10 ก.ค. 2021 เวลา 07:47 • สุขภาพ
ส่องเพื่อนบ้านอาเซียนรับมือโควิด – 19
สะบักสะบอม บอบช้ำกันถ้วนหน้า
6
ในขณะที่ประเทศไทยกำลังจะเข้ามาตรการ ‘ล็อกดาวน์’ ที่แม้จะพยายามเลี่ยงบาลีว่าไม่ใช่ แต่ด้วยมาตรการต่างๆ มันก็ไม่ต่างอะไรกับการล็อกที่เราเคยเจอกันมาเมื่อเดือนเมษายน 2563 เพียงแต่ว่าเวลานี้ยังไม่มีมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบออกมาอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะกลายเป็นการซ้ำเติมให้ต่อความลำบากของประชาชนที่ขาดรายได้ แต่รายจ่ายยังไม่หยุด
10
เวลานี้ในหลายประเทศต่างก็ต้องปรับกลยุทธ์เพื่อรับมือกับการเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เกิดการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ใหม่ๆ เข้ามาในประเทศอย่างต่อเนื่อง ทำให้มาตรการเดิมๆ ที่เคยทำมาอาจไม่ได้ผล บางประเทศที่เมื่อปีที่แล้วเคยรับมือได้ดี มาวันนี้กลับกำลังเพลี้ยงพล้ำ ซึ่งกลายเป็นปัญหาหนักอกของรัฐบาลท้องถิ่นในเวลานี้
2
🔵มาเลเซีย ล็อกดาวน์ครั้งที่ 5 อย่างไม่มีกำหนด
9
นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของไวรัส มาเลเซียมีการประกาศล็อกดาวน์ มาแล้วถึง 5 ครั้ง แต่ละครั้งค่อนข้างยาวนานและมีมาตรการเข้มงวด ซึ่งครั้งล่าสุดที่มาตรการล็อกดาวน์ต้องสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา กลายเป็นว่ารัฐบาลมาเลเซียกลับต้องขยายเวลาการล็อกดาวน์ทั้งประเทศออกไปอย่างไม่มีกำหนด หลังไม่สามารถลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงได้ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อเฉลี่ยที่ 7,000 คน เสียชีวิต 70 คน ต่อวัน
6
ส่วนการฉีดวัคซีนก็ยังเป็นไปอย่างเชื่องช้า เนื่องจากการจัดส่งวัคซีนจากประเทศผู้ผลิตยังไม่สามารถจัดส่งได้อย่างเต็มที่ โดเฉพาะไฟเซอร์ รวมทั้งการเข้าร่วมโครงการ COVAX ที่ก็ไม่สามารถจัดส่งวัคซีนได้เต็มที่เนื่องจากวัคซีนขาดแคลน ทำให้มาเลเซียที่มีประชากรรวมทั้งสิ้นราว 32 ล้านคน ปัจจุบันมีผู้ที่ได้รับวัคซีนครบสองโดสแล้วเพียง 8% จากจำนวนประชากรทั้งหมด และมีผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วหนึ่งโดสคิดเป็น 19%
3
ขณะที่มาตรการเยียวยารัฐบาลแจกเงินสดจำนวน 1 หมื่นล้านริงกิตแก่ประชาชนที่มีรายได้ปานกลางและรายได้ต่ำภายในสิ้นปีนี้
นอกจากนี้ประกาศมาตรการพักหนี้เป็นเวลา 6 เดือนให้แก่ประชาชนทุกคนโดยไม่มีการกำหนดเกณฑ์รายได้
12
ขณะเดียวกัน รัฐบาลประกาศตั้งกองทุนหลายแห่งเพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจ และให้มีการลดหย่อนภาษีสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) รวมทั้งอุตสาหกรรมโรงแรม
3
ส่วนการควบคุมการเดินทางของประชาชน จำกัดให้ประชาชนสามารถเดินทางออกนอกบ้านได้ครอบครัวละ 2 คนเท่านั้น และห้ามการเดินทางระหว่างรัฐและเมืองต่างๆ ในประเทศ
3
แต่ที่เป็นข่าวออกมาล่าสุด ประชาชนเริ่มขาดแคลนเงิน และอาหาร เพราะตกงานไม่มีรายได้กันมานานหลายเดือน จากการล็อกดาวน์ถี่และนานของรัฐบาล จนถึงขนาดต้องยกธงขาวยอมแพ้ เพราะไม่สามารถทนต่อไปได้อีกแล้ว หน้าบ้าน บนรถ หรือแม้แต่ที่ตัวบุคคล ต่างมีการติดธงสีขาวเพื่อเป็นสัญลักษณ์ตอนนี้กำลังย่ำแย่ ขอแบ่งปันข้าวปลาอาหาร หรือเงินทองเล็กๆ น้อยๆ เพื่อประทังชีวิต
11
อีกทั้งยังมีข้อมูลจากสาธารณสุขมาเลเซียที่รายงานตัวเลขของผู้คนที่ฆ่าตัวตายในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ สูงมากกว่าปีที่แล้วทั้งปี เนื่องจากความเครียดและความหดหู่ต่สถานการที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่มีใครคาดคิดว่าประเทศทีมีความมั่งคั่ง มีรายได้ต่อหัวสูงเป็นอันดับต้นๆ ของอาเซียนจะมาถึงจุดนี้
3
🔵เวียดนามล็อคดาวน์ คนแห่ตุนสินค้า วัคซีนขาด ฉีดได้เกือบต่ำสุดในอาเซียน
7
ก่อนหน้านี้เวียดนามเคยได้รับคำชื่นชมจากนานาชาติว่าสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้เป็นอย่างดี มีอัตราผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตค่อนข้างต่ำ แต่การระบาดรอบนี้เวียดนามกำลังประสบปัญหาอย่างหนักจากสายพันธุ์เดลต้า ซึ่งล่าสุดอัตราการติดเชื้อพุ่งสูงอย่างน่ากังวล เพราะระบบสาธารณสุขของเวียดนามก็กำลังประสบปัญหา แม้จะมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นราว 1,000 คนต่อวัน แต่เป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ล่าสุดยอดสะสมผู้ติดเชื้อเพิ่มเป็น 23,385 ราย เสียชีวิต 102 ศพ
7
รัฐบาลเวียดนามได้ออกคำสั่งใช้มาตรการล็อกดาวน์นครโฮจิมินห์ ห้ามประชาชนในเมืองกว่า 9 ล้านคนออกจากบ้านเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม ออกมาได้ในกรณีซื้ออาหารหรือยาเท่านั้น ขณะที่มีอย่างน้อย 10 เมืองทั่วประเทศที่ตัดการเดินทางทางอากาศกับโฮจิมินห์ และมีรายงานด้วยว่า ประชาชนแตกตื่นคำสั่งล็อกดาวน์ และแห่ไปซื้อเสบียงกักตุน และจนถึงขณะนี้ยังไม่มีมาตการเยียวยาอะไรจากรัฐบาล
2
ส่วนการฉีดวัคซีนในเวียดนามมีอัตราที่ต่ำอย่างน่าตกใจอยู่ใน 3 อันดับสุดท้ายของอาเซียน ซึ่งมีการฉีดไปแล้วเพียงแค่ 3.9 ล้านโดสเท่านั้น จากประชากรทั้งประเทศที่ 96 ล้านคน
5
🔵อินโดนีเซียติดเชื้อพุ่งวันละ 50,000 คนไข้ล้นมือจนระบบสาธารณสุขแทบล่มสลาย
3
ที่เห็นว่าน่าจะหนักที่สุดในภูมิภาคนี้ก็คงเป็นอินโดนีเซีย เพราะล่าสุดผู้ติดเชื้อพุ่งสูงสุดทะยานขึ้นไปสู่วันละ 50,000 แล้ว ส่วนผู้เสียชีวิตก็อยู่ที่ 1,000 รายต่อวัน
9
ขณะที่รัฐบาลอินโดนีเซียสั่งขยายมาตรการล็อกดาวน์ให้มีผลบังคับใช้ทั่วประเทศไปจนถึงวันที่ 20 กรกฎาคม ครอบคลุมตั้งแต่เกาะสุมาตราถึงปาปัวที่อยู่ทางตะวันออกสุดของประเทศ จากเดิมที่ครอบคลุมพื้นที่เกาะชวากับเกาะบาหลีเท่านั้น
ขณะนี้โรงพยาบาลในอินโดนีเซียกำลังประสบปัญหาคนไข้ล้นมือจนระบบสาธารณสุขแทบล่มสลาย และออกซิเจนขาดแคลนจนต้องนำเข้าจากสิงคโปร์ แค่เฉพาะจำนวนเตียงผู้ป่วยในโรงพยาบาลทั่วกรุงจาการ์ตา เต็มถึง 95% ต้องหันมาปรับปรุงพื้นที่ลานจอดรถเป็นวอร์ดฉุกเฉิน เพื่อเปิดพื้นที่ห้องของโรงพยาบาลให้เป็นห้องแยกรักษาผู้ป่วยโควิด
6
ขณะที่มาตรการเยียวผลกระทบของอินโดนีเซียยังไร้ซึ่งความชัดเจน มีเพียงการให้เงินช่วยเหลือมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีโครงการช่วยเหลือทางสังคม และให้วัคซีนฟรีแก่ประชาชนนับตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของโควิดในปีที่แล้ว ส่วนในปีนี้ยังไม่มีวี่แววใดๆ
2
ขณะที่องค์กรต่างๆ ในภาคธุรกิจของอินโดนีเซีย รวมถึงสภาหอการค้าอินโดนีเซีย (KADIN) เรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการต่างๆ เพื่อรับประกันว่า รัฐบาลมีงบประมาณเพียงพอที่จะสนับสนุนภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ มิเช่นนั้น ผู้ประกอบการอาจถูกบีบให้ต้องเลิกจ้างพนักงานหรือประกาศล้มละลาย
6
ส่วนอัตราการฉีดวัคซีนของอินโดนีเซียแม้จะมาที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของอาเซียนที่ราว 50 ล้านโดส แต่ด้วยจำนวนประชากรที่มาถึง 240 ล้านคน ยังถือว่ามีการฉีดวัคซีนที่ไม่สูง ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้น
4
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
1
ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
โฆษณา