10 ก.ค. 2021 เวลา 03:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
🧓 "Aging Society" สังคมสูงวัยที่ไทยควรตื่นตัว
2
หลายคนคงเคยได้ยินมาจากหลายที่แล้วว่าประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ความหมายคือ สังคมที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป มากกว่า 14% ของประชากรทั้งประเทศ
แต่ที่น่าสนใจคือประเทศไทยจะเป็นประเทศกำลังพัฒนาแห่งแรกในโลกที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ หรือภาษาชาวบ้านอาจกล่าวได้ว่า “จะเริ่มแก่ตั้งแต่ยังไม่มีฐานะ” และสัดส่วนเป็นอันดับสอง ในอาเซียนรองจากสิงคโปร์เท่านั้นโดยคาดว่าจะมีสัดส่วนประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นแตะ 14% ของประชากรทั้งหมดในปี 2565
1
ประโยคข้างต้นอาจจะยังคลุมเคลือ เพราะบางคนอาจจะถามว่า แล้วการเป็นสังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์อะไรเนี่ย มันผิดตรงไหน? คนจะแก่แล้วไปเดือดร้อนใคร? เนิร์ดจะอธิบายให้ได้อ่านกันครับ ‼️
💁 หากอยากเห็นภาพง่ายๆ ก็ลองคิดว่าหากภายในครอบครัวของเราไม่มีคนวัยหนุ่มสาวมากนัก แต่คนสูงอายุมีจำนวนมาก แน่นอนว่าความสามารถในการหารายได้เข้าสู่ครอบครัวก็จะน้อยลงเรื่อยๆ
1
ในทางกลับกันรายจ่ายครอบครัวจะสูงขึ้น เช่นค่ารักษาพยาบาล ค่าครองชีพคนสูงวัย และหากเทียบกับประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนา ก็เหมือนกับครอบครัวที่ยังต้องดิ้นรนเพื่อประคับประครองกันไป ยังไม่มั่นคงทางฐานะการเงินสักเท่าไรนัก
1
เมื่อรู้ดังนี้แล้วการอยู่ในสังคมสูงวัยจึงเป็นปัญหาระดับมหภาคหรือเป็นความรับผิดชอบร่วมกันทั้งประเทศ เพราะเงินหมุนเวียนในประเทศจะต่ำลง รัฐจะต้องแบกรับค่าใช้จ่ายมากขึ้นในขณะที่เก็บภาษีได้น้อยลง จะเห็นได้ว่าส่งผลกับทุกคนในประเทศจริงๆครับ โดยสาเหตุหลักมาจากการแต่งงานที่ช้ารวมถึงความไม่ต้องการมีบุตรที่เพิ่มขึ้นอีกทั้งเทคโนโลยีทางการแพทย์ยังพัฒนาเร็วมากขึ้นทำให้ประชากรอายุยืนขึ้นอีกด้วยครับ 🏥
1
🏦 ขอบคุณข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า จำนวนประชากรสูงอายุไทยที่มีรายได้เฉลี่ยต่อปีในระดับปานกลางขึ้นบน น่าจะมีสัดส่วนไม่ถึง 20% ของจำนวนประชากรสูงอายุทั้งหมด
➡️ แต่การใช้จ่ายของกลุ่มผู้สูงอายุน่าจะมีแนวโน้มขยายตัวเฉลี่ยมากกว่า 5% ต่อปี โดยค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นชัดเจน สาเหตุมาจากการเสื่อมสมรรถภาพของร่างกายและความเจ็บป่วยจากโรค โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
หากดูจากแนวโน้มข้างต้นก็นับว่าเป็นแรงกดดันพอสมควรสำหรับเศรษฐกิจและตลาดแรงงานไทย👨‍🎓
1
ในกรณีนี้รัฐบาลมีหน้าที่รับมือโดยตรงอยู่แล้วในการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆผ่านการออกนโยบาย แต่ในฐานะบุคคลทั่วไปในประเทศควรเตรียมการรับมืออย่างไรได้บ้าง แน่นอนว่าเมื่อเศรษฐกิจเติบโตช้าลงทำให้ดอกเบี้ยเงินฝากก็จะต่ำลงไปเรื่อยๆ ‼️
💰 การวางแผนการเงินจึงเป็นหนทางรอด เพราะทุกคนคงรู้ว่าในกรณีหลังจากเกษียณแล้วหวังรอพึ่งพาสวัสดิการจากรัฐไม่เพียงพอกับค่าครองชีพแน่นอนทำให้หลายครั้งเราอาจเห็นคนสูงอายุยังพยายามทำงานหารายได้เล็กๆน้อยๆอยู่ และวัยหนุ่มสาวก็ได้รับความท้าทายมากขึ้นในการแบกภาระทางเศรษฐกิจแบบนี้ 📊
1
อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาในระดับบุคคล ว่ากันตามตรงคือต้องพยายามเอาตัวเองให้รอด ซึ่งถ้ารัฐบาลรับมือและสามารถจัดการได้ดีก็อาจจะแบ่งเบาภาระลงมาก นั่นคือ การวางแผนเกษียณ หรือหาความรู้ทางการเงินเพื่อจัดการตัวเองให้ดี 💸
ในปัจจุบันเทรนด์การเงินการลงทุนเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นมากในประเทศไทย ส่วนอีกวิธีคือต้องทำงานนานขึ้นโดยประเทศไทยอายุเกษียณอาจเป็น 65-70 ปีได้ในอนาคตซึ่งเหนื่อยมากขึ้นแน่นอนถ้าไม่ค้นพบอิสรภาพทางการเงินก่อนวัยเกษียณ อิสรภาพทางการเงินไม่ได้หมายถึงร่ำรวยนะครับ เรามาดูวิธีการคำนวณอิสรภาพทางการเงินในวัยเกษียณกันครับ 👴👵
โดยวันนี้จะนำเสนอวิธีที่ตรงไปตรงมาที่สุดในการคำนวณเงินที่จะต้องใช้ในวัยเกษียณ นั่นคือ คิดจากเงินที่จะใช้ในแต่ละเดือนและรวมกันไปจนถึงปีที่คิดว่าจะอยู่ถึง โดยข้อมูลจากกสิกรที่ให้มาว่าโดยเฉลี่ยแล้วผู้สูงอายุมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่เดือนละ 29,000 บาท หรือ 350,000 บาทต่อปี
หากเราคิดว่าจะเสียชีวิตในอายุ 80 ปี ก็เท่ากับเราต้องมีเงินก่อนการเกษียณเท่ากับ “7 ล้านบาทถ้วน” โดยวิธีนี้จะอาศัยเงินของเราโดยตรงแบบ 100% แต่ในชีวิตจริงอาจมีตัวช่วยอื่นๆเช่น ดอกเบี้ยการลงทุน กองทุนต่างๆหรือเงินบำนาญ ก็อาจจะแบ่งเบาภาระไปได้มากเลยทีเดียวครับ ถ้าหากเราสามารถดูแลตัวเองได้ในบั้นปลายชีวิตก็จะลดภาระให้ลูกหลานในอนาคตได้ เพราะลูกหลานในอนาคตต้องแบกภาระจากรอบด้านแน่นอนครับ
1
🏃 "เพราะชีวิตคือการวิ่งระยะยาว" เพราะฉะนั้นไม่เกี่ยวกับว่าใครออกตัวก่อน ผู้ที่จะประสบความสำเร็จได้คือต้องมีความสม่ำเสมอในก้าววิ่งของตนเองบวกกับการวางแผนบริหารแรงอย่างถูกเวลาต่างหากครับ 🏁
2
สุดท้ายนี้ช่วยกด Like, Share เพื่อเป็นกำลังใจให้เนิร์ด และสามารถกดติดตามเพื่อไม่พลาดบทความใหม่ๆ ด้วยนะค้าบ 🥰🙏🏻
โฆษณา