Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Is Life
•
ติดตาม
12 ก.ค. 2021 เวลา 01:00 • สิ่งแวดล้อม
ตายเพราะพลาสติก สัตว์ทะเลและนกอย่างน้อย 80 สายพันธุ์
นาทีนี้คงไม่ต้องบอกว่า “ขยะพลาสติก” เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตมากแค่ไหน
หากวัดในกันเชิงปริมาณ แทบจะไม่มีเดือนใดที่เราไม่ต้องไว้อาลัยการจากไปของสัตว์ชนิดต่างๆ เพราะพลาสติกเลยแม้แต่เดือนเดียว
ซึ่งคำว่า “ขยะพลาสติก” ที่กล่าวถึงนี้ ไม่ได้หมายความแต่พวกถุงหูหิ้ว แก้ว ช้อน หลอด เพียงเท่านั้น
แต่ยังรวมถึงพวกอุปกรณ์ทำประมง ที่ถูกประกอบสร้างขึ้นมาด้วยวัสดุแบบเดียวกัน รวมถึงถุงมือยางและลูกโป่ง ที่ถูกทิ้งให้ทำหน้าที่มัจจุราชภายใต้ระบบนิเวศทุกหนทุกแห่ง
นับจากที่เราเริ่มรับรู้ถึงอันตรายนั้น - จวบจนบัดนี้ - นักวิจัยจากองค์การวิจัยทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมเครือจักรภพ (CSIRO) พบว่า มีสัตว์อย่างน้อย (ๆ) เกือบ 80 สายพันธุ์จบชีวิตลงเพราะ “เผลอ” กินพลาสติกเข้าไป
จากรายงานข่าว บทความ งานวิจัยที่ถูกนำมาอ้างอิง ชี้ชัดว่า วาฬ โลมา และเต่า มีความเสี่ยงที่จะกินพลาสติกมากเป็นพิเศษ จากอัตราการตายเพราะพลาสติกที่สูงมากที่สุด (ตามจำนวนปริมาณศพที่พบและได้รับการชันสูตร)
พลาสติกเมื่อลอยอยู่ในน้ำเป็นเวลานาน จะมีสาหร่ายและแบคทีเรียมาเกาะ ทำให้เกิดกลิ่นคล้ายอาหารของสัตว์เหล่านี้
เย้ายวนและเชื้อเชิญให้วาฬ โลมา และเต่า เดินทางมาพบกับจุดจบ
[อ่านบทความ - พลาสติกเต็มท้อง เต่าตนุ อีกชีวิตที่จากไป
https://bit.ly/2T6ZC88
]
ฟากของนกทะเลก็เป็นอีกกลุ่มใหญ่ที่มีจุดจบคล้ายๆ กัน เพราะหลงเข้าใจผิดว่าพลาสติกที่ลอยอยู่บนผืนน้ำหรือบนแผ่นดินเป็นเหยื่อของมัน
ในสารคดีเรื่อง Albatross ได้ตีแผ่เรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน -
albatrossthefilm.com/
กับอีกกลุ่ม คือ แมวน้ำ สิงโตทะเล แลเพนกวิน มักตายด้วยเครื่องมือทำประมงที่ถูกทิ้ง ตรงกันข้ามกับกลุ่มฉลาม กระเบน ที่ตายเพราะเข้าไป “เกี่ยว” กับเครื่องมือเหล่านั้น
หากแยกตามสายพันธุ์ใหญ่ๆ ประกอบด้วย นกและเพนกวิน 48 สายพันธุ์ วาฬ 12 สายพันธุ์ โลมา 10 สายพันธุ์ เต่าทะเล 7 สายพันธุ์ แมวน้ำและสิงโตทะเล 2 สายพันธุ์
พลาสติกประเภทยาง หรือพวกถุงที่มีความยืดหยุ่นมักทำให้เกิดภาวะอุดตันในกระเพาะอาหาร
ส่วนพลาสติกที่มีความแข็งจะทำให้เกิดบาดแผลภายในร่างกาย
แม้วันนี้หลายๆ ประเทศจะออกกฎหมายให้เลิกใช้พลาสติกบางประเภทไปแล้ว แต่ก็ยังมีหลายประเทศที่ยังไม่ดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจัง
รวมถึงข้ออนุโลมต่างๆ ที่ยังคงก่อให้เกิดขยะพลาสติกอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
นักวิจัยได้อ้างอิงข้อมูลในช่วงท้ายปี 2020 ซึ่งพบว่า หากเรายังไม่สามารถลดใช้พลาสติก หรือหาวิธีจัดการขยะพลาสติกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขยะพลาสติกในมหาสมุทรจะเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าภายในปี 2040
ซึ่งอาจมากถึง 29 ล้านเมตริกตันต่อปี
และอาจทำให้สิ่งมีชีวิตต้องล้มหายตายจากไปมากกว่า 80 สายพันธุ์
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลในส่วนนี้เป็นการศึกษาผลกระทบของพลาสติกที่เชื่อมโยงกับระบบนิเวศของสัตว์ทะเล เช่นกลุ่มสัตว์น้ำและนกทะเล ยังไม่ได้รวมถึงเหล่าสัตว์บก ที่คงพอทราบกันมาบ้างว่าได้รับผลกระทบไม่ด้อยไปกว่ากัน
[อ่านบทความ : พลาสติกในทะเลทราย ภัยคุกคามที่พาให้อูฐต้องพบกับจุดจบ
https://bit.ly/3hwfATg
]
นอกเหนือจากนี้ เรายังไม่นับรวมเรื่องผลกระทบอื่นๆ เช่น มีปลาขนาดเล็กจำนวนเท่าไหร่ที่มีชีวิตอยู่ร่วมกับไมโครพลาสติกภายในร่างกายอย่างสิ้นหวัง
และยังไม่นับว่า ภายใต้สถานการณ์ที่โควิด-19 ระบาด ที่ปริมาณขยะมีเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนอุปกรณ์ทางการแพทย์อีกมากมายที่ถูกทิ้งในช่วงปีที่ผ่านมา
สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องศึกษาอย่างลงลึกต่อไป
และหวังว่ามันคงจะไม่มีอะไรที่แย่ไปกว่านี้อีก
#IsLIFE #PlasticPollution
อ้างอิง
Society of Conservation Biology :
https://bit.ly/3i295Gw
บันทึก
3
2
3
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย