10 ก.ค. 2021 เวลา 06:14 • สุขภาพ
วัคซีน AstraZeneca น่าจะเป็นวัคซีนหลัก ในการรับมือโควิดระบาดด้วยไวรัสสายพันธุ์ Delta ของประเทศไทย
2
จากสถานการณ์โควิดระบาดในประเทศไทย มีไวรัสที่รับผิดชอบในแต่ละระลอกดังนี้
1
1) ระลอกที่หนึ่ง ไวรัสสายพันธุ์เดิม (อู่ฮั่น)
2) ระลอกที่สอง ไวรัสสายพันธุ์เดิม (อู่ฮั่น)
3) ระลอกที่สาม ไวรัสสายพันธุ์ใหม่
3.1) ช่วงเมษายน สายพันธุ์อัลฟ่าหรืออังกฤษ มีความสามารถระบาดเพิ่มขึ้น 70%
3.2) ช่วงมิถุนายน ไวรัสสายพันธุ์เดลต้าหรืออินเดีย มีความสามารถในการระบาดเร็วกว่าสายพันธุ์อัลฟ่าเพิ่มอีก 60%
1
และขณะนี้จากการเก็บข้อมูลของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในช่วง 28 มิถุนายนถึง 2 กรกฎาคม
2
ในเขตกรุงเทพฯพบ
ไวรัสสายพันธุ์เดลต้า 52%
ไวรัสสายพันธุ์อัลฟ่า 47.8%
1
ในส่วนภูมิภาคพบ
ไวรัสสายพันธุ์เดลต้า 18%
ไวรัสสายพันธุ์อัลฟ่า 77.6%
จึงทำให้เราต้องมาให้ความสนใจไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่คือเดลต้า เพราะคาดว่าจะเป็นสายพันธุ์หลักของทั้งประเทศในระยะเวลาอีกไม่เกิน 1-2 เดือนข้างหน้านี้
2
และด้วยความสามารถในการแพร่ระบาดรวดเร็ว ตลอดจนการดื้อต่อวัคซีน จึงต้องมาดูข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนที่มีผลต่อไวรัสสายพันธุ์เดลต้า
จากข้อมูลในสามประเทศหลัก พบว่าการฉีดวัคซีนไฟเซอร์สองเข็ม มีประสิทธิผลต่อไวรัสสายพันธุ์เดลต้าลดลงได้แก่
2
อิสราเอลประสิทธิผลเหลือ 64%
สิงคโปร์เหลือ 69%
และอังกฤษเหลือ 79%
ทั้งนี้เป็นประสิทธิผลต่อการป้องกันการติดเชื้อทั้งหมด
ถ้าดูเฉพาะการป้องกันการป่วยหนักและการเสียชีวิตยังคงได้ผลมากกว่า 90%
2
แต่เนื่องจากในประเทศไทยขณะนี้ ยังไม่มีวัคซีนเทคโนโลยี mRNA ทั้งของไฟเซอร์และโมเดิร์นน่า จึงต้องให้ความสนใจกับวัคซีนที่มีอยู่คือ Sinovac ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเชื้อตายกับ AstraZeneca ซึ่งเป็นเทคโนโลยีไวรัสเป็นพาหะ ว่าจะมีความสามารถหรือประสิทธิผลในการป้องกันไวรัสสายพันธุ์เดลต้าอย่างไร
3
ข้อมูลเรื่องนี้เกือบไม่มีเลย เพราะเพิ่งจะพบไวรัสสายพันธุ์เดลต้าในประเทศไทยไม่นานนี้เอง
1
แต่ข้อมูลเบื้องต้นจากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับไบโอเทคและสถาบันโรคทรวงอก ( มีจำนวนตัวอย่างที่ต้องเรียกว่าน้อยมาก อาจจะไม่สามารถถือเป็นหลักทางวิชาการได้)
2
แต่สำหรับในสถานการณ์ที่ยังไม่มีข้อมูลเลย การเหลือบตาดูข้อมูลลักษณะนี้ โดยรู้เท่าทัน ว่ายังเชื่อถือมากนักไม่ได้ ก็อาจพอจะมีประโยชน์อยู่บ้าง
พบว่าในการรับมือกับไวรัสสายพันธุ์เดลต้า จะต้องมีวัคซีน AstraZeneca ร่วมด้วยเสมอ
1
โดยลำดับของการมีภูมิคุ้มกันขึ้นได้ดีได้แก่
1) Sinovac สองเข็ม Astra หนึ่งเข็ม
2) Astra สองเข็ม
3) คนที่หายดีแล้ว ฉีด Astra เพิ่มหนึ่งเข็ม
3
ส่วนการรับมือกับไวรัสสายพันธุ์อัลฟ่า
1) หายป่วยดีแล้ว ฉีด Astra หนึ่งเข็ม
2) Sinovac สองเข็มตามด้วย Astra หนึ่งเข็ม
3) Astra สองเข็ม
1
จึงพอจะสรุปเบื้องต้นด้วยข้อจำกัดของจำนวนตัวอย่างของการศึกษาที่กล่าวไปแล้วว่า
2
สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับ Sinovac ไปแล้วสองเข็ม และขณะนี้ยังต้องทำงานเสี่ยงต่อการพบไวรัสสายพันธุ์เดลต้านั้น
4
การฉีดวัคซีนเสริม (Booster ) เป็นเข็มที่สาม ด้วยวัคซีน AstraZeneca จึงเป็นแนวทางที่น่าสนใจ
4
แต่จะต้องรอรายงานการศึกษา ให้มีจำนวนตัวอย่างมากกว่านี้ คาดว่าใช้เวลาหนึ่งเดือนก็น่าจะสรุปผลดังได้
Reference
ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1
โฆษณา