5 ก.ค. 2021 เวลา 09:58 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
สไตรีนโมโนเมอร์ อันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ และก่อมะเร็ง
เหตุการณ์ระเบิดและเพลิงไหม้โรงงานผลิตโฟม กิ่งแก้ว 21 จ.สมุทรปราการ มีการสั่งอพยพประชาชนในรัศมี 5 กิโลเมตร เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากแรงระเบิดและการสูดดมสารพิษที่เกิดจากการเผาใหม้สาร "สไตรีนโมโนเมอร์"
1
สไตรีนโมโนเมอร์ (Styrene Monomer) คืออะไร แล้วอันตรายแค่ไหน
ลักษณะทางกายภาพ
เป็นของเหลวใส ข้นหนืด มีกลิ่นหอม
การใช้งาน
1. เป็นส่วนผสมเพื่อแยกชนิดน้ำมัน
2. ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตโพลีสไตรีน (Polystyrene) หรือ โฟม
3. ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตพลาสติกชนิดพิเศษและยางสังเคราะห์ เช่น พลาสติก ABS (Acrylonitrile butadiene styrene, SAN (Styrene acrylonitrile) และยางสังเคราะห์ SBR (Styrene butadiene rubber)
อันตรายและผลต่อสุขภาพ
1
สไตรีนโมโนเมอร์ สามารถติดไฟได้ง่าย ในอุณหภูมิมากกว่า 31 องศาเซลเซียส จะมีความไวไฟมากขึ้น การดับเพลิงต้องใช้น้ำยาคาร์บอนไดออกไซด์หรือเคมีแห้ง
แม้จะมีกลิ่นหอมจางๆ แต่ถ้ามีความเข้มข้นสูงกลิ่นจะฉุน เป็นจุดสังเกตได้ว่ามีสไตรีนเข้มข้นสูงรั่วไหลหรือไม่ ดังนั้นหากได้กลิ่นต้องหลีกเลี่ยงเพราะจะส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ
1
Photo : https://pixabay.com/
เมื่อสูดดมเข้าไปอาจมีอาการระคายเคืองจมูกและคอ ปวดหัว มึนงง อ่อนเพลีย คลื่นไส้ หากได้รับปริมาณมากจะมีอาการชักและเสียชีวิตได้
เมื่อสไตรีนโมโนเมอร์เกิดการเผาไหม้จะเกิดสารก่อมะเร็งคือเบนซีน และก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ปลดปล่อยออกมาด้วย
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
1. นำผู้ป่วยออกจากจุดที่มีการสัมผัสทันที ให้อยู่ในสถานที่อากาศถ่ายเท
2. ล้างร่างกาย ดวงตา หรือจุดที่สัมผัสด้วยน้ำเปล่า 2-3 นาที แต่หากกินเข้าไป ห้ามทำให้อาเจียน
3. หากพบว่ามีปัญหาในการหายใจ ต้องให้ออกซิเจนเสริม
4. นำส่งแพทย์
โฆษณา