Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Weeranai.R
•
ติดตาม
20 ก.ค. 2021 เวลา 07:23 • ไลฟ์สไตล์
จ้ำบะตำนานเปิดหวองานวัด
ในสมัย 60-70 ปีก่อน มีการแสดงระบำที่มีผู้คนนิยมเช้าชมกัน โดยเฉพาะหมุ่มๆ แก่ๆ ท้ังหลาย งานวัดประจำปีจะขาดเสียเป็นไม่ได้ งานภูเขาทอง งานวัดเบ็ญจมบพิตร งานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ เรียกขานกันว่า "จ้ำบะ" หรือเรียกอีกอย่างว่าระบำเปิดหวอ
การแสดงระบำจ้ำบะไม่ต้องการศิลปะอะไรมากมาย นางระบำก็ไม่จำเป็นต้องคัดตัวหน้าสวยแต่อย่างไร เอาเพียงนุ่งสั้นๆ ไม่ใส่ชั้นใน ออกมาเต็นหน้าเวทีที่อยู่สูงกว่าคนดู พอได้จังหวะก็เปิดให้เห็นอย่างอล่างฉ่าง เวลานี้เองเหล่ากองเชียด้านล่างเวทีต่างก็พากันส่งเสียงเฮกันลั่นไปเลย ก็รอเวลาเห็นของดีกันมานาน แวบเดียวก็ยังดี ว่ากันมาอย่างนั้น ระบำจ้ำบะมักจะจบลงด้วยการแสดงชุด " ยุทธหัตถี " คือการที่นางระบำเปิดหวอของตัวเองแล้วเอามาชนกับหวอของนางรำคนอื่น เป็นที่น่าตื่นเต็นยิ่งนัก ชนกันสนั่นหวั่นไหว แล้วก็วิ่งเข้าหลังโรงเป็นอันจบการแสดง
นางระบำจ้ำบะ
โรงระบำจ้ำบ๊ะจึงมีแต่ผู้ชายเป็นคนดู และมี 2 เวที เวทีหนึ่งเป็นเวทีการแสดงอยู่ในโรง ที่ต้องเสียเงินเข้าไปดู มีเก้าอี้สำหรับคนดูตั้งเป็นแถวๆ บางโรงก็ไม่มีเก้าอี้ ให้ยืนดูกันก็ไม่มีใครรังเกียจ อีกเวทีหนึ่งอยู่หน้าโรง สำหรับโฆษกออกไปประกาศเชิญชวนคนดู และพูดเหมือนนักเลือกตั้งสมัยนี้ไม่มีผิด โฆษณาว่าผู้หญิงที่จะมาเปิดให้ดูนั้นล้วนแต่สาว ขาว สวย อวบอั๋น ซึ่งเป็นรสนิยมของยุคนั้น แต่กลับหาความจริงไม่ได้ ส่วนใหญ่มักเป็นแม่ลูกอ่อนหรือเด็กๆ
ไม่มีหลักฐานว่าใครเป็นคนริเริ่มจัดแสดงจ้ำบ๊ะขึ้นก่อน แต่ก็คาดว่าคงไม่พ้นไปจาก ๒ คนนี้ คือ นายหรั่ง เรืองนาม ซึ่งเป็นเจ้าของคณะ “ระบำมหาเสน่ห์” ที่โด่งดังของยุคนั้น เปิดแสดงที่ 9 ชั้นเยาวราชก่อน ตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงย้ายมาเปิดวิกที่ตลาดบำเพ็ญบุญ ตรงข้ามศาลาเฉลิมกรุง ส่วนอีกคนก็คือ นายเปรื่อง เรืองเดช ซึ่งเป็นราชาระบำโป๊ยุคนั้นเช่นกัน นสพ.สยามนิกร ฉบับวันที่ 15 ธันวาคม 2494 รายงานว่า ในงานฉลองรัฐธรรมนูญปีนั้นซึ่งจัดอย่างยิ่งใหญ่ที่สนามหลวง มีจ้ำบ๊ะถึง 4-5 โรง ส่วนใหญ่เป็นของนายเปรื่อง เรืองเดช เหมาเป็นราชาจ้ำบ๊ะ
จ้ำบ๊ะได้รับความนิยมมากในยุคนั้น แม้แต่โรงงิ้วเยาวราชก็หันมาเปิดแสดงจ้ำบ๊ะ งานวัดทั้งหลายก็ไม่ยอมขาดจ้ำบ๊ะ พระเณรพลอยได้เห็นหนังตัวอย่างที่เต้นล่อคนอยู่หน้าโรงไปด้วย ทำให้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้นทุกที สภาวัฒนธรรมได้ขอร้องให้สถานีวิทยุต่างๆนำเพลงที่ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยมาเปิด เพื่อรณรงค์ต่อต้านจ้ำบ๊ะ ในที่สุดจ้ำบ๊ะก็เป็นของต้องห้าม ถูกสั่งให้เลิกโดยเด็ดขาด
จ้ำบ๊ะหายจากสังคมไทยไปนาน จนคนรุ่นใหม่ไม่รู้จักจ้ำบ๊ะ ปัจจุบันมีการแสดงในลีลาแปลกๆจากต่างประเทศเข้ามา เช่นในชื่ออะโกโก้ โคโยตี้ หรือระบำแคนแคนในฝรั่งเศษ ที่เต้นประกอบเพลงเร้าใจในลีลายั่วยวน โดยนุ่งน้อยห่มน้อย หรือไม่นุ่งไม่ห่มเลยก็มี จนเข้าขั้นลามกอนาจาร คำว่า “จ้ำบ๊ะ” เลยถูกรื้อฟื้นขึ้นมาอีก เปรียบเปรยว่าการแสดงเหล่านี้ ลามกอนาจารไม่ต่างไปจากจ้ำบ๊ะในอดีต
https://www.istock.com
บรรนานุกรม
รศสุคนธ์ มกรมณี. ( 2558 ). รายงานการวิจัยเรื่อง จ้ำบะ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ. ( 2558 ). "จ้ำบะ" ความบันเทิงเชิงกามารมณ์. จุลสารหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์. ฉบับที่ 19
1 บันทึก
3
1
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย