10 ก.ค. 2021 เวลา 13:31 • สุขภาพ
Problem-solution fit
เพื่อนๆ ในวงการสตาร์ทอัพ คงเคยได้ยินคำว่า problem-solution fit กันมาบ้าง
แน่นอนว่าธุรกิจ สตาร์ทอัพ เกิดขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหา (problem) บางอย่าง ที่มีคนกลุ่มใหญ่ พบเจอเป็นประจำ แต่กลับยังไม่มีใครแก้ได้
ตัวอย่างเช่น Grab ที่เป็น แอปพลิเคชัน ที่มาแก้ปัญหา การเรียกแท็กซี่ ที่เมื่อก่อนโบก 5 คัน ไม่มีใครรับ บอกจะไปคืนรถทุกคัน...
แต่พอมี solution อย่าง Grab มา ทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้น แก้ปัญหาได้แบบหน้ามือเป็นหลังมือ
แต่คำถามที่น่าสนใจ สำหรับเหล่าสตาร์ทอัพ ก็คือ เราจะรู้ได้อย่างไร ว่า solution หรือวิธีแก้ปัญหาที่เราคิดออกมา มันตอบโจทย์ (problem) จริงๆ!
แน่นอน ว่า วิธีการหนึ่งก็คือ การทำ prototype (ตัวอย่าง) สำหรับวิธีแก้ปัญหานั้นๆ แล้ว ก็เอาไปทดลอง ให้ กลุ่มตัวอย่างใช้ดู
คำถามต่อไป คือ ควรทดสอบให้กลุ่มตัวอย่าง เพื่อดูว่า problem-solution fit หรือ วิธีการของเรามันแก้ปัญหาได้ อย่างไรดี?
แอดมิน เคยถามคำถามนี้ กับรุ่นพี่ในวงการสตาร์ทอัพ ก็ได้รับคำแนะนำมาว่า
หนึ่ง เราต้องกำหนด กลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน คือ กำหนด persona หรือคุณลักษณะของกลุ่มเป้าหมายให้ชัด
และสอง ลองไปทดสอบ อย่างน้อยไป ที่สุด ก็สัก 5 ตัวอย่าง เพื่อให้เห็นภาพ
อันนี้คือ จำนวนขั้นต่ำของการทดสอบว่าแก้ปัญหาได้จริง รึเปล่านะ
ซึ่งจริงๆ แล้ว อยู่ที่ว่า กลุ่มทดสอบที่เราเลือกมา เป็นตัวแทน persona เป้าหมายของเราจริงๆ รึเปล่าอีกด้วย...
ขนาดธุรกิจเล็กๆ ยังต้องมีหลักเกณฑ์แบบนี้
แต่แอดมินเห็นผลวิจัย ที่บอกว่าฉีดวัคซีน Sinovac 2 เข็ม และ Astra 1 เข็ม รวมเป็น 3 เข็ม ให้ผล ภูมิต้านทานโควิด ดีขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ แล้วก็แปลกใจ
แต่พอได้ดูข้อมูลไส้ใน แล้วก็ถึงบางอ้อ
ว่าทำไมสรุปเร็วจัง กลุ่มตัวอย่างที่บอกว่า ใช้ combo นี้แล้วดี คือ มีแค่ 2 รายเท่านั้น
ใช่แล้ว n=2 หรือ เป็นผลการทดลองจาก 2 ราย
ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะรีบออกรายงานขนาดนี้ไปทำไม
หากรีบๆ หาวัคซีนทางเลือกมาให้เร็วแบบออกรายงาน อะไรๆ คงจะดีกว่านี้...
โฆษณา