14 ก.ค. 2021 เวลา 01:06 • สุขภาพ
“ไวรัสหรือเเบคทีเรียต่างๆ ก็คงไม่รู้หรอกว่าวัคซีนที่ฉีดไปเนี่ยยี่ห้ออะไร” ศ. นพ. ยง กล่าวระหว่างการเเถลงข่าวของกระทรวงสาธารณสุขเมื่อวานนี้
คุณหมอพูดถูกต้องละครับไวรัส เเบคทีเรีย หรือเชื้อโควิด มันไม่จำเป็นต้องรู้หรอกว่ามนุษย์จะเอาวัคซีนอะไรไปกำราบมัน…แต่หมอหรือเภสัชกรที่มีความรู้และจรรยาบรรณต้องรู้ว่าจะเลือกวัคซีนตัวไหนไปทำหน้าที่นี้ เพื่อลดความสูญเสียให้มากที่สุด
2
ปัจจุบันนี้ทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนโควิดไปเเล้วกว่า 3,470,000,000 (3.47 พันล้าน) โดส หรือคิดเป็น 45% ของจำนวนประชากรโลก (ข้อมูลจาก New York Times) สถิติมีให้ศึกษา ผลการใช้งานมีให้เห็น....
ไฉนเลยหมอไทยจึงมีความจำเป็นที่จะต้องคิดค้นสูตรใหม่ โดยเฉพาะเป็นสูตรที่เอา Sinovac วัคซีนที่ด้อยคุณภาพที่สุดจากทั้งหมดที่มี (ข้อมูลเรื่อง efficacy จาก ชิลี ตุรกี อินโดนีเชีย หรือเเม้เเต่ WHO หรือในไทยเอง เป็นตัวบอก) + AstraZeneca วัคซีนที่คุณภาพเกือบดีมาใช้ควบคู่กัน ซึ่งสำนักข่าวทั่วโลกได้นำไปตีข่าวเเละตั้งข้อกังวลกันอย่างกว้างขวางกับการตัดสินใจใช้แนวทางนี้
การตัดสินใจของคุณหมอเเละกระทรวงสาธารณสุข เป็นการเอาชีวิตของประชาชนมาเป็นเดิมพัน
ชีวิตของพวกเราเปรียบเสมือนหนูทดลองในห้องปฏิบัติการชีวิตจริง เจ็บจริง ป่วยจริง ตายจริง....
คำถามที่อยากฝากไปถึงพวกท่านคือ สถานการณ์เเบบนี้คุณจำเป็นต้อง Reinvent the wheel (การพยายามทำสิ่งที่คนอื่น คิด ค้นพบ จนตกผลึกไปแล้วใหม่ตั้งแต่ต้น ซึ่งเป็นอะไรที่เสียเวลาและทรัพยากร) หรือไม่?
เหตุใดประเทศที่พัฒนาด้านการเเพทย์ เช่น อิสราเอล เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย สหภาพยุโรป แคนาดา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และอื่นๆ อีกมากมาย จึงเลือกใช้ของที่มีอยู่แล้วบน Shelf....โดยเฉพาะกลุ่ม mRNA?
เพราะอะไรหมอไทยจึงไม่เร่งรีบจัดหาวัคซีนกลุ่มที่มีประสิทธิภาพสูงที่พิสูจน์เเล้วมาใช้?
เวลานี้ไม่ใช่เวลาลองผิดลองถูก เพราะทุกชีวิต เเละการเสียเวลาในเเต่ละวันมันสำคัญกับพวกเรามากมายเหลือเกิน…
โฆษณา