8 ก.ค. 2021 เวลา 03:27 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
โดรน อาชีพใหม่ ฮิตติดกระแสการบิน!!
ว่ากันด้วยเรื่อง “โดรน” (Drone) คือ อากาศยานไร้คนขับ (UAV : Unmanned Aerial Vehicle)
อดีตโดรนถูกสร้างขึ้นมาเพื่อภารกิจทางการหารโดยตรง สำหรับการสอดแนม หรือที่เราเรียกว่า สืบราชการลับนั่นเอง หรือในบางครั้งยังถูกใช้ในการโจมตีในพื้นที่ๆคนไม่สามารถเข้าถึงได้โดยง่าย
แต่ในปัจจุบันการใช้งานโดรนนั้นเปิดกว้างขึ้น ทั้งในเรื่องของการอนุญาตและข้อกฎหมาย โดยโดรน ได้ถูกนำมาทดลองใช้ในทางธุรกิจเพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การใช้ถ่ายภาพจากมุมสูง การทดลองใช้โดรนในการขนส่งสินค้า การใช้โดรนในการจับภาพพื้นที่ในมุมต่างๆ หรือแม้กระทั่งการทำข่าวนั่นเอง
#เด็กการบิน : โดรน
ถ้าว่ากันด้วยเรื่องของข้อกฎหมายนั้น ในประเทศไทยมีการแบ่งประเภทของโดรน เป็น 2 ประเภท ดังนี้
ประเภทที่ 1
ใช้สำหรับงานอดิเรก เพื่อการกีฬาหรือความบันเทิง โดยจะถูกแบ่งตามน้ำหนักของโดรน ถ้าเกิน 2 กิโลกรัม จะต้องยื่นใน ประเภท 1 ก. และผู้บังคับต้องมีอายุมากกว่า 18 ปี แต่ถ้าเกิน 2 กิโลกรัมแต่ไม่เกิน 25 กิโลกรัม จะต้องยื่นใน ประเภท 1 ข. โดยผู้บังคับต้องมีอายุมากกว่า 20 ปีขึ้นไป
ประเภทที่ 2
ใช้เพื่อการรายงานข่าว รายการ โทรทัศน์ งานวิจัย หรือการพัฒนาอากาศยานต่าง ๆ ซึ่งผู้บังคับโดรนต้อง จดทะเบียนให้ตรงตามวัตถุประสงค์รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่เว็บไซต์สำนักงานการบินพลเรือน หรือ CAAT
#เด็กการบิน : โดรน
ว่ากันด้วยเรื่องของการใช้งานโดรน ในอนาคต การพัฒนาเทคโนโลยีโดรนพัฒนาออกมาเพื่อใช้งานในหลากหลายรูปแบบ ตามลักษณะและแนวทางที่น่าจะเกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีหลายปัจจัยที่มีการนำมาพัฒนาให้ตรงกับรูปแบบการใช้งาน เช่น
- ในเรื่องการเกษตร มีการออกแบบให้โดรนมีหน้าที่ในการฉีดปุ๋ย หรือสารเคมีต่างๆ
- ในเรื่องของการขนส่ง มีการออกแบบให้โดรนเป็นบุรุษไปรษณีย์ทางอากาศ
- ในเรื่องของการถ่ายภาพ มีการออกแบบให้โดรนทำหน้าที่บันทึกภาพจากมุมสูง โบราณสถาน หรือการเก็บรายละเอียดในการเขียนผังของอาคารในมุมต่างๆ
- ในเรื่องของการช่วยชีวิต หรือสาธารณภัยต่างๆ มีการออกแบบให้โดรนสามารถเข้าถึงสถานที่จำกัด หรือ บริเวณที่คนเข้าถึงไม่ได้ เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ
ใครที่กำลังมองหาโดรนมาไว้ใช้ในงานของตัวเอง จำเป็นจะต้องศึกษาเงื่อนไขในการใช้งานและการครอบครองให้ดี ดังนี้
1. การขึ้นทะเบียนโดรน
- ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ครอบครองโดรน จะต้องขึ้นทะเบียนทั้ง 2 ประเภท (ตามที่กล่าวไปแล้ว)
- ขึ้นทะเบียนผู้บังคับโดรน
2. ลงทะเบียนการใช้คลื่นความถี่กับ กสทช.
ข้อมูล
#เด็กการบิน
โฆษณา