8 ก.ค. 2021 เวลา 09:08 • การศึกษา
รู้งี้เราเก่งศัพท์อังกฤษตั้งนานแล้ว
เทคนิคเด็ดที่เด็กเก่ง ๆ ใช้ในการจดจำคำศัพท์กัน เป็นแบบนี้นี่เอง
credit : canvas.com
ก็ต้องยอมรับ ว่านักเรียนที่เรียนเก่งมักจะมีคำศัพท์ในสมอง
พร้อมใช้งาน และ เรียกใช้งานได้ทันท่วงที มากกว่าเด็กที่เก่งน้อยกว่า
หมายความว่ายังไงนะคะ
นักเรียนที่ไม่เก่ง จะไม่มีคำศัพท์ที่เรียนมาในสมองเลยเหรอ
มีค่ะ แต่คำศัพท์เหล่านั้น เป็น passive vocabulary
คือ รู้สึกว่าคุ้น ๆ แปลว่าอะไรอ่ะ เคยเรียนแล้วแต่นึกไม่ออก ฯลฯ
แต่เด็กเก่งจะมีคำศัพท์แบบ active vocabulary
จะเรียกหามา ฟัง แปล เขียน หรือ พูด ทำได้ทันที่
แล้วทำอย่างไรเราจึงจะ activate our passive vocabulary ได้ล่ะคะ
มีเครื่องมืออะไรบ้าง ที่จะช่วยให้จำคำศัพท์ต่าง ๆ
แล้วเมื่อจะเรียกใช้ ก็ทำได้ทันทีที่ต้องการ
Why can’t we recall some words when we actually need them?
หลัก ๆ คือ เราเรียนรู้ศัพท์ใหม่ แล้วเราก็ต้อง ใช้ ค่ะ
ใช้สร้างประโยค ไม่ว่าสร้างด้วยการพูด หรือ การเขียน
แล้ว ตอก ย้ำ ซ้ำ ทวน ด้วยการ ใช้บ่อย ๆ ได้ยินบ่อย ๆ เห็นบ่อย ๆ
ก็นั่นแหละ แล้ววิธีการมันเป็นยังไงอ่ะค่ะ เอาแบบเป็นรูปธรรมนะ
วิธีการง่าย ๆ ก็คือ
1. โฟกัส 1 คำต่อวัน ซึ่ง 1 คำ ก็อาจจะมีหลายความหมาย
1
2. ทำความเข้าใจประโยคตัวอย่างของแต่ละความหมาย จาก
dictionary English English
1
3. สร้างประโยคด้วยตัวเองของแต่ละความหมาย
ด้วยการเลียนแบบประโยคจาก dictionary
1
credit : canva.com
4. ฝึกออกเสียง เพื่อที่เมื่อได้ยินคำนี้
จะได้นึกได้ ว่าคือคำที่เรารู้จักนั่นเอง
5. Google ศัพท์คำนี้ เพื่อดูการใช้ประโยคในบริบทจริงๆ จากหน้าสองหน้าแรก
credit : canva.com
6. การติด post it note ประโยคต่าง ๆ ที่หาได้ ตามที่ต่าง ๆ
ในห้องน้ำ หน้ากระจก บนโต๊ะทำงาน
เพื่อให้ตัวเองได้เห็นตลอดเวลา
อันนี้เลยขั้นตอนของการเขียนว่า fridge แล้วติดไว้หน้าตู้เย็นแล้วนะคะ
แต่เขียนประโยคที่มีคำที่เราต้องการจำ
ลงบน post it แล้วติดไว้ที่ไหนก็ได้ค่ะ
แค่เพียงให้เราได้เห็นคำนั้น บริบทนั้น
บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ค่ะ คำไหนจำได้แล้ว ก็เอาออกไป
7. ฟังให้เยอะ แต่การฟัง เราอาจจะกำกับไม่ได้ว่า
ต้องได้ยินคำที่เราเรียนไปพอดี แต่ก็ต้องย่อมดีกว่าไม่ฟัง
และที่สำคัญที่สุด
8. ใช้ บัตรคำ (flash card) เข้าช่วยนะคะ
ช่วยในการบันทึก และ ใช้ในการตรวจสอบ
ว่าเราได้ย้ายศัพท์คำนั้น จาก passive ไป active แล้วยัง
โดยหากล่องที่แบ่งช่องแต่ละวัน จากวันที่ 1-30 ในแต่ละเดือน
สมมุติเราได้ผ่านกระบวนการจดจำศัพท์คำนี้ ในวันที่ 1
และคิดว่าจำได้แล้ว ให้เอาไปใส่ไว้ในช่องวันที่ 7
และเมื่อถึงวันที่ 7 เราก็หยิบมาดูอีกครั้ง
ว่าคำศัพท์คำนั้นยังเป็น active vocabulary ของเราหรือเปล่า
ถ้ายัง ก็นำมาเริ่มกระบวนการใหม่
แล้วนำไปวางในวันที่ 14 เพื่อที่เมื่อถึงวันที่ 14
เราจะได้ตรวจสอบว่า มันย้ายตัวเองกลับไปเป็น
passive หรือ มันยังคงเป็น active vocabulary ของเราอยู่
สะสมคำศัพท์ให้มากพอนะคะ
เพื่อที่จะเป็นพื้นฐานที่แข็งแรง ให้เราได้ต่อยอดความรู้
การฟัง พูด อ่าน และ เขียน ที่จะทำอย่างที่ต้องการมากขึ้น
ไม่นับนักเรียนที่ต้องสอบนะคะ ซึ่งนั่นแน่นอน
ใช้คำศัพท์ในการสอบอยู่แล้ว
และถ้าเป็นสอบเรียนต่อด้วย
ข้อสอบมักจจะออกคำศัพท์ปีนระดับชั้นอีกต่างหาก
งานสอน
รับงานสอนออนไลน์ภาษาอังกฤษ ->
กำลังเปิดรับสมัครคอร์ส ป.6, ม.1, ม.2
1
ติดต่อครูสุ
Facebook fanpage : เรียนภาษาอังกฤษง่ายๆสไตล์ครูสุ
.
Facebook group : English สำหรับนักเรียนประถมปลาย หนังสือ family and friends ป 4, 5, 6 https://www.facebook.com/groups/220181429343323
.
Line id : teachersue
.
.
Cool English google map
โฆษณา