Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย
•
ติดตาม
13 ก.ค. 2021 เวลา 12:41 • ข่าว
ข่าวดี !! ไทยวิจัยสารตั้งต้นในการผลิตยา
ฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) เพื่อรักษาโควิดได้แล้ว
6
จากกรณีมีการระบาดของโควิด ซึ่งเริ่มต้นจากเคสแรกที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2562
จนถึงปัจจุบัน มีการแพร่ระบาดไปแล้วกว่า 200 ประเทศทั่วโลก มีผู้ติดเชื้อแล้ว 188 ล้านคน เสียชีวิตมากถึง 4 ล้านคน คิดเป็นอัตราการเสียชีวิต 2.16% นั้น
ในส่วนของผู้ติดเชื้อ เราจะเน้นไปที่เรื่องวินัยในการป้องกันตนเอง และการวิจัยพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
1
ในส่วนของการเจ็บป่วยและการเสียชีวิต เราต้องเน้นไปที่ยารักษาโรค
จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มียาตัวใดที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการว่าสามารถรักษาโควิด-19 ได้อย่างเฉพาะเจาะจง
1
มีแต่เพียงการพยายามใช้วิธีการ หรือยาต่างๆที่มีอยู่เดิม ลองรักษาดู ซึ่งพอจะได้ผลอยู่บ้างได้แก่
1) นำน้ำเหลืองของผู้ที่หายป่วยแล้ว
( Convalescent plasma) มาใช้ พบว่าได้ผลไม่ค่อยดีนัก
2) ยา Remdesivir ซึ่งใช้กับผู้ที่มีอาการรุนแรง
3) ยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) ใช้กับผู้ที่มีอาการไม่มาก ยังไม่มีอาการปอดอักเสบ
1
ซึ่งประเทศไทยเราและหลายประเทศก็ได้ใช้ยา
ฟาวิพิราเวียร์เป็นหลักในการรักษา ซึ่งก็ได้ผลดีพอสมควร
1
ปัญหาคือ ฟาวิพิราเวียร์ เป็นยาที่ผลิตมาจากประเทศญี่ปุ่น และไทยต้องสั่งนำเข้า ราคาเม็ดละ 120 บาท
ที่สำคัญคือมีความขาดแคลนของยาเป็นอย่างมาก จนช่วงหนึ่งที่ผ่านมา ยาของเราเกือบจะหมดสต๊อก
จึงได้มีการพูดถึงเรื่องที่ไทยควรจะเร่งผลิตยาตัวนี้เอง
1
ก็ประสบปัญหา เรื่องการมีสิทธิบัตรของยา ซึ่งมีบริษัทต่างชาติมายื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตรกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศไทยไว้
1
แต่ในที่สุดรัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้อง ก็ได้ดำเนินการ จนสามารถยุติการขอจดทะเบียนสิทธิบัตรดังกล่าวได้
จึงทำให้ไทยเราสามารถที่จะผลิตยาดังกล่าวได้ด้วยตัวเอง
1
จึงมีความร่วมมือระหว่างสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) องค์การเภสัชกรรมและบริษัทปตท ในการดำเนินการวิจัยพัฒนาสารตั้งต้น เพื่อให้สามารถที่จะผลิตยาฟาวิพิราเวียร์ขึ้นเอง
1
ขณะนี้มีข่าวดีว่า เราได้ประสบความสำเร็จ โดยผ่านขั้นตอนต่างๆได้แก่
1) การทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการ ( Laboratory scale)
2) การทดสอบเทคโนโลยีในระดับการผลิตเพื่ออุตสาหกรรม ( Industrial scale)
3) การศึกษาศักยภาพในเชิงพาณิชย์ (Feasibility study)
คาดว่าจะสามารถจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ภายในเดือนกรกฎาคมนี้
2
ทำให้ราคายาลดลงจากเม็ดละ 120 บาท เหลือเพียงเม็ดละประมาณ 30-40 บาท
2
ที่สำคัญทำให้เกิดความมั่นคงเรื่องยารักษาโควิด ทำให้เราผลิตยาได้เอง ยาจะไม่ขาดแคลนในอนาคต
2
นอกจากนั้น ก็จะร่วมไปกับการวิจัยพัฒนาของกรมการแพทย์แผนไทย ที่กำลังทำการวิจัยในโรงพยาบาลสนาม โดยใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรซึ่งก็ทราบว่าได้ผลดีเช่นกัน
2
นอกจากนั้น เราก็ต้องติดตามความคืบหน้าของยารักษาโควิดที่ชื่อ Molnupiravir ซึ่งกำลังทดสอบในเฟสสาม
เป็นความหวังเรื่องยาสำหรับรักษาโรค คู่ขนานไปกับวัคซีนที่ใช้ในการป้องกันโรค
1
โดยมีตัวแปรที่สำคัญคือ ไวรัสที่กลายพันธุ์ วินัยของมนุษย์ และมุมมองของผู้บริหารที่คำนึงถึงมิติเศรษฐกิจสังคมค่อนข้างมาก ทำให้ควบคุมการระบาดของโควิดได้ยากลำบากขึ้น
2
Reference
https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_6506350
https://www.thairath.co.th/news/politic/2139007
1
https://www.prachachat.net/economy/news-666810
1
12 บันทึก
104
20
53
12
104
20
53
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย