13 ก.ค. 2021 เวลา 05:45 • ธุรกิจ
Alibaba vs Amazon สงครามความเร็วระดับโลก
สิ่งที่ทั้งสองบริษัทมีเหมือนกันคือระบบ Automated Warehouse และ Big Data... Alibaba Group มีบริษัทในเครือที่ดูแลตั้งแต่ตัวมาเก็ตเพลซเว็บไซต์ (Alibaba Express) ระบบการเงิน (ANT Group) และบริษัทดูแลเรื่องขนส่ง (CAI NIAO) เมื่อเราสั่งของผ่านเว็บไซต์ข้อมูลทุกอย่างจึงเชื่อมถึงกันอย่างรวดเร็ว และส่งตรงถึงกรมศุลกากรของจีนเพื่อรอการอนุมัติส่งออก ซึ่งกระบวนการนี้พัฒนาเร็วมากขึ้นเรื่อยๆจากที่เคยใช้เวลาเป็นเดือน จนปัจจุบันเสร็จสิ้นได้ภายในไม่กี่นาที
เมื่อของส่งออกไปนอกประเทศ Alibaba จะใช้วิธีการพาร์ทเนอร์กับบริษัทขนส่งคู่ค้าในแต่ละประเทศ ทำให้สามารถขยายโครงข่ายการขนส่งออกไปได้หลายประเทศ (ตลาดหลักของ Alibaba คือ รัสเซีย ฝรั่งเศส และสเปน) โดยไม่ต้องสร้างระบบจัดการยานพาหนะของตัวเอง
ในขณะที่ Amazon ใช้กลยุทธ์ต่างกัน... Amazon ลงทุนหลักพันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อสร้างระบบจัดการยานพาหนะในการขนส่งเองทั้งหมด ซึ่งรวมถึงการซื้อรถบรรทุกกว่า 40,000 คัน และ เครื่องบินบรรทุกสินค้ากว่า 75 ลำ
ทั้งสองบริษัทให้บริการพรีเมี่ยมเรื่องความเร็วเหมือนกันแต่กลยุทธ์การตั้งราคาไม่เหมือนกัน... อย่าง Amazon Prime สามารถส่งได้เร็วภายในไม่กี่ชม. แต่ยังจำกัดอยู่แค่ 21 ประเทศ และคิดราคาเป็นแบบ Subscription ต่อปี ซึ่งราคาถูกแพงไม่เท่ากันในแต่ละประเทศ (อย่างในอังกฤษ ปีละ 130 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่อินเดียราคา 13 ดอลลาร์สหรัฐ)
Alibaba ในทางกลับกันตอนนี้ส่งได้กว่า 190 ประเทศทั่วโลก แต่การขนส่งภายในเวลาไม่กี่ชม. นั้นยังคงจำกัดอยู่ที่สินค้าบางประเภทเท่านั้น โดยไม่มีค่าขนส่งเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม Alibaba ยังอยู่ในช่วงของการขยายข้อจำกัดนี้ และตั้งเป้าว่าจะมีการเก็บเงินในรูปแบบ Subscription ที่ปีละ 3 ดอลลาร์สหรัฐ
คุณภาพและราคาสินค้าล่ะ... ทั้งสองบริษัทเป็นมาเก็ตเพลซเหมือนกัน แต่ทำไมสินค้ามักจะถูกกว่าใน Alibaba ข้อได้เปรียบของ Alibaba คือการเข้าถึงโรงงานผลิตในจีนโดยตรง ไม่มีคนกลาง ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบที่ Amazon ไม่มี แต่การใช้กลยุทธ์ขายของราคาถูกของ Alibaba ก็เผชิญกับปัญหากับการส่งของปลอม หรือไม่ได้คุณภาพ ซึ่งมีมากกว่า Amazon
ดูแล้วทั้งสองบริษัทก็แข่งกันพัฒนามาไกล ถึงแม้จะมีกลยุทธ์ในการสเกลต่างกัน แล้วจุดแข่งขันตอนนี้อยู่ที่ไหน?
คำตอบคือ Last-Mile Delivery หรือระยะทางสุดท้ายในการส่งของให้ถึงมือผู้รับ ซึ่งคือส่วนที่มีต้นทุนสูงที่สุดเกือบกว่า 50% ของต้นทุนทั้งหมด เพราะต้องใช้แรงงานคนอยู่มาก ปัจจุบันทั้งสองบริษัทเลยเร่งพัฒนาหุ่นยนต์ที่จะช่วยในการส่งของขั้นตอนสุดท้ายนี้ให้เร็วและง่ายที่สุด โดย Alibaba ใช้หุ่นยนต์ขับเคลื่อนเองไปส่งของตามบ้านที่สามารถนัดแนะเวลาได้ โดยตั้งเป้าใช้งาน 1,000 คันภายในปี 2022 ในจีน ในขณะที่ Amazon มีพัฒนาโดรนเพื่อการขนส่งแบบ Click-to-Delivery ภายใน 13 นาที
--
🔥 ไม่พลาดทุกไอเดีย Subscribe Free ที่ https://www.thebusinessbite.cloud/
💬 หรือแอดเฟรนไลน์เพื่อติดตามไอเดียใหม่ๆ ที่ https://lin.ee/EOlvdbH
❤️ NO SPAM
--
โฆษณา