14 ก.ค. 2021 เวลา 07:36 • การศึกษา
“แจกเกล็ดเงินของเธอแก่ปลาตัวอื่น ๆ ตัวละเกล็ด แม้ว่าจากนี้ไปเธอจะไม่ใช่ปลาที่สวยที่สุด แต่เธอจะเป็นปลาที่มีความสุขที่สุด”
1
ข้อคิดจากนิทานเรื่อง “ปลาสายรุ้ง”
ขอบคุณภาพจาก Pixabay
ขณะที่เราหาไล่หาหนังสือนิทานให้กับลูกก็บังเอิญเจอรีวิวของหนังสือนิทานเรื่องนี้
“ปลาสายรุ้ง” เป็นเรื่องราวของปลามีเกล็ดเงินแวววาว ระยิบระยับไปทั่วทั้งตัว ปลาตัวอื่น ๆ จึงพากันเรียกเธอว่า “ปลาสายรุ้ง”
เธอเย่อหยิ่งว่าตัวเองสวยกว่าใครและถ้ามีปลาตัวอื่นมาขอเกล็ดปลาสักเกล็ดจากเธอ เธอก็จะไม่ยอมให้ แถมไล่ด้วยความไม่ใยดี ด้วยนิสัยที่ไม่ดีของเธอ ทำให้ปลาตัวอื่น ๆ ต่างหลีกหนี ไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วย
ปลาสายรุ้งเศร้าและเหงามาก แต่สุดท้ายได้เจอกับปลาหมึกยักษ์แสนฉลาด และด้วยคำแนะนำของปลาหมึกยักษ์นี้นี่แหละที่ทำให้ปลาสายรุ้งได้รู้จักการให้ จนค้นพบความสุขที่แท้จริง
1
ขอบคุณภาพจาก Pixabay
นิทานเรื่องนี้ไม่เพียงแต่สอนเด็ก ๆ ให้รู้จักแบ่งปันแต่ยังสอนผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ ได้ดีอีกด้วย
2
คำพูดที่ว่า ยิ่งให้ ยิ่งได้ ไม่ได้เป็นคำพูดที่เกินจริงเลยและการให้ก็ไม่ใช่การเสียสละแต่อย่างใด
2
แม่ชีเทเรซาบอกว่า "ถ้าพวกเขารู้ว่าฉันรู้สึกสนุกแค่ไหนที่ได้ช่วยเหลือผู้คน พวกเขาจะไม่คิดว่านี่คือ การเสียสละ"
3
ซึ่งการให้มีได้หลากหลายรูปแบบ เช่น การให้วัตถุสิ่งของ, ให้ความช่วยเหลือ, ให้อภัย, ให้กำลังใจ, ให้ความรู้ ฯลฯ
2
บางคนมีความรู้ ความสามารถอยู่มากมายแต่เก็บเอาไว้ หวงแหนไม่ยอมถ่ายทอดให้ใคร เพราะกลัวคนอื่นจะได้ดีกว่า กลัวว่าตัวเองจะสูญเสียคุณค่าของตัวเองไป
1
แต่การสอนหรือถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นนอกจากความรู้จะไม่ลดลงแล้วยังกลับขยายความรู้เพิ่มให้ผู้สอนด้วย เพราะก่อนที่เราจะถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้เราต้องเข้าใจมันอย่างถ่องแท้ ทำให้เราได้ทบทวน ได้ศึกษา ได้เตรียมตัว ยิ่งทำให้เพิ่มพูนความรู้แก่ผู้ถ่ายทอดมากขึ้น
1
ขอบคุณภาพจาก Pixabay
มีข้อมูลว่าความรู้หลายแขนงชาติตะวันออกอย่างจีนเป็นผู้คิดค้นได้ก่อนตะวันตก แต่ทำไมชาติตะวันตกถึงกลายเป็นประเทศมหาอำนาจ เป็นผู้นำความรู้ต่าง ๆ
นั่นเป็นเพราะระบบการถ่ายทอดความรู้ของตะวันออกที่มีการถ่ายทอดกันในครอบครัว เครือญาติ ศิษย์ในสำนัก ไม่เผยแพร่ทั่วไป ทำให้ความรู้อยู่ในวงจำกัดหรือหายสาบสูญไป
1
ในขณะที่ฝั่งตะวันตกมีการเปิดกว้าง ใครค้นพบข้อมูลใหม่ ๆ จะรีบบันทึกและเผยแพร่ เพราะถ้าหากบันทึกช้า คนอื่นที่มาบันทึกก่อนจะกลายเป็นผู้ค้นพบคนแรก จนทำให้เกิดระบบลิขสิทธิ์เกิดขึ้น
1
คนรุ่นหลังไม่ต้องมาคิดทุกอย่างแต่สามารถต่อยอดจากของเดิมได้เลย จึงทำให้วิทยาการใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลต่อความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ
1
ขอบคุณภาพจาก Pixabay
เราทุกคนล้วนมีสิ่งที่แบ่งปันให้กับผู้อื่นได้เสมอ เราขาดแคลนหรือมีเหลือเฟือก็อยู่ที่วิธีคิดของเราทั้งนั้น
4
หากเราได้ลองแบ่งปันสิ่งที่เรามีอยู่ให้กับคนอื่นบ้าง เราอาจจะค้นพบความสุขที่แท้จริงแบบปลาสายรุ้งก็เป็นได้ 🌿
1
แล้วปลาสายรุ้งมีอยู่จริงหรือเปล่า ?
คำตอบ คือ "ปลาสายรุ้ง" เป็นปลาสวยงามชนิดหนึ่ง บ้างก็เรียก "ปลาเยอรมันสี" มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Blue-banded Whiptail มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pentapodus setosus
ขอบคุณภาพจาก fb ร้านขายปลาสวยงาม Champaquarium
เป็นปลาขนาดเล็ก 2-3 ซ.ม. ลำตัวแบนข้าง ปากแหลมและกว้าง มีเกล็ดอยู่บริเวณปลายสุดของหัว มีฟันแหลมซี่เล็ก ๆ กินพืชน้ำ สัตว์ขนาดเล็กและซากพืชซากสัตว์เป็นอาหาร
ปัจจุบันนี้ได้มีการฉีดสีต่าง ๆ เข้าไปในตัวปลาซึ่งทำให้มีสีสันที่สวยงามและขายเป็นปลาสวยงาม เพิ่มมูลค่าจากราคาตัวละ 2-3 บาทเป็นประมาณตัวละ 10 บาท
การฉีดสีจะใช้สีโปสเตอร์ผสมน้ำแล้วใช้เข็มฉีดยาขนาดเล็กแทงเข้าไปบริเวณหลังปลา สีจะอยู่ได้นานประมาณ 4 - 12 เดือน และจะค่อย ๆ จางหายไปเมื่อปลาโตขึ้น แต่บางตัวอยู่ไม่ได้เพราะเหมือนการได้รับสารแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายและอาจไปโดนเส้นประสาทหรือโดนอวัยวะสำคัญ
5
โดยส่วนตัวคิดว่าการกระทำแบบนี้เป็นการทรมานสัตว์อย่างหนึ่ง จึงไม่สนับสนุน อยากให้ปลาได้สวยงามในแบบของเขามากกว่าค่ะ ❤️
1
โฆษณา