6 ก.ค. 2021 เวลา 02:00 • ประวัติศาสตร์
“จักรวรรดิเปอร์เซีย (Persian Empire)”
“จักรวรรดิเปอร์เซีย (Persian Empire)” คือดินแดนที่มีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณที่ปัจจุบันคืออิหร่าน และครองความยิ่งใหญ่มาเป็นเวลานาน
จักรวรรดิแห่งนี้ได้รับการก่อตั้งเมื่อราว 550 ปีก่อนคริสตกาล โดยผู้ก่อตั้งจักรวรรดิแห่งนี้คือ “พระเจ้าไซรัสมหาราช (Cyrus the Great)” และทำให้จักรวรรดิแห่งนี้กลายเป็นหนึ่งในอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก กินพื้นที่ตั้งแต่คาบสมุทรบอลข่านในยุโรป ไปจนถึงลุ่มแม่น้ำสินธุในอินเดีย
พระเจ้าไซรัสมหาราช (Cyrus the Great)
จักรวรรดิแห่งนี้ มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า “จักรวรรดิอะคีเมนิด (Achaemenid Empire)” และได้กลายเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรม ศาสนา ศิลปะและเทคโนโลยี มาเป็นเวลานานกว่า 200 ปี ก่อนจะถูกกองทัพของ “พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great)” รุกราน
3
จุดเริ่มต้นของจักรวรรดิเปอร์เซีย เกิดจากการรวมกลุ่มของเหล่าชนเผ่าเร่ร่อนที่เลี้ยงสัตว์ตามที่ราบสูงในอิหร่าน
2
“พระเจ้าไซรัสมหาราช (Cyrus the Great)” หนึ่งในผู้นำชนเผ่า ได้เริ่มยกทัพเอาชนะอาณาจักรใกล้เคียงหลายแห่ง รวบรวมแต่ละเผ่าเป็นปึกแผ่น และสถาปนา “จักรวรรดิเปอร์เซีย (Persian Empire)” หรืออีกชื่อคือ “จักรวรรดิอะคีเมนิด (Achaemenid Empire)” เมื่อ 550 ปีก่อนคริสตกาล
พระเจ้าไซรัสมหาราช (Cyrus the Great)
จักรวรรดิเปอร์เซียภายใต้การปกครองของพระเจ้าไซรัสมหาราช ได้กลายเป็นดินแดนมหาอำนาจดินแดนแรกๆ ของโลก โดยดำรงอยู่อย่างเป็นปึกแผ่น
พระเจ้าไซรัสมหาราชเป็นผู้นำที่มีพระปรีชาสามารถ มีบันทึกว่าเมื่อ 539 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์ทรงเข้าพิชิตบาบิโลน ทำให้จักรวรรดินีโอ บาบิโลนสิ้นสุดลง
“พระเจ้าดาไรอัสมหาราช (Darius the Great)” กษัตริย์องค์ที่สี่แห่งจักรวรรดิอะคีเมนิด ได้ปกครองจักรวรรดิเปอร์เซียในช่วงเวลาที่อาณาจักรแห่งนี้มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุด กินพื้นที่ตั้งแต่เทือกเขาคอเคซัสและเอเชียตะวันตก ไปจนถึงมาซิโดเนีย ทะเลดำ เอเชียกลาง และครอบคลุมถึงแอฟริกากลาง รวมพื้นที่บางส่วนของลิเบียและอียิปต์
4
พระเจ้าดาไรอัสมหาราช (Darius the Great)
พระเจ้าดาไรอัสมหาราช ทรงทำให้อาณาจักรเป็นปึกแผ่นผ่านการกำหนดมาตรฐานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเงินตรา รวมทั้งการชั่งตวง การกำหนดให้ภาษาอราเมอิกเป็นภาษาประจำชาติ และก่อสร้างถนนอีกหลายสาย
ในช่วงที่รุ่งเรืองของรัชสมัยพระเจ้าดาไรอัสมหาราช จักรวรรดิเปอร์เซียทอดยาวตั้งแต่คาบสมุทรบอลข่าน ไปจนถึงลุ่มแม่น้ำสินธุในอินเดียและภาคใต้ของอียิปต์
ชาวเปอร์เซียยังเป็นชนกลุ่มแรกที่สร้างเส้นทางการติดต่อระหว่างสามทวีป นั่นคือแอฟริกา เอเชีย และยุโรป และยังสร้างถนนอีกหลายสาย รวมทั้งเป็นดินแดนแห่งแรกที่มีระบบไปรษณีย์
1
ทางด้านศิลปวัฒนธรรม ชาวเปอร์เซียมีศิลปะหลายแขนง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องโลหะ การทอผ้า และสถาปัตยกรรมต่างๆ
ที่มีชื่อเสียงมากก็คือการทอเสื่อ โดยเสื่อเปอร์เซียนั้นเก่าแก่ สามารถย้อนประวัติไปได้ตั้งแต่สมัยที่อาณาจักรยังเป็นชนเผ่าเร่ร่อน โดยเสื่อเปอร์เซียนั้นมีความสวยงาม เป็นที่ดึงดูดใจ
1
เสื่อเปอร์เซีย
ทางด้านศาสนา หลายคนอาจคิดว่าชาวเปอร์เซียน่าจะนับถือศาสนาอิสลาม แต่อันที่จริง อิสลามเพิ่งจะมามีบทบาทในเปอร์เซียภายหลังจากที่อาหรับเข้ายึดครองเปอร์เซียในศตวรรษที่เจ็ด
ศาสนาแรกที่มีอิทธิพลในเปอร์เซียคือ “ศาสนาโซโรอัสเตอร์ (Zoroastrianism)”
1
โซโรอัสเตอร์เป็นศาสนาที่นับถือพระเจ้าองค์เดียว และเก่าแก่ที่สุดศาสนาหนึ่งในโลก และในทุกวันนี้ บางพื้นที่ของอิหร่านและอินเดีย ก็ยังมีคนนับถือศาสนานี้
1
ศาสนาโซโรอัสเตอร์ คาดว่ามีอายุระหว่าง 1,500-500 ปีก่อนคริสตกาล มีหลักคำสอนให้นับถือพระเจ้าเพียงองค์เดียว ไม่นับถือพระเจ้าหลายองค์
กษัตริย์แห่งเปอร์เซียก็ศรัทธาในศาสนาโซโรอัสเตอร์ หากแต่พระเจ้าไซรัสมหาราชทรงให้ประชาชนนับถือศาสนาได้อย่างเสรี ไม่บังคับให้ผู้คนในดินแดนที่พระองค์ยึดมา ต้องมานับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์
5
ต่อมา จักรวรรดิเปอร์เซียได้เข้าสู่ยุคตกต่ำ ภายหลังจากล้มเหลวในการรุกรานกรีซเมื่อ 480 ปีก่อนคริสตกาล
1
การสงครามและการป้องกันอาณาจักร ทำให้จักรวรรดิเปอร์เซียหมดงบประมาณไปมหาศาล ทำให้รัฐบาลต้องรีดภาษีจากประชาชน ขึ้นภาษี
ในที่สุด ราชวงศ์อะคีเมนิดที่ปกครองเปอร์เซียก็ถึงคราวล่มสลาย เมื่อกองทัพของ “พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great)” แห่งมาซิดอน ได้ยกทัพบุกเปอร์เซียเมื่อ 330 ปีก่อนคริสตกาล
ในภายหลัง ผู้ปกครองเปอร์เซียก็พยายามที่จะกอบกู้จักรวรรดิเปอร์เซีย หากแต่ก็ไม่สามารถทำให้อาณาจักรแห่งนี้กลับมายิ่งใหญ่เหมือนในรัชสมัยพระเจ้าไซรัสมหาราช
จักรวรรดิเปอร์เซีย คืออีกหนึ่งประวัติศาสตร์ของจักรวรรดิที่เคยรุ่งเรือง ก่อนจะล่มสลายในเวลาต่อมา
โฆษณา