี มักจะใช้เป็นส่วนประกอบของพริกแกงเผ็ด ในผงกะหรี่ ดับกลิ่นคาวเนื้อของสัตว์ จะเห็นได้ว่าผักชีมีประโยชน์ทุกส่วนเลยครับ
ภาพโดย PDPics จาก Pixabay
#ความนิยมของผักชี
นอกจากประเทศไทยที่บริโภคผักชีกันจนชินตาแล้ว ทั่วโลกก็ไม่แพ้ไทยเราในเรื่องการบริโภคผักชี เมื่อปีค.ศ 2016 ในประเทศญี่ปุ่นมีการนิยมทานผักชนิดนึงชื่อว่า パクチー(pakuji)พะคุจี หรือผักชีนั้นเอง ซึ่งในภาษาญี่ปุ่นทับศัพท์มาจากภาษาไทย มีการทำผลสำรวจ สุดยอดอาหารในปี2016 พบว่าผักชีได้รับคะแนนอันดับ1 จากชาวญี่ปุ่น และชาวญี่ปุ่นไม่ได้ทานผักชีเพียงเล็กน้อย แต่ทานเป็นผักชีแบบบุฟเฟต์เลยทีเดียว นอกจากนี้ยังนำไปดัดแปลงเป็นไอศครีมผักชี ข้าวปั้นผักชีและอีกหลายอย่างที่เราแทบจะคิดไม่ถึง งานประกาศผลสุดยอดอาหารประจำปี 2016 ยังได้เชิญ นายบรรสาน บุนนาค เอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียวมาเป็นรับรางวัลในฐานะที่ ผักชี เป็นตัวแทนอาหารไทยอีกด้วย
1
#ประโยชน์ของผักชี
ผักชีแก้ปัญหาท้องผูก เนื่องจากในผักชีมีเส้นใยอาหารที่อาจจะเป็นประโยชน์ต่อระบบขับถ่าย
1
ผักชีรักษาโรคลำไส้แปรปรวน
มีการทดลองนำผักชีไปเป็นส่วนประกอบหนึ่งเพื่อรักษาอาการของผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวน หลังจากผู้ป่วยบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของผักชีทุกวันหลังอาหารเป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าอาการปวดท้องและท้องอืดได้บรรเทาลง แต่ผลิตภัณฑ์ที่ใช้รักษาผู้ป่วย มีส่วนประกอบของพืชชนิดอื่นอย่างสเปียร์มิ้นต์และสะระแหน่ฝรั่งด้วย
ผักชีต้านการอักเสบของในโรคผิวหนัง
เคยมีการวิจัยในหลอดทดลองพบว่าผักชีอาจมีฤทธิ์ต้านการอักเสบจากผิวไหม้แดดได้ จึงมีการทดลองนำโลชั่นที่มีส่วนผสมของน้ำมันผักชีมาทาบนผิวของอาสาสมัคร จากนั้นจึงให้ผิวหนังสัมผัสแสงแดดและสังเกตรอยแดงที่เกิดขึ้นกับผิวหนังบริเวณนั้น จึงพบว่าโลชั่นจากผักชีช่วยลดการเกิดรอยแดงและทำให้ไม่เกิดการระคายเคืองได้ง่าย
ส่วนในตำรายาไทยมีประโยชน์ดังนี้
ผลผักชี แก้พิษตานซาง ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ แก้สะอึก แก้กระหายน้ำ แก้คลื่นไส้อาเจียน เป็นน้ำกระสาย ยาแก้อาเจียน แก้ตาเจ็บ แก้ลมวิงเวียน บำรุงกระเพาะอาหาร ทำให้เจริญอาหาร แก้บิด ถ่ายเป็นเลือด คั่วบดผสมสุรากินแก้ริดสีดวงทวารมีเลือดออก ต้มเอาน้ำมาอมบ้วนปาก แก้ปวดฟัน แก้เจ็บในปากคอ
ภาพโดย Hans Braxmeier จาก Pixabay
#ทานผักชีแต่พอควร
ในปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดปริมาณในการทานผักชีในปริมาณที่เหมาะสม ผู้ที่รับประทานผักชี ควรจะทานแค่พอควรไม่มากเกินไปและคำนึงถึงอายุและโรคประจำตัว
การบริโภคผักชีอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ปวดท้อง ท้องเสียรุนแรง ประจำเดือนมาไม่ปกติ ภาวะขาดน้ำ ภาวะซึมเศร้า อาการแพ้ต่อสาร ผิวหนังหมองคล้ำ หรือผิวไวต่อแดด
หากผิวหนังสัมผัสกับผักชี อาจเกิดอาการระคายเคืองผิวหนัง หรือผิวหนังอักเสบได้
ผู้ที่มีอาการแพ้พืชอย่างจิงจูฉ่าย ผักชีล้อม ผักชีลาว เมล็ดยี่หร่า เมล็ดผักชี หรือพืชในตระกูลที่ใกล้เคียงกัน อาจจะเกิดอาการแพ้จากผักชีได้เช่นกัน
ผู้ที่มีระดับความดันโลหิตต่ำ หรือผู้ที่กำลังใช้ยาที่ทำให้ความดันโลหิตลดต่ำลง ควรทานผักชีอย่างระมัดระวัง เพราะผักชีอาจทำให้ระดับความดันโลหิตลดลงจนเป็นอันตรายได้
1
ภาพโดย silviarita จาก Pixabay
ก็จบไปแล้วสำหรับ ผักชีของดีที่ไม่ได้ดีแค่โรยหน้า ผักชีอยู่คู่กับอารยธรรมมนุษย์อย่างยาวนานเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีเกือบทั่วโลก จึงมักเข้าไปอยู่ในอาหารในหลากหลายชาติ แม้กระทั่งประเทศไทยเราด้วย เป็นพืชที่มีสรรพคุณหลากหลายอย่าง แต่ก็ควรทานในปริมาณที่เหมาะสมด้วย
อ้างอิง
โฆษณา