13 ก.ค. 2021 เวลา 02:54 • ประวัติศาสตร์
ปราสาทพระเทพบิดร สถานชุมนุมแห่งบูรพกษัตริย์
"ปราสาทพระเทพบิดร" เป็นปราสาทเพียงองค์เดียวในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นอาคารจัตุรมุขทรงไทยยอดปราสาททรงปรางค์ประดับกระเบื้องเคลือบสีทั้งหลัง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๘ ตามแบบปราสาททอง (พระที่นั่งวิหารสมเด็จ) ในกรุงศรีอยุธยา เพื่อประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) พระราชทานนามว่า "พระพุทธปรางค์ปราสาท"
ครั้นก่อสร้างแล้วเสร็จในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีพระบรมราชวินิจฉัยว่าปราสาทองค์นี้มีขนาดเล็ก ไม่เพียงพอแก่การพระราชพิธีต่าง ๆ จึงอัญเชิญพระเจดีย์กาไหล่ทองของรัชกาลที่ ๔ มาประดิษฐานเป็นประธาน ถึงปลายรัชกาลเกิดเพลิงไหม้เครื่องบนหลังคาปราสาทและพระเจดีย์กาไหล่ทองจนหมดสิ้นเมื่อบูรณปฏิสัง
ขรณ์เสร็จบริบูรณ์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมง
กุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช แห่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ๕ พระองค์ คือ รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕ และพระราช
ทานนามใหม่ว่า "ปราสาทพระเทพบิดร"
จากนั้นรัชกาลต่อ ๆ มา โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริย์ประดิษฐานเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน คือ พระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๙
พระบรมรูปรัชกาลที่​ ๑-๔​ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยมีพระองค์เจ้าประดิษฐวรการ อธิบดีกรมช่างสิบหมู่ เป็นผู้อำนวยการ โดยปั้นรูปขึ้นตามคำให้การของบุคคลที่เคยเห็นพระพักตร์ของรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๔ ซึ่งในเวลานั้นช่วยกันบอกช่างให้ปรับแก้ไป สำหรับรัชกาลที่ ๔ไม่มีปัญหาเพราะมีทั้งพระบรม
ฉายาลักษณ์และรูปหล่อ ส่วนรัชกาลที่ ๒ และ ๓ ในเวลานั้นก็ยังมีผู้ทันเห็นอยู่มาก ส่วนรัชกาลที่ ๑ มีผู้ทันเห็นอยู่เพียง ๔ ท่านความทรงจำ พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ความว่า
"...การสร้างพระบรมรูป ๔ พระองค์นั้น โปรดฯ ให้พระองค์เจ้าประดิษฐวรการอธิบดีกรมช่างสิบหมู่ และเป็นช่างอย่างดีในพระองค์เองด้วย เป็นผู้อำนวยการ เมื่อปั้นหุ่นนั้นรู้พระลักษณะได้แน่แต่ขนาดพระ
องค์ว่าสูงเท่าใด เพราะมีพระพุทธรูปฉลองพระองค์อยู่เป็นหลัก แต่ส่วนพระรูปโฉมนั้นนอกจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระบรมรูปปั้นอยู่แล้ว ต้องอาศัยไต่ถามผู้ที่ได้เคยเห็นพระองค์ให้บอกพระลักษณะและคอยติให้ช่างแก้ไขไปแต่แรกจนแล้ว ก็ในเวลานั้นผู้ที่เคยเห็นพระบาทสมเด็จพระ
พุทธเลิศหล้านภาลัย และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวยังมีอยู่มาก แต่ผู้เคยเห็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หาได้แต่ ๔ คน คือ พระองค์เจ้าหญิงปุก พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๒ พระองค์ ๑ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังองค์ ๑ เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (บุญศรี) คน ๑ กับเจ้าพระ
ยาธรรมาฯ (ลมั่ง สนธิรัตน) คน ๑ ปั้นพระรูปสำเร็จได้หล่อเมื่อเดือนอ้ายปีมะแม พ.ศ. ๒๔๑๔ แล้วโปรดฯ ให้ประดิษฐานไว้ที่ในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในชั้นแรก..."
สรุปได้ว่าในสมัยรัชกาลที่ ๒ และรัชกาลที่ ๓ นั้นเราพอรู้ลักษณะพระวรกายแลพระพักตร์ของพระองค์ท่านได้เนื่องจากยังมีผู้ที่เกิดทันเห็นพระองค์ท่านทั้งสองอยู่เป็นจำนวนมาก "แต่ในสมัยรัชกาลที่ ๑ นั้นมีผู้เห็นพระองค์ท่านอยู่เพียง ๔ คน"ดังนั้นการที่จะทราบลักษณะของพระองค์ท่านได้ต้องไตร่ถามจากบุคคลที่เคยพบเห็นพระองค์ท่านมาแล้ว
จากคำบอกเล่า รัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๓ มีพระพักตร์คล้ายกัน เพียงแต่รัชกาลที่ ๓ มีพระวรกายใหญ่กว่า การปั้นจึงสามารถใช้พระบรมรูปรัชกาลที่ ๓ เป็นหลัก เพราะมีคนทันเห็นพระองค์อยู่มาก แล้วให้ผู้ที่เกิดทันรัชกาลที่ ๑ คอยบอกเพื่อปรับแก้จนเราสามารถทราบลักษณะพระพักตร์ของพระองค์
จากภาพเป็นพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช ณ ปราสาทพระเทพบิดร วัดพระศรีรัตน
ศาสดาราม ตั้งแต่รัชกาลที่​ ๑​-๔​ ด้านหน้าคือ​ปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์จักรี​ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช​
ด้านหลัง
จากขวาไปซ้าย
๑.พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
๒.พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
๓.พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช​ ตั้ง
แต่​รัชกาลที่​๑​ ถึง​ ๓​ทรงพระภูษาจีบลอยชาย เปลือยพระวรกายท่อนบน​ รัชกาลที่​ ๒และ​ ๓ฉลองพระองค์ครุยกรองทอง​ทั้งสามองค์นี้หล่อแล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๔๑๒​
ส่วนพระบรมรูปรัชกาลที่ ๔ เป็นพระบรมรูปองค์บูรพกษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงฉลองพระองค์อย่างใหญ่
ฉลองพระองค์ครุยกรองทอง
แต่ในพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูปนั้นเจ้าพนัก
งานก็จะสอดพระแสงดาบไว้ในพระหัตถ์​ โดยพระ
บรมรูป​ รัชกาลที่​๑​-๓​ ทรงพระแสงดาบใจเพชร และ พระแสงดาบญี่ปุ่น​ ส่วนรัชกาลที่​ ๔​ ทรงพระแสงดาบหัตถ์นารายณ์​ พร้อมถวายฉลองพระองค์ครุยกรองทองด้วย แต่ภายหลังว่ากันว่าฉลองพระองค์ได้ชำรุดลงจากการพับอย่างผิดวิธี (ทำให้เส้นทองหัก) หรือบางท่านก็ว่าหายสาบสูญไป จึงไม่มีการถวายฉลองพระองค์ครุยทองอีกตั้งแต่หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
พระบรมรูปรัชกาลที่​ ๑-๔​ นี้สันนิษฐานว่าถ่ายในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว​ รัชกาลที่​ ๖​ เนื่องจาก ยังไม่ได้ทำฐานทองแกมแก้วต่อซ้ายขวา
#หอจดหมายเหตุ​ หอสมุดแห่งชาติ
#แปลและเรียบเรียง​Danny karn
#FB:เลาะรั้ว​ ชมวัง
หมายเหตุ : บทความทั้งหมดเรียบเรียงโดยแอดมินเพจเลาะรั้ว​ ชมวัง แอดมินขอสงวนสิทธิไม่อนุญาตให้นำข้อมูลที่เผยแพร่ในเพจไปแก้ไข คัดลอก ดัด​แปลง ทำซ้ำ เผยแพร่ต่อ และห้ามนำไปแสวงหาผลกำไรทางพาณิชย์โดยเด็ดขาด หากมีความประสงค์จะขอบทความของเพจเลาะรั้ว​ ชมวังไปเผยแพร่ต่อด้วยวิธีการใดๆ ก็ตามต้องได้รับการยินยอมจาก
แอดมินเพจเลาะรั้ว​ ชมวังในทุกกรณี ยกเว้นแต่การแชร์ (share) ในเฟสบุ๊คที่สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
โฆษณา