14 ก.ค. 2021 เวลา 07:46 • ไลฟ์สไตล์
เบญจภาคี นางพญาผ้าซิ่นทั้ง 5
นางพญาผ้าซิ่นนี้หมายถึงของสุดยอดหรือซิ่นของซิ่นทั้งมวล และแน่นอนเป็นของแพงหายากในวงการผ้าโบราณนั้นมีมีอยู่ 5 ชนิด ได้แก่ ซิ่นไหมคำเชียงตุง ซิ่นตีนจกคำเชียงใหม่ ซิ่นน้ำปาดฟากท่าอุตรดิตถ์ ซิ่นวิเศษเมืองน่าน และซิ่นน้ำถ้วม
1. ผ้าซิ่นไหมคำเมืองเชียงตุง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ซิ่นบัวคำ .. เป็นผ้าซิ่นชนิดเดียวทีไม่ได้มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย เป็นซิ่นของราชสำนักไทเขิน เป็นซิ่นที่มีความสวยงามและโดดเด่น มีราคาสูงหลายแสนบาท ด้วยเหตุที่หาได้ยากมาก
.. เชื่อกันว่า ซิ่นชนิดนี้มีอาถรรพ์ โดยเป็นซิ่นชนิดเดียวที่เลือกปู้ที่จะเป็นเจ้าของ
.. เนื่อจากเมืองเชียงตุง เป็นเมืองการค้าระหว่างล้านนา จีน พม่า จึงรัยเอาวัฒนธรรมของชาติต่างๆมาผสมผสานผ่านผืนผ้าได้อย่างลงตัว
ลักษณะของซิ่น .. ตัวซิ่นจะทอยกมุกด้วยไหมคำ โดยเอาทองคำหรือิเงิน หรือกาไหล่ทอง มารีดเป็นเส้นแบนยาว แล้วเอามาตีเกลียวกับเส้นใย ส่วนมากจะเป็นฝ้าย แล้วจึงนำมาทอต่อกับส่วนล่างของซิ่น ซึ่งคือไหมจีน หรือกำมะหยี่สีเขียว ด้านบนของตีนซิ่นจะปักลายบัวคำด้วยไหมหรือโลหะมีค่า ส่วนล่างสุดของซิ่นจะติดด้วยแถบไหมของจีน
2. ซิ่นตีนจกไหมเงินไหมคำ ราชสำนักเชียงใหม่ .. ซิ่นตีนจกแบบเชียงใหม่นั้น เรียกได้วาสเป็นซิ่นที่เป็นมาตรฐานของล้านนา มีลวดลายที่แน่นอน มีแบบแผนชัดเจน ซิ่นชนิดนี้มักจะมีผู้สั่งทอมาก เช่น เจ้านายลำพูน ลำปาง รวมถึงบรรดาคหบดีมีเงิน
... ลักษณะของซิ่นตีนจกแบบเชียงใหม่ มีลักษณะเหมือนซิ่นตีนจกที่อื่นๆ คือ จกอยู่บนเชิง และปล่อยที่ว่างด้านล่างซิ่นที่เป็นสีแดง เรียกว่า เฃ็บซิ่น .. ลวดลายมีหลากหลาย แต่ที่นิยมมาก คือ ลาบโคม ภายในมีรูปนกกินน้ำร่วมต้น ขนาบด้วยห้องนกสามเหลี่ยมซ้อน 2 ชั้นด้านบน
.. ด้านล่างซ้อนชั้นเดียว หางสะเปามีสีเดียว คือ ดำล้วน และสลับสี โดยปกติที่ตีนซิ่นจะทอด้วยฝ้าย แต่ถ้าเจ้าของเป็นเจ้านาย หรือผู้ดีมีเงิน จะทอด้วยดิ่นเงินดิ้นทอง ต่อกับตัวซิ่นลายขวาง
.. ในพระตำหนักของเจ้าดารารัศมี มีการต้อตัวซิ่นด้วยผ้าลุตบาอชิคของพม่า
.. ตีนซิ่นที่ทอจกด้วยไหมคำนั้น ไม่จำกัดเฉพาะในราชสำนักเชียงใหม่อย่างเดียว พวกผู้ดีมีเงินก็สามารถที่จะสวมใส่ได้ด้วยเช่นกัน ในปัจจุบันจะหาแบบเต็มผืนยาก ส่วนมากจะเหลือแต่ตีนซิ่นที่เป็นโลหะมีค่า
3. ผ้าซิ่นน้ำท้วง เชียงใหม่เรียก ซิ่นน้ำถ้วม (เขียนตามอักขระล้านนา) หรือซิ่นน้ำทท่วม (ตามภาษาไทยกลาง) ... เป็นชื่อของซิ่นไทยวนชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดในบริเวณพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมในคราวสร้างเขื่อนภูมิพล จึงเป็นที่มาของชื่อ
.. ในอดีต เป็นชุมชนโบราณที่มีความเจริญมาก แต่ประวัติศาสตร์ของเมืองต้องมลายหายไปเมื่อมีการสร้างเขื่อน ทำให้ผู้คนย้ายหนีไปยังที่ต่างๆ
.. ว่ากันว่า มีคนหนีตายเป็นจำนวนมาก เพราะดื้อดึงที่จะอยุ่ที่เดิม .. บางคนหนีทัน ก็นำเอาข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นติดตัวมาเท่านั้น หอบเอาผ้าซิ่นไม่กี่ผืนติดตัวมา กระจัดกระจายกันไป เมื่อมาอยู่ที่ใหม่ วิถีชีวิตก็เปลี่ยนไป และยิ่งนานวันก็ไม่มีผู้สืบทอด
.. ซิ่นชนิดนี้ มีลวดลายและองค์ประกอบคล้ายคลึงกับซิ่นที่ใช้กันในราขสำนักเชียงใหม่ แต่ไม่ใช้ดิ้นเงินดิ้นทองแบบราชสำนัก จึงมีความงามแบบพอดีๆ ซิ่นชนิดนี้มีความหลากหลายในตัวลายมาก แต่ลักษณะเด่น คือ หางสัเปาเป็นสีดำล้วนและขนาดไม่ยาว
4. ผ้าวิเศษเมืองน่าน หรือ ผ้าไหลน่าน ... เมืองน่าน หรือเมืองนนทบุรี ซึ่งแปลว่า เมืองแห่งความสุขรื่นรมย์ เมืองน่านนั้นเป็นแหล่งกำเนิดของผ้าซิ่นที่สวยงามหลากหลายชนิด
.. ความงามของซิ่นเมืองน่านนั้น เป็นการนพเอาสุดยอดเทคนิคของชนชาติต่างๆ เช่น ยวน ไทลื้อ ลาว มาหลอมรวมจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
.. ซิ่นวิเศษ หรือที่เรียกกันว่า ซิ่นหล่ายน่าน .. ปกติ ความงามของซิ่นเมืองเหนือจะอยู่ที่ลายจกในส่วนตีนซิ่น แต่ความงามของซิ่นชนิดนี้มีอยู่ทั่วผืนผ้า ทั้งตัวซิ่น ตีนซิ่น และสีของซิ่น
.. เป็นซิ่นที่เย็บ 3 จะเข็บ (ปกติซิ่นที่ใช้ในปัจจุบัน จะมี 1 หรือ 2 ตะเข็บ) และใช้เทคนิคหลากหลาย ทั่งจก การเกาะล้วง ขิด และแซมด้วยมัดหมี่ อีนเป็นที่มาของชื่อ ซิ่นวิเศษเมืองน่าน
.. ความหมายของซิ่นชนิดนี้ที่มีการผสานหลายเทคนิคอย่างที่กล่าวแล้วนั้น มีประมาณ 20 ผืน กระจายกันอยู่ตามพิพิธภัณฑ์ และนักสะสม
.. ว่ากันว่า ซิ่นชนิดนี้ ไม่ปรากฏร่องรอยการใช้ แต่ที่เก่าก็เพราะการเก็บรักษา เป็นซิ่นที่ตกทอดเอาไว้ขึ้นหิ้งบูชา ในช่วงขวบปีเมื่อมีพิธีกรรม จึงจะนำออกมาใช้ และนี่จึงเป็นสาเหตุที่พบน้อยผืน เพราะไม่ค่อยใช้ จึงไมใค่อยมีการทอเพิ่ม
5. ซิ่นน้ำปาด ฟากท่าอุตรดิตถ์ ... เดิมชาวน้ำปาดมีถิ่นฐานอย่ในประเทศลาว ต่อมาได้มีการย้ายมาตั้งรกรากในบริเวณ อำเภอน้ำปาด และขยายเมือวไปยัง อำเภอฟากท่า
.. ซิ่นน้ำปาด ฟากท่า .. มีกลิ่นอายของผ้าจากลาว ลื้อ และยวน อย่างครบถ้วน มีคงามประณีตในการออกแบบ และเลิอกสีสัน ลักษณะจะคล้ายซิ่นลางครั่ง
.. ตัวซิ่นจะมัดหมี่เป็นลายแบบลาว บางผืนจะใช้เทคนิคเกาะล้วงแบบลื้อ เชิงซิ่นใช้วิธีจกแบบไทยวน (ล้านนา) ลวดลายการมัดหมี่มีไม่ซ้ำแบบ บางผืนนำเอาผ้าต่างชาติ เช่น จีน และอินเดีย มาทำตัวซิ่น
.. ซิ่นชนิดนี้เป็นซิ่นพิเศษ ไม่ได้ทอใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ทอเป็นซิ่นมูนมัง มรดกประจำตระกูล ด้วยเหตุนี้ ซิ่นน้ำปาด ฟากท่า จึงเป็นซิ่นที่หายากแสนยาก
*******************
เที่ยวทั่วไทย ไปทั่วโลกกับพี่สุ … รวม link บทความที่เขียนในเพจ ..
***เมืองไทย ไดอารี่ by Supawan
***Supawan’s colorful world
***สถานีอร่อย by Supawan
โฆษณา