5 ก.ค. 2021 เวลา 15:07 • สุขภาพ
วัคซีนบริษัท Pfizer เมื่อเจอไวรัสสายพันธุ์ Delta ที่อิสราเอล ประสิทธิผลลดลงจาก 94% เหลือ 64%
สถานการณ์โรคระบาดโควิดครั้งนี้ สร้างความโกลาหลวุ่นวายให้กับชาวโลกเป็นอย่างมาก
มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยสามประการได้แก่
1) ชนิดของไวรัสที่มีการกลายพันธุ์อยู่ตลอดเวลา
2) วัคซีนที่มีหลากหลายเทคโนโลยีหลายบริษัท และพัฒนาอยู่ตลอดเวลา
3) ประเทศต่างๆที่มีการออกมาตรการที่เปลี่ยนแปลงไปมาอย่างต่อเนื่อง
ในกรณีของไวรัส กลุ่มที่เป็นไวรัสน่ากังวล (VOC) ประกอบด้วยสี่ชนิดด้วยกันได้แก่
1) อัลฟ่าหรืออังกฤษ
2) เบต้าหรือแอฟริกาใต้
3) แกมมาหรือบราซิล
4) เดลต้าหรืออินเดีย
1
โดยสายพันธุ์ที่มีความสามารถในการแพร่ระบาดที่รวดเร็วและกว้างขวางที่สุดในขณะนี้คือ สายพันธุ์เดลต้า
ส่วนวัคซีนที่แพร่หลาย มีการประกาศใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน(EUA)ในขณะนี้ ส่วนใหญ่อยู่ใน 4 เทคโนโลยีประกอบด้วย
1) วัคซีน mRNA ได้แก่ Pfizer และ Moderna
2) วัคซีนเชื้อตาย ได้แก่ Sinovac และ Sinopharm
3) วัคซีนไวรัสเป็นพาหะ ได้แก่ AstraZeneca และ Johnson & Johnson
4) วัคซีนโปรตีนเป็นฐาน ได้แก่ Novavax
ซึ่งดูเหมือนว่าคนทั่วไปจะคุ้นเคยกับ สถิติตัวเลขประสิทธิผลในอาสาสมัคร (Efficacy) มากกว่าประสิทธิผลในโลกแห่งความเป็นจริง
(Effectiveness) ซึ่ง Efficacy ในเบื้องต้นของ Pfizer จะค่อนข้างสูง
ประเทศที่มีการติดเชื้อ พบว่าประเทศที่ได้รับการฉีดวัคซีนในลำดับต้นของโลกคือ อิสราเอล
ขณะนี้ฉีดครบสองเข็มไปแล้ว 57% และประชากรที่อายุมากกว่า 50 ปีได้ฉีดไปแล้วถึง 88%
เมื่อดูทั้งสามปัจจัยร่วมกัน ได้แก่ ศึกษาในประเทศที่มีการฉีดวัคซีนสูงลำดับต้นคืออิสราเอล และฉีดด้วยวัคซีนที่เชื่อกันว่ามีประสิทธิผลสูงคือของ Pfizer ซึ่งเป็นเทคโนโลยี mRNA และดูว่าจะต่อสู้กับไวรัสที่มีการแพร่ระบาดสูงสุดคือ Delta ผลจะเป็นอย่างไร
Hebrew University ในอิสราเอลได้รายงานว่า
1) ขณะนี้ในประเทศอิสราเอล มีไวรัสสายพันธุ์เดลต้าในผู้ติดเชื้อใหม่มากถึง 90%
โดยที่เมื่อสองสัปดาห์ก่อน พบเพียง 60% แสดงว่าไวรัสสายพันธุ์เดลต้าแพร่รวดเร็วมาก
2) ส่วนใหญ่ของผู้รับวัคซีนในอิสราเอล จะเป็นวัคซีนของ Pfizer
1
จึงมีการเก็บข้อมูลประสิทธิผลในช่วงวันที่ 2 พค.-5 มิย. ได้ประสิทธิผลของวัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อได้ 94.3%
แต่ในช่วง 6 มิย.-3 กค.(ซึ่งร่วมไปกับการผ่อนคลายมาตรการของรัฐบาลด้วย) ประสิทธิผลลดเหลือเพียง 64%
แต่ในส่วนของประสิทธิผลในการป้องกันการป่วยหนักหรือต้องนอนโรงพยาบาลยังคงดีอยู่คือ
ลดลงจาก 98.2% ลงมาเป็น 93%
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือ ในจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่นั้น 55% ฉีดวัคซีนแล้ว และมีบางรายมีอาการหนักด้วย
1
ทางผู้บริหารระดับสูงของบริษัท Pfizer ได้ออกมาให้ความเห็นว่า เป็นไปได้ที่ผู้ได้รับวัคซีน Pfizer ครบสองเข็มแล้ว เมื่อเจอไวรัสสายพันธุ์ใหม่อาจจะต้องมีการฉีดกระตุ้นเข็มสามซึ่งควรจะเกิดขึ้นไม่เกิน 12 เดือนหลังฉีดเข็มสอง
รัฐบาลอิสราเอลเอง ก็กำลังพิจารณาการฉีดวัคซีนเข็มสาม รวมทั้งการยกระดับเข้มงวดมาตรการอีกครั้ง หลังจากที่มีการผ่อนคลายไปได้ไม่นานนัก
โควิด-19 จึงเป็นปัญหาของชาวโลกที่จะต้องต่อสู้ขับเคี่ยวกันต่อไปอีกนานทีเดียว
Reference
โฆษณา