19 ก.ค. 2021 เวลา 10:00 • สุขภาพ
⁉️กินยาคุมนานๆ จะเป็นมะเร็งมั้ย⁉️
ยาคุมกำเนิด ทำให้เกิดมะเร็งจริง?
หรือ ช่วยป้องกันมะเร็งกันแน่?
คงเคยได้ยินกันบ้าง เรื่องยาคุมทำให้เกิดมะเร็ง
โดยเฉพาะ “มะเร็งเต้านม” !!
กินยาคุมนานๆ เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งจริงมั้ย
แล้วมีมะเร็งอะไร ที่ยาคุมช่วยลดความเสี่ยงได้
🌟 พ.แพร์ วันนี้ จะพามาดู ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งกับการกินยาคุมกำเนิด ค่า
ขอบคุณภาพจาก www.freepik.com
🌟 ยาคุมกำเนิด เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งจริงมั้ย
📌 มะเร็งเต้านม
- การเกิดมะเร็งเต้านม สัมพันธ์กับฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งก็คือฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ซึ่งมีในยาคุมกำเนิด และยาฮอร์โมนทดแทนในวัยทอง
- ในยาเม็ดคุมกำเนิด มียาฮอร์โมนทั้ง2ตัวนี้ แต่ปริมาณน้อยมากๆ
- ก่อนหน้านี้มีการศึกษาพบว่า มะเร็งเต้านมอาจเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในคนที่กินยาคุมกำเนิดต่อเนื่องเป็นเวลานาน แต่หากหยุดกินยาคุมแล้ว ความเสี่ยงจะกลับมาเท่าเดิม
✨ มีการศึกษาใหญ่ในปี 2010
รวบรวม 79 การศึกษา (ปี 1960-2010) พบว่า
- ไม่พบความเสี่ยงมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น ในหญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิด
- แต่ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเล็กน้อย (น้อยกว่า 10%) ในหญิงที่ใช้ยาคุมนานเกิน 5 ปี
- ในหญิงอายุน้อยกว่า 25 ปี ลดการเกิดมะเร็งเต้านมเล็กน้อยด้วยซ้ำ
- โดยรวมแล้ว สรุปว่ายาคุมกำเนิดแทบจะไม่มีผลกับการเกิดมะเร็งเต้านม แต่แนะนำการใช้อย่างระวัง
1
📌 มะเร็งปากมดลูก
- มีการศึกษาพบว่าการกินยาคุมกำเนิดนานเกิน 5 ปี เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกได้ 1.5-3 เท่า โดยเฉพาะในคนที่มีเชื้อ HPV อยู่เดิม (ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปากมดลูก)
- แต่ความเสี่ยงลดลงเท่าคนปกติ หลังหยุดใช้ยาคุมนานเกิน 10 ปี
- อย่างไรก็ตาม ยังเป็นข้อถกเถียงกันว่า คนที่ใช้ยาคุมกำเนิดนั้น ไม่ได้ใส่ถุงยางอนามัย ทำให้มีโอกาสได้รับเชื้อ HPV มามากกว่าคนทั่วไป
++ ติดตามเรื่อง มะเร็งปากมดลูก เพิ่มเติม ได้ที่
🌟 ยาคุมกำเนิด ป้องกันมะเร็งอะไรได้บ้าง
- ยาคุมกำเนิดช่วยป้องกันมะเร็งได้ โดยที่มีการศึกษาแล้ว คือ มะเร็งรังไข่ มะเร็งโพรงมดลูก และมะเร็งลำไส้
📌 มะเร็งรังไข่
- การกินยาคุมกำเนิดต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปี ช่วยลดการเกิดมะเร็งรังไข่ได้ถึง 50%
- หากกินต่อเนื่องเกิน 5 ปี ยังพบว่าช่วยลดได้มากกว่านั้น และอาจลดได้ถึง 80% กรณีกินต่อเนื่อง 10 ปี
1
📌 มะเร็งโพรงมดลูก
- กินยาคุมกำเนิดต่อเนื่องนานๆ ช่วยลดการเกิดมะเร็งโพรงมดลูกได้เกือบ 50%
1
📌 มะเร็งลำไส้
- ยาคุมกำเนิดอาจช่วยลดมะเร็งลำไส้ได้ เช่นกัน แต่ลดได้ไม่เยอะเท่ามะเร็งรังไข่และมะเร็งโพรงมดลูก
3
🌟 พ.แพร์ สรุปให้
📌 ยาคุมกำเนิด มีผลต่อการเกิดมะเร็งบางชนิด
✨ มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเล็กน้อย หากใช้ต่อเนื่องนานเกิน 5 ปี
แต่หากหยุดใช้ยา ความเสี่ยงจะกลับมาเท่าคนปกติ
✨ มะเร็งรังไข่ มะเร็งโพรงมดลูกและมะเร็งลำไส้
การกินยาคุมกำเนิดต่อเนื่องนานๆ ช่วยลดการเกิดมะเร็งเหล่านี้ได้
1
📌 อย่างไรก็ตาม ควรเลือกกินยาคุมกำเนิดให้ตรงตามข้อบ่งชี้และความจำเป็น
++ ติดตามเรื่อง วิธีคุมกำเนิด เพิ่มเติม ได้ที่ แคร์เรื่องหญิง
.
.
.
ฝากติดตามฟัง “Porpear” ได้ที่
#porpear #porpearpodcast #porpearchannel
#porpearพแพร์แคร์เรื่องหญิง #พแพร์แชร์ให้รู้
#ยาคุมกำเนิดกับมะเร็ง #ยาคุมกับมะเร็งเต้านม
#ยาคุมป้องกันมะเร็ง
Ref.
- Wiesław Kanadys, et al. Use of Oral Contraceptives as a Potential Risk Factor for Breast Cancer: A Systematic Review and Meta-Analysis of Case-Control Studies Up to 2010. J Environ Res Public Health. 2021
- Angiolo Gadducci ,et al. Estro-progestin Contraceptives and Risk of Cervical Cancer: A Debated Issue. Anticancer Res. 2020
- ขอบคุณภาพจาก www.freepik.com

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา