9 ก.ค. 2021 เวลา 18:27 • ไลฟ์สไตล์
5 วิธี กำจัดความ “ อยาก “ ช้อปปิ้ง เป็นเหมือนกันไหมคะ ช่วงนี้ทุกเว็บจัดโปรโมชั่นการตลาดออนไลน์ ทั้งหั่นราคา 6/6 7/7 8/8 โค้ดลดราคา โค้ดส่งฟรี คือ ทั้งเดือนเลยค่ะ มีนั่นมีนี่ มากระตุ้นต่อมอยากเราตลอดเลย เรามักจะเพลี่ยงพล้ำไปกดเอาของที่ไม่จำเป็นต้องใช้ มาเป็นจำนวนมาก หากคุณเป็นผู้ที่กำลังหลงอยู่ในวังวนซื้อของออนไลน์ หรือ ออฟไลน์อย่างถอนตัวไม่ขึ้น เรามาหาวิธีกู้ชีพกันดีไหมคะ ว่าเราจะกำจัด ไอ้ความอยาก ออกไปยังไงดี
ภาพถ่ายโดย Oleg Magni จาก Pexels
1. สมมุติว่าซื้อ ถ้าคุณออกไปช้อปด้วยตัวเอง คุณหยิบมันใส่ตะกร้า เดินวนไปวนมาสักสามสี่รอบ แล้วหยิบไปคืนที่เดิมค่ะ ถ้าคุณเป็นนักช้อปออนไลน์ คลิกเข้าตะกร้าไปค่ะ แต่อย่าพึ่งจ่ายเงิน การที่เราอยากได้อะไรมาก ๆ ให้เราลองสมมุติว่าเราซื้อมันค่ะ อันนี้คือทำบ่อยมาก ได้ผลจริง กดของใส่ตะกร้าออนไลน์ไว้เยอะมาก แต่ไม่ได้กด submit มันผ่อนคลายความอยากเราลงไปเยอะมาก แล้วเรามาไตร่ตรองให้ดีก่อนสัก สองสามคืน ว่าเรายังอยากได้มันจริงหรือเปล่า
2. มีเป้าหมายใหญ่ไว้ในใจ เช่น คุณต้องการเก็บเงินซื้อรถใหม่ คุณต้องการเก็บเงินปรับปรุงบ้าน คุณต้องการทำอะไรใหญ่ ๆ สักอย่าง จะช่วยลดการซื้อของกระจุกกระจิก ไร้สาระไปได้มากมายค่ะ
1
3. หากิจกรรมอื่นทำ ที่ไม่ใช่การดูเวบขายของ ลดการเดินห้าง ยามว่าง รดน้ำต้นไม้ อาบน้ำหมา กวาดบ้านถูบ้าน ออกกำลังกาย ซ่อมแซมบ้าน หรือของใช้ที่พัง หักเหความสนใจคุณออกมาจาก สิ่งเร้าค่ะ
4. ลองเปิดตู้เสื้อผ้า เดินสำรวจบ้านช่อง ให้ทั่ว ก่อนจะเพลี่ยงพล้ำไป คุณอาจจะพบว่า คุณมีของที่อยากได้อยู่แล้ว หรือของที่คล้าย ๆ กัน การที่คุณสำรวจสิ่งที่มีอยู่แล้ว คุณจะพบว่า ความอยากมันลดลงไปเยอะ ในทางกลับกันคุณอาจจะไม่อยากได้มันอีกต่อไป เพราะ คุณจะรู้สึกว่าของจะท่วมบ้านอยู่แล้ว ฮ่า ๆ ๆ
5. หักดิบ ถ้ามันอาการหนักจริงอะไรจริง สำหรับคนเสพติดการช้อปแบบหน้ามืดตามัวอย่างรุนแรง หักดิบกันเถอะค่ะ ตัดบัตรเครดิตทิ้งไป ลบ APP ธนาคาร APP ช้อปปิ้ง ทำให้การจ่ายเงินของคุณมันยากขึ้น บอกแฟน บอกเพื่อน บอกคนใกล้ตัว ว่าถ้าคุณจะไปซื้อของ ให้ยับยั้งไว้ให้ได้ ฟังดูตลก แต่ถ้าคุณอาการหนักขนาดนั้น คุณต้องทำแล้วค่ะ
มนุษย์ปุถุชนย่อมมีกิเลสวิธีกำจัดให้หมดคงยาก แต่มีวิธีพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้ออะไรก็ตามท่องไว้ว่ามันคือภาระ "หนี้สิน" นอกจากสิ่งที่ซื้อมันช่วยก่อให้เกิดรายได้หรือมีประโยชน์จำเป็นต้องใช้จริง ๆ
หากซื้อมาใช้งานแล้ว มันไม่คุ้มค่าหรือเกิดประโยชน์ไม่เท่าที่คิดหรือตั้งใจไว้ หรือผิดคาดจากที่ตั้งใจไว้ก็อย่าคิดมาก ให้ปล่อยวางไปเถอะค่ะ แต่ก่อนซื้ออะไรให้ชั่งใจให้ดีก่อน ว่าคุณจะได้ใช้มันจริง ๆ อย่างคุ้มค่าค่ะ
โฆษณา