14 ก.ค. 2021 เวลา 00:12 • ไลฟ์สไตล์
ศรัทธา
ขอบคุณความรู้สึก
ใจสู้หรือเปล่า ไหวมั้ยบอกมา
สวัสดีครับพี่ๆทุกคน
ขอบคุณทุกความรู้สึก
"ใจสู้หรือเปล่า ไหวมั้ยบอกมา"
ความรู้สึกที่เรามีตอนนี้คือการที่จะช่วยกันฝ่าฟัน บุกบั่นฝ่าวงล้อม ความยากลำบากไปด้วยกัน
แม้ว่ามันคือความรู้สึก....
โกรธ ไม่ผิด
โมโห ไม่ผิด
กลัว ไม่ผิด
กังวล ไม่ผิด
ไม่ว่าความรู้สึกใด ขณะนี้จะเป็นเช่นไร
ผมว่าไม่ผิด ขอให้เรารู้ความรู้สึกนั้น
เรารู้แล้ว เออ มึงเจอกูแน่
มึงอย่ามาแน่กับกู กูจะต้องผ่านไปให้ได้
ใช่ครับ ขอให้เรารู้ความรู้สึกครั้งนี้ ตอนนี้
แล้วเราก็จะจัดการกับมันได้ ด้วยสติของเรา สติจะบอกเราเองว่าเราจะทำอย่างไร
โกรธ โมโห กลัว กังวล
แล้วไง...รู้แล้ว
รู้แล้วก็ รู้ไง ก็ปล่อยมันไป
ที่เรารู้สึกเช่นนั้น เพราะเราเป็นคน
มีเลือดเนื้อ มีชีวิตจิตใจ ไง
(เฉา มึงพูดง่ายว่ะ ไร้สาระ)
เอาจริงๆหน่อย เพื่อน
เพื่อนสนิท ผมแนะนำ สหายทั้ง5นี้เลยครับช่วยทุกคนได้แน่
ศรัทธา
เมตตา
สติ
ปัญญา
อดทน
กัลยาณมิตรเอย เราช่วยกันฝ่าวงล้อมสงครามโรคในครั้งนี้ออกไปด้วยกัน
อย่างน้อยการ์ดอย่าตก
ผมยกการ์ดท่วมหัวเลย
สาธุ...ขอให้ทุกคนปลอดภัยด้วยเถิด
ผมขอคัดลอกบทนิพนธ์สมเด็จพระสังฆราช มาฝากทุกท่าน 🙏🙏
พระนิพนธ์สมเด็จพระสังฆราช “เรื่องความเชื่อ”จาก หนังสือพิมพ์ข่าวสด หน้า 32 วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู    ด้วยในวันนี้
( 3 ตุลาคม 2540) เป็นวันคล้ายวันประสูติของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑุฒโน) แห่งวัดบวรนิเวศวิหาร หน้าพระเครื่องข่าวสด จึงน้อมนำบทพระนิพนธ์ของพระองค์ท่าน “เรื่องของความเชื่อ” เพื่อประโยชน์อันจะเกิดแก่ผู้สนใจต่อไป
บทพระนิพนธ์ดังกล่าวมีใจความว่า อันความเชื่อของบุคคลนั้นย่อมเนื่องมากับเหตุแวดล้อมภายนอกประกอบกับพื้นทางจิตและปัญญาของแต่ละคน บางคนเชื่อทางปาฏิหาริย์ บางคนชอบทางลึกลับ บางคนชอบผู้สำเร็จ เมื่อมีใครมาแสดงปาฏิหาริย์ เป็นต้น ให้ดูก็หลงเชื่อ โดยไม่ได้ไตร่ตรองก่อน หลงเชื่อไปทีเดียว
ความเชื่อของคนในปัจจุบันดูสับสนอยู่มาก เพราะคนเราบัดนี้ขาดหลักที่ยึดเหนี่ยวอันแน่นอนมั่นคงของจิตใจ จะลงความเห็นอย่างนี้ไม่ถูกนักเพราะส่วนใหญ่มีพระรัตนตรัยเป็นหลักยึดเหนี่ยวของจิตใจอยู่ ในเรื่องปาฏิหาริย์เรื่องลึกลับต่าง ๆ ก็เช่นเดียวกัน เมื่อห้ามความอยากรู้ อยากเห็นไม่ได้ ก็ลองดูในทางสบายใจ ไม่ให้เกิดความเชื่อและปฏิบัติในทางที่เกิดทุกข์โทษ
ฉะนั้น จึงถึงเวลาที่จะต้องใช้ความเชื่อด้วยปัญญา คือมีเหตุผลชนิดที่ตาเห็น หูได้ยิน ส่วนที่พ้นตาพ้นหู พ้นประสบการณ์แบบปาฏิหาริย์ จะต้องลดให้น้อยลง ทำศรัทธาในพระรัตนตรัย ในหลักกรรมของพระพุทธเจ้าให้มั่นคง จะไม่มีความผิดพลาด ปัจจุบันผู้ที่แสดงตนเป็นผู้รู้ ผู้วิเศษ ได้มีอยู่ในที่ต่าง ๆ ไม่น้อย ใครที่มีคนนับถือมากก็กลายเป็นคณาจารย์หรือศาสดา ตั้งลัทธิต่าง ๆ ขึ้น
การศึกษาให้รู้พระพุทธศาสนาโดยถูกต้องเป็นทางป้องกันมิให้โอนเอียงไปตามเครื่องชักจูงใจได้ คนในโลกนี้เมื่อนับถือศาสนาใดก็ยืนยันว่าศาสนานั้นจริงแท้ เมื่อเชื่อก็ไม่ยอมพิสูจน์ จึงไม่พบความจริง ในศาสนาที่ตนนับถือแม้จะมีผู้มาให้เหตุผลในทางที่ขัดแย้งกับความเชื่อก็ไม่ยอมฟัง การนับถือศาสนาเช่นนี้เป็นเหตุให้วิวาททุ่มเถียงกันอย่างไม่รู้จบสิ้น
ความเชื่อมีแสดงไว้ในทุกศาสนา แต่ในพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าทรงสอนให้เชื่อด้วยปัญญา คือ ให้พิจารณาให้รู้เหตุ รู้ผลแล้วให้เชื่อตามเหตุผล มิให้เชื่อด้วยอาการ 10 อย่าง คือ ด้วยฟังตามเหตุผล ด้วยถือสืบต่อกันมา ด้วยอ้างว่าได้ยินมาอย่างนี้ ด้วยอ้างตำรา ด้วยเหตุที่ตรึกตรองเอา ด้วยนัยตามที่คาดคะเนเอา ด้วยคิดเอาตามอาการ ด้วยต้องกับความคิดเห็น ด้วยเห็นว่าผู้พูดเป็นผู้ควรเชื่อ ด้วยเห็นว่าเป็นพระเป็นครูของตน
ศรัทธาที่เป็นตัวปัญญา เป็นสิ่งที่ถูกต้องมั่นคง ไม่มีใครมาหลอกให้เป็นอื่นไปได้ ฉะนั้นศาสนาของพระพุทธเจ้าจึงจริงแท้และอยู่ในระยะเอื้อมถึง มิใช่สุดเอื้อม เหมือนอย่างเรื่องกำเนิดโลกหรือสุดโลก ซึ่งไม่ทรงอธิบายเพราะเป็นเรื่องที่ไม่บังเกิดประโยชน์ที่จะทำให้ใครเป็นคนดีหรือคนเลวได้ จึงเป็นศาสนาที่แสดงข้อปฏิบัติตรงอย่างที่สุด
ศรัทธาในพระพุทธเจ้ามุ่งถึงศรัทธาอันเกิดจากความรู้ในธรรมของพระองค์ที่เกิดจาก “วิมังสา ความสอบสวนพิจารณา”โดยสอบสวนพระองค์ตั้งแต่ความประพฤติทางกาย วาจาอาชีพ ความยั่งยืนของความประพฤติ ตลอดถึงธรรมในพระองค์ จึงกล่าวได้ว่าพระองค์มิได้ตรัสสอนให้มีศรัทธาในพระองค์เลย แต่กลับสอนให้มีวิมังสาในพระองค์ให้ดีก่อน แล้วจึงค่อยมาฟังธรรมเพราะจะเกิดความตั้งใจที่จะรับธรรม
ลักษณะที่ทรงธรรมนั้น คือ ทรงยกฝ่ายโทษ คือความโลภ โกรธ หลง กรรมของคนที่โลภ โกรธ หลงแล้วขึ้นแสดง คือ ฆ่าเขาบ้าง ลักของเขาบ้างเป็นต้น ฝ่ายคุณได้ยกความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง กรรมของคนที่ไม่โลภเป็นต้นเปรียบเทียบให้เห็นได้ในปัจจุบันว่าฝ่ายไหนเป็นอย่างไร ฝ่ายไหนควรเว้น ฝ่ายไหนควรทำ ในที่สุดก็ทรงสอนให้แผ่เมตตาจิต เป็นต้นไปในสัตว์ทั้งหลาย ผู้ที่มีจิตใจไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนใคร มีใจไม่เศร้าหมอง ย่อมได้ความอุ่นใจ อาทิ ไปเกิดดี ไม่มีทุกข์มีสุขในปัจจุบัน เป็นต้น
1
ความเชื่อในเครื่องรางของขลังที่ทำขึ้นอาศัยคุณพระรัตนตรัยเป็นหัวใจเพื่อทำใจให้เข้มแข็ง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ธำรงรักษาไตรรงค์ คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ย่อมเป็นประโยชน์และก็พึงระวังมิให้เชื่อเกินขอบเขตที่ควร มิให้เชื่อจนงมงาย ควรทราบด้วยว่า ความเชื่ออันตรงต่อหลักพระศาสนานั้น คือความเชื่อในกรรมและผลของกรรมเพื่อที่จะได้ละกรรมที่ชั่วที่ผิด ทำกรรมที่ดีที่ชอบ หากจะมีเครื่องรางของขลังอันใดทำให้ละกรรมชั่ว ทำกรรมดีได้ก็จะเป็นยอดเครื่องรางของขลังทั้งหมด
ประวัติความเกิดขึ้นแห่งพุทธรูปชั้นแรกสร้างขึ้นสำหรับการบูชา เพื่อระลึกถึงพระพุทธคุณเป็นพุทธานุสติ ฉะนั้นควรน้อมใจนึกเพื่อที่จะสังวรระวังทางกรรมให้มากขึ้น เช่น เมื่อมีพระอยู่กับตัวจะทำอะไรก็พิจารณาก่อนว่าถูกหรือผิด ดีหรือชั่ว ถ้ารู้ว่าดีถูกต้องก็ควรทำพระพุทธเจ้าทรงโปรด
ความเชื่อในเครื่องรางของขลังที่ทำขึ้นอาศัยคุณพระรัตนตรัยเป็นหัวใจเพื่อทำให้เข้มแข็ง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ธำรงรักษาไตรรงค์ คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ย่อมเป็นประโยชน์ และก็พึงระวังมิให้เชื่อเกินขอบเขตที่ควร มิให้เชื่อจนงมงาย ควรทราบด้วยว่า ความเชื่ออันตรงต่อหลักพระศาสนานั้น คือความเชื่อในกรรมและผลของกรรมเพื่อที่จะได้ละกรรมที่ชั่วที่ผิด ทำกรรมที่ดีที่ชอบ หากจะมีเครื่องรางของขลังอันใดทำให้ละกรรมชั่ว ทำกรรมดีได้ ก็จะเป็นยอดของเครื่องรางของขลังทั้งหมด
ประวัติความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธรูปในชั้นแรกสร้างขึ้นสำหรับการบูชา เพื่อระลึกถึงพระพุทธคุณเป็นพุทธานุสติ ฉะนั้นความน้อมใจนึกเพื่อที่จะสังวรระวังทางกรรมให้มากขึ้น เช่น เมื่อมีพระอยู่กับตัว จะทำอะไรก็พิจารณาก่อนว่าถูกหรือผิด ดีหรือชั่ว ถ้ารู้ว่าดีถูกต้องก็ควรทำ พระพุทธเจ้าทรงโปรด
พระพุทธศาสนาไม่ได้สอนให้คนกลัวกรรม เป็นทาสของกรรม หรืออยู่ใต้อำนาจกรรม แต่สอนให้รู้จักกรรมให้มีอำนาจเหนือกรรม ให้ควบคุมกรรมของตนในปัจจุบัน กรรมของตนในปัจจุบันกรรมคือการกระทำทุกอย่างที่คนทำอยู่ทุกวันเวลา ประกอบด้วยเจตนาคือความจริงใจ พระพุทธเจ้าตรัสว่า“เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม เพราะว่าคนมีเจตนา ทำกรรมทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ทางใจบ้าง”
1
คำที่ตรัสไว้นี้ก็มีความง่าย ๆ ทุกคนจะทำ จะพูด จะคิดอะไร ย่อมมีเจตนา คือความจริงใจนำอยู่เสมอ และวันหนึ่ง ๆ ก็ต้องทำ ต้องพูด ต้องคิดอย่างนั้นอย่างนี้ไปตามที่ตนเองจงใจจะทำจะพูดจะคิด นี่แหละคือ กรรม วันหนึ่ง ๆ จึงทำกรรมมากมายหลายอย่าง หลีกกรรมไม่พ้น
พระพุทธศาสนาสอนเรื่อง “กรรม” หลักใหญ่ก็มุ่งให้พิจารณาให้รู้จัก ปัจจุบันกรรมของตนนี้แหละว่าอะไรดีหรือชั่ว อะไรควรหรือไม่ควร เพื่อที่จะได้เว้นกรรมที่ชั่วที่ไม่ควร ทำกรรมดีที่ควร
พระพุทธโอวาทนี้แสดงว่า คนมีอำนาจเหนือกรรม อาจควบคุมกรรมของตนได้ แต่ต้องไม่ลืมว่า จะต้องควบคุมจิตเจตนาของตนได้ด้วย โดยตั้งมั่นแน่วแน่อยู่ในธรรม เช่น เมตตา สติ ปัญญา เป็นต้น อันเป็นส่วนจิตและศีล อันหมายถึงตั้งเจตนาเว้นการที่ควรเว้น ทำการที่ควรทำในขอบเขตอันควร ดังนี้เรียกว่าเป็นพุทธานุสติ เมื่อมีพระอยู่กับตน ก็ควรที่จะเจริญพุทธานุสติ จะทำให้หนังเหนียวอยู่ยงคงกระพันหรือแคล้วคลาดจากความชั่ว ความผิดทั้งปวง
พระพุทธศาสนานำคนเข้าหาเหตุผล เช่น กรรมและผลของกรรม ทุกข์และเหตุแห่งทุกข์ เป็นต้น สอนให้คนใช้ปัญญามากกว่าที่จะใช้ความเชื่อ ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นผู้ชูดวงประทีปส่องให้เห็นทางดำเนิน พระธรรมเป็นทางดำเนิน พระสงฆ์เป็นผู้ที่ได้เดินนำไปในเบื้องหน้า ส่วนการดำเนินไปในทางที่พระพุทธเจ้าส่องให้เห็นนั้น เป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องเดินเอง ตรงจุดนี้เองที่แสดงถึงคำสอนที่ว่า
“ตนเป็นที่พึ่งของตน”
ฉะนั้น แม้ยังมีสันดานชอบเชื่อไปตามข่าวลือหรือชอบขลังก็ต้องพยายามทำใจ เข้าหาเหตุผลตามหลักของพระพุทธเจ้า ไม่ตื่นเตลิดไปโดยปราศจากเหตุผลทางปัญญา จึงจะสมที่เป็นพุทธศาสนิกชน
จงเกรงกลัวต่อบาป
ขอขอบคุณ
ขอให้บุญรักษาทุกท่าน
ขอให้สุขกายสุขใจกันทุกคน
เฉาเอง
โฆษณา