6 ก.ค. 2021 เวลา 04:09 • ไลฟ์สไตล์
เหตุผล ที่พ่อแม่ไม่ควรเปรียบเทียบลูกตัวเองกับลูกชาวบ้าน
“หนูก็เก่งในแบบของหนู อย่าคาดหวังว่าหนูจะเป็นเหมือนคนอื่น”
พ่อแม่หลายต่อหลายคนต่างตั้งความหวัง และ อยากเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวลูก ยิ่งสังคมที่มีการแข่งขัน หลายๆสิ่ง ที่พ่อแม่คิดว่าดี คิดว่าเหมาะกับลูก พ่อแม่ก็จะเป็นฝ่ายเลือกให้ทั้งหมด เลือกให้ทุกอย่าง โดยไม่เคยถามลูกตัวเองเลยสักนิด ว่าชอบสิ่งนั้นไม่ และที่ยิ่งแย่กว่านั้น เมื่อลูกทำในสิ่งที่หวังไว้ไม่ได้ การเปรียบเทียบก็มักจะเกิดขึ้นตามมา คำนี้เป็นคำที่พูดเบาๆ แต่คนที่รับฟังกลับรู้สึก ไม่ว่าจะเป็น “ทำไมลูกคนนั้นทำได้” หรือ “ทำไมไม่ขยัน เหมือนพี่” อย่าว่าแต่เปรียบเทียบกับลูกชาวบ้านเลย ขนาดกับพี่ก็โดนเปรียบเทียบเป็นประจำ ยิ่งพี่น้องวัยไล่เรี่ยกันนี่ จะโดนเปรียบเทียบบ่อยๆ สิ่งที่พูดมาทั้งหมดนี้ บอกเลยว่า เป็นวิธีที่ผิดมากๆเลยนะค่ะ วันนี้เราจะมาแยก ผลที่เกิดขึ้นตามมา 5 ข้อ ด้วยกัน
1. เด็กจะมีความมั่นใจน้อยลง
การเปรียบเทียบวัตถุประสงค์หลัก ของพ่อแม่ คือ ต้องการให้ลูกผลักดันกระตือรือร้น แต่ เด็กก็ยังคงเป็นเด็กค่ะ ความรู้สึกแรก ที่เขารู้สึก เขาจะคิดว่า เขาไม่ดีไม่เก่ง สู้คนอื่นไม่ได้ ส่งผลให้มันเป็นปมในใจเด็ก กลับกลายเป็นความรู้ด้านลบที่ติดตัวเด็กคนนั้นไป และตรงนี้จะส่งผลไปกดให้เด็กไม่กล้าจะแสดงออกในสิ่งที่เขาอยากจะเป็น
2. ขี้อิจฉา ชอบเปรียบเทียบตลอดเวลา
เด็กจะมีความรู้สึกเหมือนชีวิตนี้ ฉันเกิดมาเพื่อการแข่งขัน ทั้งชีวิตฉันต้องเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่นตลอดเวลา ทำให้การใช้ชีวิตแต่ละวันมันไม่มีความสุขเลย การที่เทียบระดับกับคนที่ต่ำกว่า ก็อาจจะกลายเป็นการดูถูก ส่วนการเทียบระดับกับคนที่สูงกว่าก็อาจจะกลายเป็น ว่า เขาด้อย ดังนั้น ให้จำไว้เลยว่า ทุกคนเกิดมาเพื่อแข่งกับตัวเองค่ะ ทุกคนมีดีในแบบของตัวเอง
3. ทำให้เขารู้สึกไม่ดีกับอีกคนที่โดนเปรียบเทียบ
ข้อนี้ยิ่งสำคัญเลย ยิ่งถ้าโดนเปรียบเทียบกับพี่น้องด้วยกัน แน่นอนว่า มันทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวยิ่งแย่ไปอีก มันอาจจะกลายเป็น การแตกความสามัคคี ในพี่น้อง ยิ่งตอนเด็กๆ พี่เรียนเก่ง พ่อจะชมพี่ แม้แต่ตอนโต พี่สอบเข้ารับราชการ พ่อก็จะชมพี่ตลอดเวลา ลึกๆ ในใจมันกลายเป็นปมนะค่ะ แบบคิดตลอดทำไมพ่อไม่ชมเราบ้าง ข้อนี้ห้ามนะ การกระทำหรือคำพูดการเปรียบเทียบในครอบครัว มันเปราะบางมากจริงๆ ค่ะ
4. ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวแย่ลง
ข้อนี้จัดว่าสำคัญที่สุด คนที่โดนเปรียบเทียบจะรู้สึกเหมือนตัวเองไม่มีตัวตน ทำอะไรก็ไม่เป็นที่ยอมรับ หลายๆคน จึงเลือกที่จะปลีกออกมาอยู่คนเดียว และยิ่งเด็กโตขึ้น ความสัมพันธ์หรือความรักความผูกผันในครอบครัวก็จะยิ่งห่าง เหมือนตัวผู้เขียนบทความก็มีอยู่ช่วงนึงที่ ไม่ค่อยอยากกลับบ้าน เพราะ กลับไปแต่ละที พ่อ ก็จะเอาแต่พูดถึง พี่ ทั้งนี่เรานั่งอยู่ข้างๆพ่อ แต่มันกลับกลายเป็นว่าเราไม่มีตัวตนเลย
5. การต่อต้าน อารมณ์ที่รุนแรง
ยิ่งโดนเปรียบเทียบ ยิ่งโดนบังคับให้เป็นเหมือนคนนู้น คนนี้ นี่เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ผลักให้เด็ก ยิ่งต่อต้าน เพราะ ทั้งชีวิต เขาไม่มีโอกาสได้แสดงออกในสิ่งที่เขาชอบ และสิ่งที่เขาถนัด การต่อต้านเพื่อบ่งบอกให้รู้ว่า เขาไม่ชอบในสิ่งที่โดนบังคับ และไม่ชอบที่พ่อแม่ต้องพยายามให้เขาเป็นแบบนู้นแบบนี้ ดังนั้น คุณต้องชื่นชมและยอมรับในสิ่งที่เขาเป็นให้ได้ นั้นเอง เพราะ ในสิ่งที่เขาเก่งอาจจะโดนกดอยู่ ควรปล่อยให้เขาได้แสดงศักยภาพของเขาเองบ้าง
เป็นไงบ้างค่ะ นี่ก็เป็นบทความที่สองนะ อาจจะไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมดของแต่ละครอบครัว แน่นอนว่าแต่ละครอบครัวย่อมมีมีวิธีการเลี้ยงลูกที่ไม่เหมือนกัน แต่อย่าลืมจำไว้เสมอนะค่ะว่า “หนูก็เก่งในแบบของหนู อย่าคาดหวังว่าหนูจะเป็นเหมือนคนอื่น” สุดท้ายนี้ขอบคุณที่อ่านบทความจนจบนะค่ะ หวังว่าอาจจะได้แง่คิดใหม่ๆจากบทความนี้กันนะค่ะ สวัสดีค่ะ
โฆษณา