13 ก.ค. 2021 เวลา 05:35 • หุ้น & เศรษฐกิจ
การเพิ่มทุน จะทำให้จำนวนหุ้นโดยรวมในตลาดเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผล เกิด“Dilution Effect” การเกิด Dilution Effect นั้น นอกจากจะเกิดกับราคาหุ้น(price Dilution) แล้วยังเกิดกับกำไรต่อหุ้น(Earning Dilution)ด้วย มารู้จักเรื่อง Dilution Effect พร้อมกับตัวอย่างการคิดกัน
มาเริ่มจากการคิด price dilution หรือราคาหุ้นหลังจากที่มีกรเพิ่มทุนจะลงมาอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ถ้ามีการเพิ่มทุน
มาดูตัวอย่างกัน จะได้เข้าใจมากขึ้น…
ตัวอย่าง หุ้นบริษัทมานีจำกัดมหาชน ออกหุ้นเพิ่มทุน
โดยให้สิทธิ หุ้นเดิม:หุ้นเพิ่มทุน 2:1
ราคาใช้สิทธิเพิ่มทุนคือ 25 บาท
ราคาหุ้นในตลาดก่อนเพิ่มทุน คือ 30 บ. ต่อหุ้น
บริษัมานีมีกำไรต่อหุ้น (EPS) ก่อนเพิ่มทุนคือ 3 บ. มีนโยบายจ่ายปันผล 50% ของกำไร
ราคาหุ้นหลังเพิ่มทุน
= [(อัตราหุ้นเดิม x ราคาหุ้นก่อนวัน XR) + (อัตราหุ้นเพิ่มทุน x ราคาหุ้นที่ใช้สิทธิเพิ่มทุน)] / (จำนวนหุ้นเดิม + จำนวนหุ้นเพิ่มทุน)
= {(2 x 30) + (1 x 25)} / ( 2 + 1 )
= 28.33 บ. ต่อหุ้น
คือมี Price Dilution = (ราคาหุ้นในตลาดเดิม – ราคาหุ้นในตลาดที่จะเกิดขึ้นหลังหุ้นเพิ่มทุน) แล้วหารด้วย ราคาหุ้นเดิมในตลาด
= (30 – 28.33)/ 30 = 5.57% คือ มี Price Dilution = 5.57%
ราคาหุ้นหลังเพิ่มทุนนี้เป็นการคิดในส่วนปัจจัยจากจำนวนหุ้นที่เพิ่มในตลาดเท่านั้น แต่ในชีวิตจริง การขึ้นลงของราคาหุ้นจะขึ้กับหลายปัจจัยนะ
การเกิด Earning dilution นี้ จะส่งผลต่อการประเมินมูลค่าด้วยค่าสำคัญอย่าง P/E และ ยังมีผลต่อเงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับด้วย ซึ่งจะเห็นว่า การเกิด dilution นี้ก็สำคัญ ไม่แพ้การเกิด price dilution เลย
ปกติแล้ว กำไรต่อหุ้น หรือ earning per share(EPS) นั้นจะคิดมาจาก กำไรสุทธิหารด้วยจำนวนหุ้น ซึ่งจะเห็นว่าเมื่อมีหุ้นเพิ่มทุน จำนวนหุ้นในตลาดจะเพิ่มขึ้น ทำให้ตัวหารมากขึ้น ถ้าไม่สามารถทำกำไรสุทธิเพิ่มตามได้ทัน จะส่งผลทำให้กำไรต่อหุ้นลดลง
เมื่อกำไรต่อหุ้นลดลง จะส่งผลต่ออัตราส่วนการประเมินมูลค่าหุ้นที่สำคัญตัวหนึ่งก็คือ P/E (P/E หรือ price per earning ratio ซึ่งคิดมาจาก ราคาต่อหุ้น/ กำไรต่อหุ้น)
เมื่อกำไรต่อหุ้นลดลงมากกว่าราคาหุ้นที่ลดลง จะทำให้ค่า P/E ปรับเพิ่มขึ้น
ในการดูเรื่องของหุ้นเพิ่มทุนนั้น การดู Earning Dilution นั้นจึงมีความสำคัญ
ลองมาคิดเรื่อง Earning Dilution กัน บริษัทมานี มีกำไรต่อหุ้นเดิม คือ 3 บาท
กำไรต่อหุ้นใหม่ หลังมีหุ้นเพิ่มทุน
= กำไรสุทธิเดิม / (จำนวนหุ้นเดิม + จำนวนหุ้นที่เพิ่มทุนเข้ามา)
ถ้าให้จำนวนหุ้นเดิมคือ X
จำนวนหุ้นที่เพิ่มทุนเข้ามาก็จะเป็น คือ 0.5X (เพราะบริษัทมานี ออกหุ้นเพิ่มทุน: หุ้นเดิม คือ 1:2 ดังนั้นจะมีหุ้นเพิ่มเข้ามา คือ ½ X = 0.5X)
EPS ใหม่บริษัทมานี ก็จะได้เท่ากับ กำไรสุทธิเดิม / (X+0.5X) = กำไรสุทธิเดิม/ 1.5X
ถ้าเรามอง X เป็น 1 หุ้น เพื่อดูเป็นกำไรต่อหุ้น
EPS ใหม่ = EPS เดิม / (1.5) = 3/ 1.5 = 2 บ.ต่อหุ้น
ก็จะเห็นว่า EPS จะถูก dilution ลง จาก 3 บ.ต่อหุ้น เป็น 2 บ.ต่อหุ้น ซึ่ง dilution ลงมา (3-2)/3 = 33.33%
ถ้าลองเขียนเป็นสูตรในการคิดว่า Earning Dilution จะลดลงกี่ % จากเดิม
ก็จะเป็นแบบนี้ 1 – 1/(1+อัตราหุ้นเพิ่มทุนต่อหุ้นเดิม )
จากตัวอย่าง มาลองใส่ในสูตรกัน…
หุ้นเพิ่มทุน: หุ้นเดิม คือ 1:2 ดังนั้นอัตราหุ้นเพิ่มทุน 1/2 = 0.5 เมื่อนำมาเข้าสูตร ก็จะได้ % Dilution ของกำไร = 1-1/(1+0.5) = 33.33%
มาคิด P/E ของหุ้นบริษัทมานีกัน
P/E เดิม = ราคาหุ้นเดิม/ กำไรต่อหุ้นเดิม คือ 30/3 = 10 เท่า
P/E ใหม่(หลังจากเพิ่มทุน) = ราคาหุ้นใหม่/ กำไรต่อหุ้นใหม่ = 28.33/ 2 = 14.2 เท่า
จะเห็นว่า P/E จะปรับเพิ่มสูงขึ้น ถ้าบริษัทยังทำกำไรได้เท่าเดิม ซึ่งจะมีผลต่อการประเมินมูลค่าหุ้น
ลองมาดูว่า ถ้าเราเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทมานีอยู่เดิม earning dilution ที่เกิด จะส่งผลต่อเงินปันผลต่อหุ้นที่เราจะได้รับด้วย
จากตัวอย่าง บริษัทมานี จ่ายปันผล 50% ของกำไร ดังนั้น กำไรต่อหุ้น 3 บ. ปันผล 50% คือ เงินปันผล 1.5 บ. ต่อหุ้น แต่ถ้ากำไรต่อหุ้นลดลงเป็น 2 บ. ต่อหุ้น เพราะเกิด earning dilution บริษัทมานีปันผล 50% ของกำไรเหมือนเดิม ดังนั้นเงินปันผลต่อหุ้น ก็จะลดลงเป็น 1 บ. ต่อหุ้น
ดังนั้นเมื่อมีการออกหุ้นเพิ่มทุนเข้ามา สิ่งที่ควรมองนอกจากเรื่องของ Price Dilution แล้ว ควรจะพิจารณาถึง Earning Dilution ที่จะเกิดขึ้นดัวยนะ
#หมอยุ่งอยากมีเวลา
#หุ้นเพิ่มทุน
#ราคาหุ้น
#กำไรต่อหุ้น
#Dilute
#DilutionEffect
โฆษณา